เชียงราย ถอดบทเรียนปัญหาหมอกควันไฟป่า และ PM2.5

เชียงราย ถอดบทเรียนปัญหาหมอกควันไฟป่า และ PM2.5 เพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

วันที่ 22 พ.ค.66 ผศ.ดร.นิอร ศิริมงคลเลิศกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลเชียงราย ผศ.ดร.จิราพร ขุนศรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ผศ.ดร.นพชัย ฟองอิสสระ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ดร.อภิญญา ดิสสะมาน สถาบันพระปกเกล้า ได้เป็นวิทยากรในการ ถอดบทเรียน การเผาและการจัดการเชื้อเพลิงกับปัญหาไฟและฝุ่นในชุมชน ด้วยวิธี “การประชาเสวนา” (Citizen Dialogue) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “การยกระดับการบริหารเชื้อเพลิงหรือการชิงเผาด้วยนวัตกรรม Burn Check ในชุมชนเสี่ยงต่อการเผา” ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงราย เป็นหัวหน้าโครงการ

ในการถอดบทเรียนในครั้งนี้ ได้มี นายอุดม ปกป้องบวรกุล นายอำเภอแม่สรวย ได้นำคณะวิจัย พบปะกับ ผู้บริหาร ผู้นำชุมชนในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อ และองค์การบริหารส่วนตำบลแม่พริก อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เพื่อร่วมกันถอดบทเรียนการเกิดปัญหาหมอกควันไฟป่า ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 ในพื้นที่ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เพื่อเป็นการนำข้อมูลที่ได้มานำเสนอเป็นนโยบายในการแก้ไขปัญหาในปีต่อไปอย่างเป็นรูปธรรม และถาวร

นายอุดม ปกป้องบวรกุล กล่าวว่า ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการให้ทุกตำบลให้ไปถอดบทเรียนว่าไฟป่ามันเกิดจากอะไรแล้วยังมีวิธีจัดการหรือแก้ไขปัญหายังไงในเบื้องต้น จึงได้ชวน สถาบันการศึกษาในพื้นที่มาถอดบทเรียน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีข้อมูลการเกิดจุดความร้อนหรือฮอตปอตในพื้นที่ ตำบลท่าก๊อ ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ถึง 30 เมษายน ซึ่งมากกว่าทุกตำบลในแม่สรวย และช่วงบ่ายก็จะไปถอดบทเรียนในพื้นที่ตำบลแม่พริกซึ่งมีข้อมูลการเกิดฝุ่นความร้อนน้อยที่สุดของทั้งอำเภอแม่สรวย ซึ่งบริบทของ อำเภอแม่สรวย อยู่ในเขตป่าไม้ 9-18.6% เหลือพื้นที่ที่ไม่ได้อยู่ในเขตป่าไม่ถึง 2% หรือประมาณ 14,000 ไร่ แต่ข้อมูลการออกโฉนดมีมากกว่า เพราะบางพื้นที่อาจจะมีการออกโฉนดทับซ้อนที่ในป่าสงวน บางพื้นที่มีการยึดถือครอบครองทำประโยชน์มาก่อนแล้ว ไม้เข้ามาประกาศทีหลังอันนี้เป็นประเด็นที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นประเด็นที่สำคัญ การแก้ไขปัญหาจึงขึ้นกับบริบทแต่ละพื้นที่เพราะฉะนั้น จึงได้มีการเชิญนักวิชาการจาก 3 สถาบัน มาทำวิจัยเรื่องการบริหารจัดการเชื้อเพลิงผ่านระบบแอปพลิเคชั่นเบิร์นเช็ค โดยจะนำความคิดเห็นของประชาชนมาประกอบ เป็น 5 เหตุปัญหาการแก้ไขปัญหาและก็การกระบวนการในอนาคตของภาพรวมทั้ง อำเภอแม่สรวยและเราก็จะนำความเห็นเหล่านี้ไปนำเสนอ ผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนจังหวัดให้ได้พิจารณา

นายชยพล สุกิจยา หน.ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบต.ท่าก๊อ กล่าวว่า ที่ผ่านมาการจัดการและป้องกันการเกิดปัญหาไฟป่า เจ้าหน้าที่มีหน้าที่ตัดสินใจใช้อำนาจอย่างเด็ดขาดเกินบทบาทของท้องถิ่น และได้พยายามได้ประสานส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ในปีนี้ทางอำเภอ และทางฝ่ายอุทยานที่เกี่ยวข้องเข้าได้เข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งปีนี้อาจจะไม่ทันแต่ปีหน้าต้องมาวางแผนกันใหม่ ซึ่งปัญหามันเกิดขึ้นภาพรวมเป็นวงกว้างแต่การบริหารจัดการคือต่างคนต่างทำโดยที่ไม่ได้มาสรุปกันว่าเราจะทำยังไง เช่นถ้าขาดแคลนการปฏิบัติหน้าที่กำลังด้านงบประมาณท้องถิ่นจะสนับสนุนอะไร ฝ่ายปกครองจะสนับสนุนอะไร ป่าไม้อุทยานมีหน้าที่โดยตรงมีการสนับสนุนด้านกำลังคนหรืองบประมาณก็นำมาหารือกันเพื่อวางแผนแล้วก็แบ่งหน้าที่การทำงาน
“วิธีแก้ไขแนวทางระยะยาวในพื้นที่ของตำบลท่า คือให้ทุกหน่วยงานมาวางแผนร่วมกันและหาหามาตรการวิธีการในการป้องกันปัญหาไฟป่าทำเป็นระยะยาวนะครับไม่ใช่ว่ามาสถานการณ์ไปป่าหมอกควันครั้งหนึ่งอยากให้มีการขับเคลื่อนเป็นภาพรวมขับเคลื่อนไปตลอดทั้งปี”หน.ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบต.ท่าก๊อ กล่าว

ด้าน ว่าที่ร้อยตรี ชลิต ศรีจันทร์แก้ว รองปลัด อบต.แม่พริก กล่าวว่า ในส่วนของอบตแม่พริกได้มีการระดมความร่วมมือภาคส่วนในการแก้ไขปัญหา ซึ่งจุดเด่นของตำบลแม่พริกที่สามารถบริหารจัดการไฟป่าได้ประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่งนั่นก็คือผู้นำท้องถิ่นผู้นำท้องที่แล้วก็รวมถึงประชาชนทุกภาคส่วนร่วมในพื้นที่ ดังนั้นเมื่อมีนโยบายจากภาครัฐในการสั่งการในเรื่องการจัดการป้องกันไฟฟ้าในพื้นที่ก็จะสามารถระดมความร่วมมือบูรณาการได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ทางอบตแม่พริกก็ยังมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องของการจัดการพื้นที่ป่า ชุมชนใดมีการตัดไม้ทำลายป่าหรือว่าเผาป่าก็จะถูกปรับ โดยงบประมาณในการพัฒนาพื้นที่หมู่บ้านก็เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่าง อบต.ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่และประชาชน ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและมีการถือปฏิบัติจนถึงทุกวันนี้ ในส่วนบทบาทของท้องถิ่นในการป้องกันปัญหาไฟป่าก็คงจะเหมือนกับท้องถิ่นอื่นๆแต่ในส่วนของตำบลแม่พริกที่เรามีการสนับสนุนส่งเสริมที่อาจจะแตกต่างจากพื้นที่อื่นคือเราได้มีการส่งเสริมในเรื่องของการให้มีอาชีพในชุมชน เพื่อที่เขาจะสามารถลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและก็ลดความเหลื่อมล้ำทางอาชีพ เราได้มีการประสานไปยังโครงการหลวงประสานไปยังหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเป็นสำนักงานพลังงานจังหวัดเชียงราย รวมไปถึงหน่วยงานต่างๆ ได้เข้าไปบูรณาการทำงานร่วมกันในพื้นที่ในการสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชนแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในไฟป่า ปัญหาไฟป่าที่เกิดขึ้นในตำบลมีการลักลอบตัดแล้วก็มีการเผาป่าเพื่อวัตถุประสงค์อย่างอื่น เช่นการบริโภคในครัวเรือนหรือการขายซึ่งตรงนี้ปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุนั่นก็คือความยากจนถ้าเราสามารถแก้ปัญหาคนกลุ่มเหล่านี้ได้เราก็จะสามารถให้เขามีอาชีพที่ไม่ต้องไปเผาป่าอีกต่อไป
“ข้อเสนอในเชิงนโยบายอยากจะให้ภาครัฐได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการนำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีมาใช้โดยเปลี่ยนจากการเผาป่าให้พืชให้ผลิตไม้ต่างๆมีมูลค่าในการทำรายได้ให้กับคนในชุมชน อยากจะเสนอในเชิงนโยบายในเรื่องของการให้มีนวัตกรรมมีเทคโนโลยีที่เหมาะสมในพื้นที่แต่ละชุมชนเพราะว่าในแต่ละชุมชนก็จะมีปัญหาที่เกิดจากไฟป่าไม่เหมือนกัน จึงอยากจะขอเสนอให้ทางมหาวิทยาลัยได้จัดให้มีการลงพื้นที่โดยนักศึกษาร่วมกันแล้วก็กำหนดเป็นแนวทางเป็นนวัตกรรมที่เหมาะสมก็จะสามารถได้เทคโนโลยีที่สอดคล้องกับสภาพในพื้นที่แล้วปัจจัยตรงนี้จะช่วยให้สิ่งที่ชาวบ้านมองว่าเป็นขยะเป็นสิ่งที่ไม่มีค่าให้เป็นมูลค่ามีรายได้ในชุมชนเขาก็จะไม่เผาป่าเพราะเขามองว่าสิ่งที่เขาเผาป่ามันคือสิ่งที่มีมูลค่ามีรายได้ให้กับเขา”รองปลัด อบต.แม่พริก กล่าว

นายสรวิชญ์ ธิวงศ์ ผญบ.บ้านโฮ่ง ม.10 ต.แม่พริก กล่าวว่า หลังจากได้ร่วมให้ข้อมูลกับทางทีมวิจัยในวันนี้ก็ได้สรุปปัญหาที่ในชุมชนตำบลในพริกได้ดำเนินการมา แต่ก็ในบริบทของตำบลในพริกมีการบริหารจัดการเรื่องการเผาหรือว่าการป้องกันถือว่าอยู่ในระดับที่ระดับที่ดีในการที่จะส่งเสริมหรือสนับสนุนในการใช้งานงบประมาณหรือว่านวัตกรรมใหม่ๆที่เกี่ยวกับการดับไฟหรือว่าป้องกันภัยที่ดีที่สุดที่ผ่านมานี่พี่น้องประชาชนเข้าใจเข้าใจในกฎระเบียบของชุมชนไม่ว่าจะเป็นของทางภาครัฐ หรือว่าทางตำบล

ร่วมแสดงความคิดเห็น