ชวนรู้จักกฎหมายกัญชา ที่คนมักเข้าใจผิด!

ชวนรู้จักกฎหมายเกี่ยวกับกัญชา กับเรื่องที่คนทั่วไปมักเข้าใจผิด

         ตั้งแต่มีกระแสการปลดล็อกกัญชาออกมาอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่เดิมทีนั้นกัญชาถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ซึ่งถ้าใครมีไว้ในครอบครองจะผิดกฎหมายทันที แต่ด้วยมีการเรียกร้องให้มีการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการนำกัญชามาใช้อย่างมากมาย ทางภาครัฐจึงได้มีการหารือและเตรียมดำเนินการปลดล็อกกัญชาเพื่อให้คนทั่วไปสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกกฎหมาย ซึ่งถ้าสามารถดำเนินการได้จริง ในอนาคตจะต้องมีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับกัญชาออกมาให้ผู้บริโภคได้ใช้อีกหลายประเภทแน่นอน แต่ก่อนที่จะไปถึงจุดนั้น ก็ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการนำกัญชามาใช้อยู่ไม่น้อย ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น วันนี้เรามีบทความเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับกัญชามาฝากกัน

กัญชาในประเทศไทย ถูกกฎหมายแล้วจริงหรือ

         ตามที่ประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 5 ที่ประกาศเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา ได้ระบุไว้ว่า ให้สารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชาหรือกัญชง ซึ่งเป็นพืชในตระกูล Cannabis จัดอยู่ในกลุ่มของยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ยกเว้นสารสกัดที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol) หรือ THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก และสารสกัดจากเมล็ดของพืชกัญชาหรือกัญชง เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้สกัดจากพืชที่ปลูกภายในประเทศเท่านั้น

จากข้อความดังกล่าว จะเห็นได้ว่าตัวกัญชานั้นยังถือว่าเป็นยาเสพติดที่ผิดกฎหมายอยู่ ถ้าหากว่ามีปริมาณของ THC ที่มากกว่าร้อยละ 0.2 หรือเป็นกัญชาที่สกัดมาจากต้นที่ปลูกในต่างประเทศก็ไม่สามารถนำมาใช้ได้โดยทั่วไป เพราะจะทำให้ผู้ใช้เป็นผู้ที่มีความผิดทางกฎหมายได้ แต่ทางคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ประกาศว่า ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 นี้เป็นต้นไป จะทำการถอดพืชกัญชาและกัญชงให้พ้นจากการเป็นยาเสพติดประเภทที่ 5 และบุคคลทั่วไปสามารถปลูกได้โดยไม่ต้องขออนุญาต แต่การนำมาใช้นั้นสามารถใช้ในทางการแพทย์ได้เท่านั้น ถือว่าเป็นอีกหนึ่งแนวโน้มที่ดีที่จะทำให้การปลดล็อกกัญชาให้เสรีนี้มีทิศทางที่สดใสมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะยังมีข้อจำกัดหลาย ๆ อย่างที่ทำให้ไม่สามารถนำกัญชามาใช้ได้อย่างเต็มที่ แต่ก็เรียกได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในวงการของผู้ใช้กัญชาเป็นอย่างมาก

การใช้กัญชากับข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ควรทราบ

นักเคลื่อนไหวที่คอยผลักดันเรื่องกฎหมายกัญชาเสรีหลาย ๆ คนยังคงคาดหวังว่าประเด็นเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการใช้กัญชาในประเทศไทยนั้นจะสามารถปลดล็อกได้เหมือนกับต่างประเทศที่มีการให้ใช้กัญชาได้อย่างเสรี โดยข้อกำหนดต่าง ๆ นั้นยังเป็นตัวขัดขวางที่ทำให้การใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ยังยากสำหรับประเทศไทย โดยข้อกำหนดที่สำคัญมีดังนี้

1.     สามารถใช้กัญชาได้เฉพาะเพื่อการส่งเสริมสุขภาพเท่านั้น ทางกรมวิชาการเกษตรนั้นได้พัฒนาต้นกล้ากัญชาและกัญชง 1 ล้านต้นเพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนนำไปใช้ปลูกนครัวเรือน โดยสามารถนำไปใช้สำหรับเนสุขภาพหรือการประกอบอาหารเท่านั้น ยังไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงสันทนาการ ถ้ามีการพบเห็นการใช้งานผิดประเภท ผู้เสพจะมีโทศจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท ซึ่งเป็นข้อตกลงที่กระทรวงสาธารณสุขและกรมวิชาการเกษตรได้มีการลงนามข้อตกลงร่วมกันไว้ เพื่อให้สามารถนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และการวิจัยได้

2.     สารสกัดจากกัญชาและกัญชงนั้นสามารถนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องสำอางค์ได้ แต่มีข้อแม้ว่าต้องเป็นกัญชาที่ปลูกขึ้นในประเทศไทยเท่านั้น ห้ามนำเข้ามาจากต่างประเทศเด็ดขาด

3.     การเริ่มต้นปลูกกัญชานั้นสามารถดูรายละเอียดต่าง ๆ ได้จากกรมวิชาการเกษตร โดยเริ่มแรกจะมีการแจกต้นกล่ากัญชา 1 ล้านต้น ในงานมหกรรม 360 องศา ปลดล็อกกัญชา ประชาชนได้อะไร ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 10-12 มิถุนายน 2565 ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ที่ต้องการต้นกัญชาเพื่อนนำไปปลูกจะต้องมีการจดแจ้งผ่านแอปพลิเคชัน ปลูกกัญ หรือ Pook Ganja มาก่อน

4.     บุคคลทั่วไปที่มีการจดแจ้งขอปลูกกัญชาในครัวเรือนสามารถนำทุกส่วนของกัญชาไปใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพได้ แต่ต้องระวังเรื่องการนำกัญชาไปสกัดก่อนนำมาใช้ด้วย เพราะยังมีกฎหมายที่ระบุว่าห้ามใช้สารสกัดกัญชาที่มีความเข้มข้นของ THC เกินร้อยละ 0.2 ถ้ามีกรตรวจพบว่ามีการใช้ในปริมาณที่เกินขนาด จะทำให้มีความผิดได้

5.     ส่วนของกัญชาที่นำไปใช้ได้โดยไม่ผิดกฎหมายได้แก่ สารสกัดจากกัญชาที่มีความเข้มข้นของ THC และ CBD ไม่เกินร้อยละ 0.2 ส่วนของใบที่ไม่มียอดติดมาด้วย เปลือก ลำต้น ราก เส้นใย และกิ่ง

อยากปลูกกัญชาแบบถูกกฎหมายต้องทำอย่างไร

         ตามที่กล่าวไปในข้างต้น การที่คนทั่วไปจะปลูกกัญชาเองได้อย่างไปต้องกลัวมีความผิดนั้นจะต้องปลูกเพื่อใช้เป็นประโยชน์ในทางการแพทย์หรือการศึกษาวิจัยเท่านั้น จึงทำให้มีข้อจำกัดที่จะปลูกกัญชาเองเนื่องจากคนทั่วไปนั้นส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีการทำวิจัยหรือมีความรู้ในด้านการนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์กันอยู่แล้ว แต่ถ้าอยากจะปลูกจริง ๆ ก็สามารถทำได้โดยมีวิธีดังนี้

1. ในขณะที่กฎหมายยังไม่มีการอนุญาติประชาชนทั่วปลูกต้นกัญชาเอง แต่จะสามารถปลูกได้ก็ต่อเมื่อมีการรวมกลุ่มกันขึ้น จัดตั้งเป็นรัฐวิสากิจชุมชน หรือสหกรรณ์การเกษตรที่มีการจดทะเบียนอย่างถูกต้อง จึงจะสามารถปลูกกัญชาเองได้

2. เมื่อมีการจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาได้แล้ว ก็ทำงานยิ่นขอจดแจ้งแสดงความต้องการที่จะปลูกกัญชากับหน่วยงานที่รับผิดชอบ มีเงื่อนไขคือ ผู้ที่ยื่นคำขอจะต้องไม่เคยถูกดำเนินคดีในความผิดที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดมาก่อน และสถานที่ปลูกนั้นจะต้องมีเลขที่ตั้งและที่อยู่ชัดเจน และต้องเป็นพื้นที่แบบปิด ห้ามให้ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในสถานที่ปลูกได้

3. ถ้าสถานที่ปลูกนั้นไม่ใช่ของตนเอง แต่เป็นสถานที่ที่ได้มาจากการเช่า จะต้องมีหนังสือยินยอมให้มีการปลูกกัญชาจากผู้ให้เช่าด้วย จึงจะสามารถทำการปลุกได้

4. ต้องมีสถานที่เก็บผลผลิตจากกัญชาอย่างปลอดภัย และไม่ควรเก็บให้ปะปนกับสิ่งอื่น ๆ เพื่อเป็นการป้องกันการปนเปื้อนหรือการฉกฉวยนำเอากัญชาไปใช้ในด้านที่ผิดวัตถุประสงค์

5. ถ้ามีใครที่ลักลอบปลูกกัญชาโดยที่ไม่ได้รับอนุญาตจะมีความผิดต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 500,000 บาท และถ้ามีการจับได้ว่ามีการปลูกเพื่อนำไปจำหน่ายจะต้องมีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-15 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000- 1,500,000 บาท

6. ส่วนในเรื่องของนโยบายที่มีการเสนอให้ปลูกกัญชาเสรีได้บ้านละ 6 ต้นนั้นจะต้องมีการขออนุญาตก่อนหรือไม่ และคนทั่วไปสามารถปลูกได้จริงหรือ คำตอบก็คือ บุคคลทั่วไปยังไม่สามารถปลูกเองได้เพราะต้องเป็นกลุ่มคนที่จัดตั้งขึ้นเป็นรัฐวิสากิจชุมชน หรือสหกรรณ์การเกษตรที่ได้ยื่นเรื่องขออนุญาตแล้วเท่านั้นถึงจะปลูกได้ ตามที่นายปิยะศิริ วัฒนวรางกูร รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ได้ออกมาให้คำชี้แจงเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 ที่ผ่านมาเนื่องจากนโยบายการปลูกัญยชาบ้านละ 6 ต้นดังกล่าวยังเป็นเพียงแค่ข้อเสนอแนะเท่านั้น และยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนออกมา จึงยังไม่สามารถใช้รับรองการปลูกกัญชาได้

ถึงแม้ว่าแนวโน้มการสนับสนุนการนำกัญชามาใช้ให้ถูกกฎหมายและกระแสการผลักดันกัญชาเสรีนั้นจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดี แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในหลาย ๆ เรื่องที่ทำให้กฎหมายที่ควรจะเปิดกว้างได้มากกว่านี้กลับติดขัดจนมีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายส่วนไม่พอใจ กลุ่มคนที่ชื่นชอบกัญชานั้นมองว่าการรออกกฎหมายกัญชาของรัฐนั้นเอื้อประโยชน์ให้กับภาคธุรกิจมากเกินไป คนที่ได้ประโยชน์มักจะเป็นกลุ่มทุนรายใหญ่เท่านั้น ประชาชนที่ต้องการใช้เพราะมีความต้องการจริง ๆ หรือผู้ที่มีความชอบในตัวกัญชากลับไม่สามารถปลูกได้เนื่องจากไม่ใช่การรวมกลุ่มตามที่กฎหมายกำหนด จึงไม่สามารถเรียกการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ว่าการปลดล็อกกัญชา หรือกัญชาเสรีได้อย่างแท้จริง 

ร่วมแสดงความคิดเห็น