775

อุตุฯ เตือน ฝนยังตกต่อเนื่อง 8-12 มิ.ย. มรสุมแรงขึ้น

อัพเดทผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.:(นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.)15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 29 พ.ค.- 12 มิ.ย.68 init. 2025052812 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) วิเคราะห์ตามผลจากแบบจำลองฯ เฉดสีแดงหมายถึงฝนหนัก สีเขียวหมายถึงฝนเล็กน้อย : 29 – 31 พ.ค.68 บริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบนและด้านตะวันออก ภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออก (จ.ระยอง จันทบุรี ตราด) และภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ระนอง พังงา ) ยังต้องเฝ้าระวังฝนที่ตกสะสมไปอีก 1-2 วัน เนื่องจากยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ออกนอกบ้านพกร่ม เสื้อกันฝน ใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากมรสุมมีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง ประกอบมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน มีแนวโน้มจะแรงขึ้นและเคลื่อนตัวไปทางเหนือเข้าสู่ประเทศบังคลาเทศ ไม่มีผลกระทบโดยตรงกับประเทศไทย ส่วนแนวร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน คลื่นลมในทะเลอันดามันตอนบน […]

กรมอุตุฯ เตือนฉบับ 1 อากาศแปรปรวน ฝนถล่ม ลมแรง

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 23-25 กุมภาพันธ์ 2568) ฉบับที่ 1 ในช่วงวันที่ 23-25 ก.พ. 68 บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และภาคตะวันออก จะมีสภาพอากาศแปรปรวน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าผ่า ลมกระโชกแรง มีลูกเห็บตกบางแห่งในบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอุณหภูมิจะลดลง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง หรืออยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ส่วนเกษตรกรควรเสริมความแข็งแรงให้ไม้ผล และเตรียมการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยง รวมทั้งระมัดระวังรักษาสุขภาพช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทย เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับจะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันดังกล่าว […]

อุตุฯ คาดไทยเข้าสู่ “ฤดูร้อน” ช่วงปลาย ก.พ. สิ้นสุดกลาง พ.ค.

กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย พ.ศ.2568 ฤดูร้อนของประเทศไทยปีนี้ คาดว่า จะเริ่มช้ากว่าปกติ (ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์) ซึ่งช้ากว่าปกติประมาณ 2 สัปดาห์ และจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนพฤษภาคม โดยลักษณะอากาศจะร้อนอบอ้าวเป็นระยะๆ สลับกับจะมีฝนฟ้าคะนอง หลายพื้นที่ในบางช่วง ซึ่งจะช่วยคลายความร้อนลงได้ และจะมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในบางวัน ส่วนมากช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนเมษายน โดยอุณหภูมิสูงสุดเฉลียบริเวณประเทศไทยตอนบน 35 -36 องศาเซลเซียส ซึ่งจะใกล้เดียงค่าปกติ (ค่าปกติ 35.4 องศาเซลเซียส) แต่จะต่ำกว่าปีที่ผ่านมา (ช่วงดูร้อนปี พ.ศ.2567 อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 37.5 องศาเซลเชียส) ส่วนปริมาณฝนรวมเฉลี่ยจะมากกว่าค่าปกติร้อยละ 10 – 20 อนึ่ง ในช่วงฤคร้อนของทุกปี มักจะเกิดพายุฤดูร้อนในหลายพื้นที่ โดยจะมีพายฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและอาจมีลูกเห็บตกบางแห่ง ซึ่งสภาวะดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนผลผลิตทางการเกษตรได้ ส่วนปริมาณฝนที่ตกนั้น มีไม่เพียงพอกับความต้องการในหลายพื้นที่ ทั้งด้านอุปโภคและบริโภค รวมทั้งด้านเกษตรกรรม โดยเฉพาะพื้นที่ที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ดังนั้นประชาชนจึงควรใช้น้ำอย่างประหยัด และให้เกิดประโยชน์สูงสูงสุด รวมทั้งเตรียมการป้องกันสภาวะดังกล่าว ลักษณะอากาศทั่วไปบริเวณประเทศไทยตอนบน ช่วงต้นและกลางเดือนมีนาคม จะมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ตอนกลางวัน กับมีหมอกหนาหลายพื้นที่ แต่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า […]

พยากรณ์อากาศประจำวันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม 2567

ลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่มีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในระดับบนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น “อ็อมปึล” มีศูนย์กลางบริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่น คาดว่าจะเคลื่อนผ่านด้านตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันดังกล่าวไว้ด้วย พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้ ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พะเยา น่าน […]

อุตุฯ เตือนรับมือฝนตกหนัก 11-20 ก.ค. นี้

อัพเดทผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.: (นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.)10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 11-20 ก.ค.67 init. 2024071012 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) (วิเคราะห์ตามผลจากแบบจำลองฯ) เฉดสีแดงหมายถึงฝนหนัก สีฟ้าหมายถึงฝนเล็กน้อย แบบจำลองยังปรับเปลี่ยน : เป็นสัปดาห์ที่จะมีความแปรปรวนของสภาพอากาศเพิ่มขึ้น โดย ช่วงวันที่ 11-13 ก.ค.67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (ลมฝน) จะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับ หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนาม ทำให้ฝนบ้านเรายังมีต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณใกล้หย่อมความกดอากาศต่ำ ภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน และด้านรับมรสุม (ภาคใต้ฝั่งอันดามันและภาคตะวันออก) ส่วนภาคอื่นๆ ยังมีฝนกระจาย ปริมาณฝนยังมีเล็กน้อยถึงปานกลาง ระวังฝนตกหนัก และฝนตกสะสม ออกนอกบ้านยังต้องพกร่ม งานกลางแจ้งต้องเตรียมเต๊นท์กันฝน เดินทางสัญจรต้องระวังฝนตกถนนลื่น ชาวเรือ ชาวประมง ต้องระวังคลื่นลมแรงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนวันที่ 14 -20 […]

กรมอุตุฯ ประกาศเตือน “ภาคเหนือ” ฝนตกหนักถึงหนักมาก 20-26 พ.ค.

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง “ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน ฉบับที่ 1”  ในช่วงวันที่ 20 – 23 พ.ค. 2567 ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับในช่วงวันที่ 22 – 26 พ.ค. 2567 จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวมะตะบัน ประเทศเมียนมา และมีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ในด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทย ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 21 – 26 พ.ค. 67 โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบน มีคลื่นสูง 2 – 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่าง มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร […]

กรมอุตุฯ เตือนไทยเจอพายุฤดูร้อน ช่วงวันที่ 24-26 เม.ย. ระวังฝนถล่มหนัก

กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 24-26 เมษายน 2566 ระวังพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะและหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าว โดยจังหวัดที่คาดว่าจะมีผลกระทบ มีดังนี้ วันที่ 24 เมษายน 2566 ภาคเหนือ: จังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก: จังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด วันที่ 25-26 […]

อุตุฯเตือน 26-29 มี.ค. เจอพายุฤดูร้อนซ้ำอีกรอบ

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ ยังคงพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าว ดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด รวมถึงระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงที่เกิดขึ้นไว้ด้วย สำหรับลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงเหนือ พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง อนึ่ง ในช่วงวันที่ 26-29 มี.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีน จะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ จะเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป ฝุ่นละอองในระยะนี้ : ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงค่อนข้างมาก เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อน ส่วนภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและภาคตะวันออก มีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์น้อย เนื่องจากมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทำให้บริเวณดังกล่าวอากาศระบายได้ดี คาดหมาย ในช่วงวันที่ 23 – 25 มี.ค. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ประกอบกับลมตะวันตกปกคลุมภาคเหนือ กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง ส่วนในช่วงวันที่ 26 – 29 มี.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลาง จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าว […]

ประกาศกรมอุตุฯ เรื่อง พายุฤดูร้อน ฉบับที่ 2 12-14 มี.ค.66

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย ฉบับที่ 2 มีผลกระทบในช่วงวันที่ 12-14 มีนาคม 2566 ในช่วงวันที่ 12 – 14 มีนาคม 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย โดยจะมีผลกระทบดังนี้ วันที่ 12 มีนาคม 2566 ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงราย ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู และอุดรธานี วันที่ 13 มีนาคม 2566 ภาคเหนือ: […]

อุตุฯ เตือนฉบับ 1 เตรียมรับมือ “พายุฤดูร้อน” 12-14 มี.ค.

วันที่ 9 มี.ค. 66 กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศ เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย ฉบับที่ 1 (71/2566) (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 12 – 14 มีนาคม 2566) ในช่วงวันที่ 12 – 14 มีนาคม 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีน จะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ประกอบกับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตก จะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหาย ที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

อุตุฯ คาด ไทยตอนบนเตรียมรับมือฝน 12-13 มี.ค.66

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน ช่วงวันที่ 12 – 13 มี.ค.66 โดยประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้ บริเวณภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน (ฝนมาค่ำๆของวันที่ 12) จากอิทธิพลของมวลอากาศเย็นที่จะแผ่ลงมาปกคลุมภาคอีสาน ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน จะเกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นและมวลอากาศร้อน ทำให้มีพายุฤดูร้อน(พายุฝนฟ้าคะนอง) ลมกระโชกแรง มีฟ้าร้อง ฟ้าผ่าและลูกเห็บตกได้ ต้องติดตามและเฝ้าระวัง เตรียมการรับมือ 6 – 11 มี.ค. 66 เริ่มต้นเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว ประเทศไทยตอนบน ยังไม่มีฝน อากาศเริ่มร้อนขึ้นในตอนกลางวัน เช้าๆ ยังมีอากาศเย็นบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน ยอดดอย ยอดภู ยังมีอากาศหนาว ท้องฟ้าโปร่ง เมฆน้อย ลมหนาวที่เคยพัดปกคลุมจะเเริ่มเปลี่ยนเป็นลมทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้,มากขึ้น มีกำลังอ่อนถึงปานกลาง ต้องระมัดระวังรักษาสุขภาพจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง ช่วงนี้อากาศร้อนและแห้ง ระวังอัคคีภัยที่เกิดขึ้นได้ง่าย การสะสมของฝุ่นก็เพิ่มขึ้นด้วยโดยเฉพาะในภาคเหนือ ส่วนภาคใต้ระยะนี้ยังมีฝนบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง เนื่องจากอิทธิพลของลมตะวันออกที่พัดปกคลุม คลื่นลมจะเริ่มมีกำลังอ่อนลง พี่น้องชาวเรือ ชาวประมง เดินเรือด้วยความระมัดระวังบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง อากาศจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง ช่วงวันที่ 12 […]

5 มี.ค. ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ

5 มีนาคมนี้ ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ ช้ากว่ากำหนดปกติไป 3 สัปดาห์ จากกลางเดือนกุมภาพันธ์มาเป็นต้นเดือนมีนาคม โดยอุณหภูมิสูงสุดของฤดูร้อนปีนี้อยู่ในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ ที่สุโขทัย ตาก ลำปาง แม่ฮ่องสอน สูงถึง 40-43 องศาเซลเซียส จากสถิติเคยอากาศร้อนสุด 44.6 องศาเซลเซียส ที่ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อปี 2559 นางสาวชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า อากาศช่วงฤดูร้อนปีนี้ จะร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป บางพื้นที่อากาศร้อนจัด อุณหภูมิสูงเกิน 35 องศาเซลเซียส ตอนบนของประเทศยังได้รับความกดอากาศสูงจากจีนแผ่ปกคลุมมาเป็นระลอกทำให้ช่วงเช้ายังมีอากาศเย็น สลับกับมีฝนฟ้าคะนองซึ่งเป็นผลดีที่มาช่วยลดความร้อนของอากาศลงได้ พร้อมเตือนให้ประชาชนระวังผลกระทบของพายุฤดูร้อนไว้ด้วย ที่อาจจะมีลูกเห็บตกเกิดความเสียหายต่อผลผลิตการเกษตรได้ แต่ปริมาณน้ำฝนก็ยังมีไม่มากเท่าไหร่ และจะสิ้นสุดฤดูร้อนกลางเดือนพฤษภาคมนี้

1 2 3 24