3707

12-13 มีนาคม 2566 อุตุฯเตือน เหนือเตรียมรับมือพายุฤดูร้อน

พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 8-17 มี.ค.66 อัพเดท 2023030712 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) : 8 – 11 มี.ค. 66 ประเทศไทยตอนบน ยังไม่มีฝน อากาศเริ่มร้อนขึ้นในตอนกลางวัน เช้าๆ ยังมีอากาศเย็นบางพื้นที่ บริเวณภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน ท้องฟ้าโปร่ง เมฆน้อย ลมทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้ พัดปกคลุม มีกำลังอ่อนถึงปานกลาง ต้องระมัดระวังรักษาสุขภาพจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง ระวังโรคลมแดด ช่วงนี้อากาศร้อนและแห้ง ระวังอัคคีภัยที่เกิดขึ้นได้ง่าย การสะสมของฝุ่นก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่องโดยเฉพาะในภาคเหนือ ออกนอกบ้านต้องสวมหน้ากากอนามัยป้องกันเมื่อออกนอกบ้าน ส่วนภาคใต้ระยะนี้ยังมีฝนบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง เนื่องจากอิทธิพลของลมตะวันออกที่พัดปกคลุม คลื่นลมจะเริ่มมีกำลังอ่อนลง พี่น้องชาวเรือ ชาวประมง เดินเรือด้วยความระมัดระวังบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง อากาศจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งช่วงวันที่ 12 – 13 มี.ค.66 โดยประเทศไทยตอนบน จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้ บริเวณภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน (กลางวันอากาศยังร้อน […]

อุตุฯ คาด ไทยตอนบนเตรียมรับมือฝน 12-13 มี.ค.66

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน ช่วงวันที่ 12 – 13 มี.ค.66 โดยประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้ บริเวณภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน (ฝนมาค่ำๆของวันที่ 12) จากอิทธิพลของมวลอากาศเย็นที่จะแผ่ลงมาปกคลุมภาคอีสาน ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน จะเกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นและมวลอากาศร้อน ทำให้มีพายุฤดูร้อน(พายุฝนฟ้าคะนอง) ลมกระโชกแรง มีฟ้าร้อง ฟ้าผ่าและลูกเห็บตกได้ ต้องติดตามและเฝ้าระวัง เตรียมการรับมือ 6 – 11 มี.ค. 66 เริ่มต้นเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว ประเทศไทยตอนบน ยังไม่มีฝน อากาศเริ่มร้อนขึ้นในตอนกลางวัน เช้าๆ ยังมีอากาศเย็นบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน ยอดดอย ยอดภู ยังมีอากาศหนาว ท้องฟ้าโปร่ง เมฆน้อย ลมหนาวที่เคยพัดปกคลุมจะเเริ่มเปลี่ยนเป็นลมทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้,มากขึ้น มีกำลังอ่อนถึงปานกลาง ต้องระมัดระวังรักษาสุขภาพจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง ช่วงนี้อากาศร้อนและแห้ง ระวังอัคคีภัยที่เกิดขึ้นได้ง่าย การสะสมของฝุ่นก็เพิ่มขึ้นด้วยโดยเฉพาะในภาคเหนือ ส่วนภาคใต้ระยะนี้ยังมีฝนบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง เนื่องจากอิทธิพลของลมตะวันออกที่พัดปกคลุม คลื่นลมจะเริ่มมีกำลังอ่อนลง พี่น้องชาวเรือ ชาวประมง เดินเรือด้วยความระมัดระวังบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง อากาศจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง ช่วงวันที่ 12 […]

(มีคลิป) พื้นที่ จ.เชียงใหม่ พายุฝนถล่มแล้ว ทั้งฝน พายุ และลมแรง

เมื่อเวลา 20.30 น. วันที่ 15 ก.พ.66 ผู้สื่อข่าวรายงานพื้นที่ อ.แม่ริม ทางแยกเข้าไปวัดพระธาตุสี่รอย หมู่บ้านที่อาศัยอยู่สี่แยก จากถนนสายเชียงใหม่-แม่ริม.แม่แตง เกิดพายุฝนหลงฤดู เกิดฝนตกหนัก มีลมแรง ขอเตือนชาวบ้านเก็บสิ่งของไว้ให้พ้นน้ำด้วย

ฝนตก ทำให้คนเรา รู้สึกเหงา-เศร้ามากขึ้น

โดยปกติมนุษย์จะตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมรอบตัวอยู่แล้ว เช่น ในตอนกลางคืน หรืออยู่ในที่มืด ๆ เงียบ ๆ เราจะได้ยินเสียง มองเห็นหรือรับรู้สิ่งภายนอกอื่น ๆ น้อยลง ส่งผลให้เราจะกลับมาได้ยินเสียงของตัวเอง รับรู้ความคิดของตัวเองมากขึ้น เมื่อนำมาเทียบเคียงกับตอนฝนตก ก็คือตอนที่ท้องฟ้าเริ่มมืดลง หรือเราต้องอยู่ในห้องคนเดียวเพราะออกไปไหนไม่ได้ ซึ่งบางคนอาจจะนำไปเชื่อมโยงกับประสบการณ์ส่วนตัว เช่น การกลัว เมื่ออยู่คนเดียว กลัวเสียงฟ้าร้อง ซึ่งความกลัวนี้เองที่จะนำพาตัวเราไปสู่ความรู้สึกเหงาได้ ถ้ากลัวฟ้าร้องมาก ๆ มีวิธีจัดการไหม? ความกลัวของคนเกิดจากการเชื่อมโยงประสบการณ์ในอดีตเช่น คนที่กลัวเสียงฟ้าร้อง แท้จริงแล้วอาจจะเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับฟ้าผ่า เมื่อเวลาฝนตกฟ้าร้อง ใจจะคิดต่อว่าฟ้าจะผ่า วิธีรับมือคือต้องค้นหาต้นตอของความกลัวที่แท้จริงให้เจอ ถ้าสิ่งไหนสามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ควรหลีกเลี่ยง หรือถ้าสิ่งไหนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อย่างเช่น ฟ้าร้องฟ้าผ่า ต้องตระหนักว่ายังไงเราก็ต้องเผชิญกับมัน อาจจะต้องฝึกที่จะเผชิญแทนที่จะหลีกหนี ซึ่งอาจจะเริ่มต้นจากการลองทนอยู่ในสถานการณ์นั้น ๆ แล้วกลับมาคิดกับตัวเองว่า สิ่ง ๆ นั้นทำอันตรายเราได้จริงไหม ทำได้ขนาดไหน เช่น เมื่อเราอยู่ในบ้านยังไงฟ้าก็ไม่ผ่าเรา เราก็ไม่เห็นต้องกลัว อย่างนี้เป็นต้น ทำไมเวลา ฝนตก ถึงขี้เกียจมากกว่าเดิม? ในเวลาที่ฝนตกหรือช่วงที่มีอากาศเย็นลงนั้น ทำให้ร่างกายมนุษย์ตอบสนองต่ออุณหภูมิที่ลดต่ำลง ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดต่ำลง ร่างกายเคลื่อนไหวช้าลง ทำให้รู้สึกว่าตัวเองขี้เกียจ […]

มาตามนัด!!ฝนหลงฤดูเทกระหน่ำลงมาอย่างหนัก

เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 15 พ.ย.2565 เกิดฝนตกลงมาอย่างหนักหลายพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่ รวมไปถึงหลายพื้นที่ในแต่ละจังหวัดของภาคเหนือตอนบน ระยะเวลายาวนานประมาณ 30 นาที ฝนได้หยุดตก พอถึงเวลาประมาณ 20.45 น.ได้มีฝนตกลงมาอย่างหนักอีกครั้งและต่อเนื่อง ขณะนี้เวลา 21. 10 น.ฝนยังตกลงมาเรื่อยๆ

(มีคลิป) ฝนสั่งลา!! เกิดตกลงมาอย่างหนักในพื้นที่ลำพูน

เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 28 ต.ค.2565 เกิดฝนตกเทลงมาอย่างหนัก บริเวณสะพานทางแยกเหมืองง่า อ.เมืองลำพูนถนนชุปเปอร์ไฮเวย์สายเชียงใหม่-ลำปาง ส่วนพื้นที่อื่นทั้งลำพูน และเชียงใหม่ สภาพอากาศมืดครึ้มคาดว่าจะมีฝนตกลงมา ชึ่งถือว่าเป็นฝนส่งท้ายเข้าสู่ฤดูหนาว หรือชาวบ้านเรียกว่า”ฝนข้าวเน่า” เพราะเป็นช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวหากฝนตกติดต่อกันหลายวันข้าวที่เกี่ยวผึ้งแดดไว้อาจเน่าเสียได้ ขอบคุณ/ตั้มซ่า ณ๊ ลำพูน

มาตามนัด!!”โนรู”มาแล้วเกิดฝนตกหนักหลายพื้นที่ในเชียงใหม่

เมื่อเวลาประมาณ 18.20 น.วันที่ 30 ก.ย.2565 เกิดฝนตกหนักหลายพื้นที่ ในจ.เชียงใหม่ จากอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่น”โนรู” หลังจากถล่มหลายจังหวัดในภาคอีสาน เคลื่อนตัวสู่ภาคเหนือตอนบนแล้ว ขณะรายงานข่าวนี้ ยังไม่มีรายงานของแต่ละพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน ได้รับความเสียหายจากอิทธิพลของ”โนรู” ในครั้งนี้ ข่าวคืบหน้าจะได้นำมาเสนอกันต่อไป

ระวัง! ขับรถน้ำกระเด็นใส่คนอื่น มีความผิด

การขับรถเหยียบน้ำใส่คน เป็นการแสดงให้เห็นถึงการขับรถที่ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่นโดยอ้างอิงจาก พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับตั้งแต่ 2,000 ถึง 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากมีทรัพย์สินเสียหายจากการที่รถยนต์เหยียบน้ำกระเด็นใส่ คนขับจะเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามมาตรา 358 ต้องระวางโทษจำคุกไม่ เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ยังไม่จบเท่านี้ เราอาจจะสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากเจ้าของรถได้ หากทรัพย์สินเสียหายจากการที่รถเหยียบน้ำกระเด็นใส่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งแลพาณิชย์มาตรา 438 ที่ระบุว่า ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติกรรมและความร้ายแรงแห่งการละเมิด ดังนั้น เมื่อเราเจอกับเหตุการณ์แบบนี้ อันดับแรก คือ จด และ จำทะเบียนคันก่อเหตุไว้ หรือถ่ายภาพได้ทั้งภาพนิ่งและวิดีโอ แล้วนำหลักฐานเข้าแจ้งความกับตำรวจที่ใกล้ที่สุดทันที ส่วนผู้ขับขี่เองก็ควรต้องใช้ความระมัดระวัง ใช้ความเร็วต่ำขณะฝนตกหรือเจอแอ่งน้ำ เพราะนอกจากจะไม่ทำให้เพื่อนร่วมทางเดือดร้อน ยังช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ด้วย

ดอยม่อนล้าน ดินสไลด์​ หินใหญ่ร่วงทับเส้นทาง

ดอยม่อนล้าน​ อ.พร้าว​ จ.เชียงใหม่ ฝนตกหนักต่อเนื่อง​ เกิดดินสไลด์​ หินขนาดใหญ่​ร่วงทับเส้นทาง วันที่​ 1 ก.ค.​ 65​ เวลา​ 11.00​ น.​ นายภูพิชิต ช่วยบำรุง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติศรีลานนา รายงานว่า​ วันที่ 30​ มิ.ย.​ 65 ต่อเนื่องวันที่ 1​ ก.ค.​ 65​ บริเวณดอยม่อนล้าน มีฝนตกหนักเบาสลับกันต่อเนื่องเป็นเวลา​ 2​ คืน​ 2​ วัน​ ทำให้เกิดดินสไลด์ในพื้นที่ พบก้อนหินขนาดใหญ่ร่วงขวางเส้นทาง พิกัด​ 532592-​2147184 นอกจากนี้ยังเกิดดินสไลด์ทับเส้นทาง พิกัด​ 533127-2146995 เสาไฟฟ้าหัก 1 ต้น บริเวณหลักกิโลเมตรที่​ 12​ ขณะนี้ในพื้นที่ยังคงมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ทางอุทยานฯ ได้ทำการประสานผู้นำชุมชน ทางหลวงชนบท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอพร้าว และองค์กรปกครองท้องถิ่น ร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้ว

1 2