กินไป-ดูไป เสี่ยงผลเสียต่อสุขภาพไม่รู้ตัว

การใส่ใจกับสิ่งที่กินช่วยให้ เรากินอาหาร หรือบริโภคแคลอรี่น้อยลง โดยคนที่กินในขณะที่ดูทีวีหรือเล่นเกมคอมพิวเตอร์อาจสูญเสียความรู้สึกในการรับประทานไป ในทางกลับกันอาจทำให้เกิดการกินมากเกินไปด้วย ความเป็นเหตุเป็นผลที่ว่า เมื่อเราโฟกัสอยู่กับสิ่งอื่น นอกเหนือจากอาหารจะทำให้เรารู้สึกไม่อิ่มเท่าที่ควร การศึกษาในหัวข้อเรื่อง Eating attentively หรือการกินอย่างตั้งใจ บอกว่า…

ภาพ freepik

หลักฐานบ่งชี้ว่าการกินอย่างใส่ใจมีแนวโน้มที่จะมีอิทธิพลต่อการบริโภคอาหาร และการกินแบบใส่ใจเข้าไปในการแทรกแซงนั้นเป็นวิธีการใหม่ที่จะช่วยลดน้ำหนักและรักษาน้ำหนักโดยไม่ต้องนับแคลอรี่

นอกจากนี้ การไม่โฟกัสในระหว่างมื้ออาหารจะส่งผลต่อการบริโภคของเราในวันต่อ ๆ ไป คนที่ถูกรบกวนระหว่างการกินในมื้ออาหารกินแคลอรี่ต่อมื้ออาหารมากกว่า 25% มากกว่าคนที่โฟกัสค่ะ

นักจิตวิทยาจาก Cleveland Clinic ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาอย่าง Susan Albers ได้กล่าวไว้ว่า คนมักจะใช้เวลา โดยเฉพาะวันหยุดสุขหรรษาไปกับการนั่งบนโซฟาตัวโปรด เหยียดขาให้สบายที่สุด และเปิดคอมพิวเตอร์หรือทีวี พร้อมกับรับประทานอาหารไปด้วย ซึ่งเวลานี้ก็เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขของใครหลายคนเลยทีเดียว

รวมถึงนักโภชนาการบำบัดอย่าง Alissa Rumsey ก็ได้ออกมาเผยว่า บุคคลที่อยู่ในการดูแลของเธอเฝ้ารอที่จะได้นั่งดูทีวี และทานอาหารไปด้วยในทุกช่วงเวลาตอนเย็น เพราะพวกเขาคิดว่า นี่คือวิธีที่จะทำให้พวกเขารู้สึกผ่อนคลายได้ดีที่สุด อีกทั้งนักจิตวิทยาคลินิกที่ชื่อว่า Sophie Mort ก็ได้ย้ำอีกว่า ‘การกินไปด้วย ดูทีวีหรือยูทูบไปด้วย’ ช่วยกระตุ้นให้ ‘โดพามีน (Dopamine)’ ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความสุขหลั่งออกมาได้จริง


‘กินไปด้วย ดูยูทูบไปด้วย’ ส่งผลเสียต่อสุขภาพยังไง?

แต่ใช่ว่าพฤติกรรมและช่วงเวลาแห่งความสุขนี้ จะส่งผลแค่ด้านดีเสมอไป เนื่องจากกิจกรรมสองอย่างนี้ ควรแยกกันทำเป็นกิจลักษณะ การที่เรากินไปด้วย หาอะไรดูไปด้วย จะทำให้สิ่งนี้กลายเป็นนิสัยที่เราทำจนชิน และส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ดังนี้

เผลอกินเยอะจนเกินไป

แน่นอนล่ะ ยิ่งถ้าได้เจอหนังหรือซีรีส์ที่ถูกใจตอนกินข้าวแล้ว จิตใจเราก็จะยิ่งจดจ่ออยู่กับหน้าจอ จนไม่ได้สนใจเลยว่าเรากำลังกินอะไรอยู่ หรือเผลอกินเยอะไปแค่ไหนแล้ว มหาวิทยาลัยเบอร์บิงแฮมได้ย้ำชัดข้อเท็จจริงนี้ ด้วยผลการศึกษาที่ระบุว่า กลุ่มตัวอย่างที่นั่งกินอาหารหน้าทีวี มีพฤติกรรมการกินที่มากกว่าอีกกลุ่ม ซึ่งกินอาหารโดยปราศจากสิ่งล่อใจใด ๆ

นั่นเป็นเพราะว่า สมองคนเราจะต้องการเวลา 15-20 นาที เพื่อประมวลผลว่าตอนนี้เรากินจนอิ่มหรือยัง แต่พฤติกรรมการกินอาหารหน้าทีวีนี้ จะส่งผลให้สมองประมวลผลถึงปริมาณอาหารที่ได้รับเข้าไปได้ยากกว่าเดิม

เสี่ยงโรคอ้วน

ผลวิจัยจาก Obesity Reviews Journal แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมกินไปด้วย หาอะไรดูไปด้วย ทำให้ทั้งเด็กและวัยรุ่นมีความเสี่ยงสูงมากต่อการเป็นโรคอ้วนและน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน เพราะพฤติกรรมนี้จะกลายเป็นนิสัยติดตัวไปตลอด แถมผลวิจัยยังพบอีกด้วยว่า เด็กมากกว่า 80,000 คน และวัยรุ่นกว่า 75% ของผู้เข้าร่วมการวิจัยทั้งหมด มีภาวะโรคอ้วน เนื่องจากพฤติกรรมดังกล่าวด้วย

ระบบเผาผลาญแย่ลง

เพราะการที่เรากินอาหารพร้อมกับการดูยูทูบหรือดูทีวี จะทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ช้าลง รวมถึงระบบการเผาผลาญไขมันก็ทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากไม่มีการขยับหรือเคลื่อนไหวร่างกาย เพราะเอาแต่นั่งอยู่กับที่ ไม่ยอมลุกเดินไปไหน และสุดท้ายระบบการเผาผลาญก็จะแย่ลงเรื่อย ๆ

5 วิธีที่ช่วยลดพฤติกรรม ‘กินไปดูไป’

ดื่มน้ำก่อนมื้ออาหาร

หากเราชินกับพฤติกรรมนี้ และปฏิบัติจนติดเป็นนิสัยไปแล้ว การดื่มน้ำ 1 แก้วก่อนมื้ออาหารสัก 30 นาที จะช่วยลดความหิวลงไปได้บ้าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การดื่มน้ำก่อนมื้ออาการไม่ได้ถือเป็นวิธีการลดความอ้วน หรือลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอ้วนแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นวิธีที่จะช่วยให้เราไม่รู้สึกหิวมากตอนกินอาหารจริง ๆ จนเผลอกินอาหารในปริมาณมากเกินไปแบบไม่รู้ตัว

เริ่มกินอาหาร ก่อนเปิดคอมพิวเตอร์หรือทีวี

วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายมาก ถ้าไม่อยากเผลอกินเยอะตอนที่กินไปด้วย หาอะไรดูไปด้วย ก็เริ่มกินอาหารก่อนเอื้อมมือไปหยิบรีโมททีวี หรือเปิดคอมพิวเตอร์จะดีกว่า เพราะการที่เราจดจ่ออยู่กับอาหาร โดยไม่มีสิ่งบันเทิงใด ๆ ดึงดูดความสนใจ จะทำให้เรากินอาหารอย่างมีสติ และรับรู้ถึงรสชาติ กลิ่น สี และองค์ประกอบของอาหารจานนั้นได้ดีมากยิ่งขึ้น

เปลี่ยนที่นั่งกินข้าวบ้าง

หากมุมกินข้าวของเรายังเป็นมุมเดิม ๆ หรือเป็นโซฟาที่นั่งสบายจนไม่อยากลุกตัวเดิม ก็ลองเปลี่ยนมุมไปนั่งกินข้าวตรงอื่นบ้าง พยายามอยู่ให้ห่างจากโซฟา โดยเฉพาะในห้องนั่งเล่นที่มีทีวี คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์ให้มากที่สุด

ภาพ Thermos

จำกัดเวลา

จำกัดเวลาในที่นี้ หมายถึงจำกัดทั้งเวลาของมื้ออาหาร และเวลาดูทีวีหรือยูทูบด้วย การจำกัดเวลาเช่นนี้ ถือเป็นการบังคับและสร้างระเบียบวินัยในตัวเองไปด้วย เพราะถึงแม้เราจะนั่งกินข้าวอย่างเดียว โดยไม่มีการดูทีวี หรือนั่งดูทีวีอย่างเดียว แบบไม่ได้กินข้าวไปด้วย แต่หากเราทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นระยะเวลานานเกินไป ก็จะกลายเป็นพฤติกรรมที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของเราได้เหมือนกัน

นั่งกินข้าวพร้อมเพื่อนหรือครอบครัว

   Susan Albers ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาแนะนำว่า การกินข้าวพร้อมเพื่อนหรือครอบครัว ถือเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน เป็นช่วงเวลาที่เหมาะต่อการพูดคุยและสนทนากันเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งยังมีผลการวิจัยออกมารองรับด้วยว่า คนเราจะไม่มีพฤติกรรมกินอาหารในปริมาณมากเกินไป หากมื้อนั้นเป็นการกินอาหารที่มีคนอื่นนั่งร่วมโต๊ะอยู่ด้วย

   ถ้าหากใครมีพฤติกรรม ‘กินไปดูไป’ และปฏิบัติจนชิน แบบที่เรียกว่าเป็นนิสัยแล้ว ก็อย่าลืมนำวิธีข้างบนไปปรับใช้ และคำนึงถึงสุขภาพของตัวเองให้มากยิ่งขึ้นนะคะ เพราะแท้จริงแล้ว พฤติกรรมที่เราทำจนเคยชิน และคิดว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพแบบที่เราคาดไม่ถึงได้เหมือนกัน

ภาพ Hungry pedia-Hungry Hub



ที่มา :https://www.wellandgood.comhttps://wexnermedical.osu.eduhttps://simona-hos.medium.comhttps://health.clevelandclinic.orghttps://www.fitwatch.comhttps://parenting.firstcry.com
Eating attentively: a systematic review and meta-analysis of the effect of food intake memory and awareness on eating โดย Robinson E1Aveyard PDaley AJolly KLewis ALycett DHiggs S. , ncbi.nlm.nih.gov,healthandtrend,เด็กดี

ร่วมแสดงความคิดเห็น