“เงินแถบ” เงินรูปีอินเดียในประวัติศาสตร์ล้านนา

ไผ่ตันฮู้จักผ่อง!! “เงินแถบ”เงินรูปีอินเดียในประวัติศาสตร์ล้านนา

“เงินรูปีอินเดีย” หรือชาวล้านนาเถูกนำเข้ามาใช้ซื้อขายสินค้าในล้านนาโดยชาวอังกฤษเป็นผลมาจากการค้าไม้สักของบริษัทชาวอังกฤษและการเปิดเสรีการค้าระหว่างชายแดนล้านนากับพม่า (เมียนมาร์) จนทำให้เงินรูปีอินเดียได้กลายเป็นเงินสกุลหลักที่ใช้หมุนเวียนและผูกพันกับระบบเศรษฐกิจของล้านนาเกือบศตวรรษรวมถึงการค้าในขบวนพ่อค้าวัวต่าง ม้าต่าง ลาต่าง ของชุมชนผู้คนที่เดินทางค้าขายต่อกันเมื่อคราที่ยังไม่มีแบ่งกั้นพรมแดนก็ใช้เงินสกุลนี้เป็นตัวกลางการค้า และเป็นการผลักดันให้ล้านนาเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของตลาดโลกทั้งการนำเข้าและการส่งออก


อิทธิพลของเงินรูปีอินเดียในล้านนาส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อรัฐบาลสยาม ซึ่งพยายามพัฒนาและปรับประเทศให้ทันสมัย เงินรูปีอินเดียเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยสะท้อนให้เห็นถึงการปะทะกันทางสังคมเศรษฐกิจในล้านนา ระหว่างล้านนากับกลุ่มต่างๆรวมทั้งอังกฤษในสยามและอังกฤษแห่งอินเดียด้วย ทั้งนี้มูลค่าของเงินรูปีอินเดียเป็นสิ่งดึงดูดให้กลุ่มชนต่างแดนหลายกลุ่มชาติพันธุ์เข้ามาปะทะสังสรรค์ในล้านนาอีกระลอกหนึ่งโดยสามารถกล่าวได้ว่าคลื่นของการย้ายถิ่นฐานของหลายกลุ่มชนสู่ล้านนาเป็นผลสืบเนื่องมาจากเงินรูปีอินเดีย

เงินรูปีอินเดียของอังกฤษคือโลหะเงินที่ชาวล้านนานิยมนำมาทำเป็นเครื่องเงินมากกว่าสะสมเป็นเงินตรา ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงนำมาร้อยเป็นเครื่องประดับ ที่ช่างมักจะนำไปหลอมทำเครื่องประดับต่างๆเส้นต่างหู สร้อยแหวน กำไล เข็มขัด(บางทีก็แค่ทำห่วงแล้วเชื่อมเงินแถบนี้ติดกันเป็นเข็มขัด)พวกชนเผ่าชาวเขามักนิยมเจาะรูแล้วเย็บประดับลงบนเสื้อผ้า หมวกหรือเครื่องประดับศีรษะเพื่อความสวยงามและแสดงสถานะทางสังคม ทางการรักษาของคนล้านนาโบราณก็จะให้เงินแถบนี้บ่มในไข่ไก่ที่ต้มสุขแล้วเอาไข่แดงออกใช้ผ้าเช็ดหน้าห่อแล้วนำไปถูไถ่บนตัวผู้ที่ป่วยไข้เรียกว่า”การแฮกตุ่ม”แต่ต้องมีการร่ายคาถากำกับ ไข้ที่ถูกจับออกมาจะติดอยู่ที่เงินแถบจนเป็นสีดำ จะต้องทำการขัดด้วยขี้เถ้าแล้วบ่มในไข่ทำแบบนี้จนไข้หมด ซึ่งสังเกตที่เงินว่าจะไม่ดำอีก สำหรับปัจจุบันเงินรูปีอินเดียในล้านนากลายเป็นประวัติศาสตร์แต่ในสาธารณรัฐอินเดียนั้น ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจและในฐานะเจ้าของสกุลเงิน อินเดียในยุคอาณานิคมอังกฤษ

Cr.อภิรัฐ คำวัง

ร่วมแสดงความคิดเห็น