176

คืบหน้ารถไฟทางคู่ เด่นชัย – เชียงราย ทางรถไฟสายใหม่ของภาคเหนือ

หลังจากที่คนเชียงรายรอรถไฟมาหลายทศวรรษ ดูเหมือนว่าความฝันของชาวเชียงรายใกล้เป็นจริงขึ้นมาอีกระดับเมื่อโครงการรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย – เชียงราย มีความคืบหน้ามากขึ้น โดยคาดว่าโครงการดังกล่าวจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2571 นี้ สำหรับโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งเป็นทางรถไฟสายใหม่ระยะเร่งด่วน ภายใต้โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 – 2565  ซึ่งโครงการนี้ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งโครงการนี้จะเริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ในพื้นที่จังหวัดแพร่ ลำปาง พะเยา และเชียงราย เริ่มต้นจากสถานีรถไฟเด่นชัย จังหวัดแพร่ สิ้นสุดที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย รวมระยะทาง 323.10 กิโลเมตร กรอบวงเงินลงทุน85,345 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้างตั้งแต่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 ถึง 14 มกราคม พ.ศ. 2571  โดยความคืบหน้าล่าสุด เมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี […]

แบงก์ชาติชี้จุดอ่อน ที่ต้องแก้ไขด่วน หลังเศรษฐกิจภาคเหนือโตช้าลง

สถานการณ์เศรษฐกิจภาคเหนือในปัจจุบัน ยังคงเป็นที่น่ากังวลจากหลายฝ่าย เนื่องจากอัตราการขยายตัวที่เริ่มช้าลงจากในอดีต โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะฉุดรั้งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไข อาจส่งผลให้ภาคเหนือสูญเสียศักยภาพในการแข่งขันระหว่างภูมิภาคได้ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย แสดงปาฐกถาพิเศษในช่วงสนทนากับผู้ว่าการ เรื่อง “ก้าวต่อไปของเศรษฐกิจการเงินไทย” ในงานสัมมนาทางวิชาการ ประจำปี 2566 “ยกระดับเศรษฐกิจเหนือ คว้าโอกาสบนโลกแห่งความท้าทาย” ณ อาคารอเนกประสงค์ ธปท. สภน. จ.เชียงใหม่ เมื่อวันพุธที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา โดย ดร.เศรษฐพุฒิ ได้พูดถึงปัจจัยลบที่ส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาคเหนือ ซึ่งในปัจจุบัน มีการขยายตัวในรอบ 10 ปีย้อนหลัง เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1 ซึ่งน้อยกว่า 20 ปีที่แล้ว ที่มีการขยายตัวร้อยละ 4 ขณะเดียวกัน พื้นที่ภาคเหนือมีการขยายตัวของชุมชนเมือง น้อยกว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แถมยังกระจุกตัวอยู่เฉพาะจังหวัดใหญ่ๆ อาทิ เชียงใหม่ เชียงราย เป็นต้น ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลโดย ธปท. พบว่า ปัญหาเชิงโครงสร้าง มีส่วนสำคัญที่ทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจภาคเหนือลดลงจากในอดีต เช่น ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ  โดยภาคเหนือเป็นภูมิภาคที่มีสัดส่วนประชากรสูงวัยสูงที่สุดในประเทศ […]

ผู้ว่าฯธปท. ร่วมงานสัมนาวิชาการ ประจำปีที่เชียงใหม่

ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ (ธปท.สภน.) ได้จัดงานสัมมนาทางวิชาการ ประจำปี 25 66 “ยกระดับเศรษฐกิจเหนือ คว้าโอกาสบนโลกแห่งความท้าทาย” วันพุธที่ 9 สิงหาคม 2566 เวลา  08.30-12.00 น. ณ อาคารอเนกประสงค์ ธปท. สภน. จ.เชียงใหม่ เพื่อให้ภาคธุรกิจและประชาชนในภาคเหนือ ได้รับทราบทิศทางเศรษฐกิจการเงินนโยบาย ธปท. รวมถึงประมาณการเศรษฐกิจภาคเหนือในอีก 2 ปีข้างหน้า เพื่อการวางแผนของภาคธุรกิจและครัวเรือน ตลอดจนรับฟังมุมมองเกี่ยวกับการสร้างความยั่งยืนและแนวทางการปรับตัว เพื่อยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งภาคธุรกิจ การเงิน การศึกษา ภาคราชการ และประชาชนทั่วไป ผ่านช่องทาง online และมาอยู่ที่ onsite โดยงานสัมมนาแบ่งเป็น 3 ช่วง ในช่วงแรก ในงานได้รับเกียรติจาก ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย แสดงปาฐกถาพิเศษในช่วงสนทนากับผู้ว่าการ เรื่อง “ก้าวต่อไปของเศรษฐกิจการเงินไทย” ฉายภาพเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง จากการประเมินไว้เมื่อเดือน มิ.ย. 66 คาดว่าอัตราการขยายตัวปี 66 อยู่ที่ 3.6% และปี 67 ที่ 3.8% ตามแรงส่งจากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดี และภาคท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ต่างประเทศที่ชะลอลง ส่วนหนึ่งตามเศรษฐกิจจีน และวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ฟื้นตัวช้า รวมทั้งรายรับภาคการท่องเที่ยวปรับลดลงจากค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวที่ลดลงแม้จำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามามากกว่าที่คาดไว้ แต่โดยรวมไม่ได้กระทบแรงส่งของเศรษฐกิจในระยะต่อไปที่จะอยู่ในทิศทางฟื้นตัวต่อเนื่อง แม้การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน อาจส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่มาไทยบ้าง แต่การฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวสัญชาติอื่นช่วยชดเชยในส่วนนี้ได้  ส่วนการส่งออกที่หดตัวในระยะสั้น คาดว่าจะทยอยปรับดีขึ้นตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก  สำหรับเศรษฐกิจภาคเหนือทยอยฟื้นตัวเช่นกันแต่ช้ากว่าประเทศ เนื่องจากเศรษฐกิจภาคเหนือถูกขับเคลื่อนด้วยภาคเกษตรค่อนข้างมาก และมีสัดส่วนแรงงานในภาคเกษตรสูงอีก ทั้งยังเป็นแรงงานสูงอายุ ภาคการผลิตยังมีบทบาทน้อยเมื่อเทียบกับประเทศ รวมทั้งในครึ่งหลังของปีนี้ ต่อเนื่องไปปีหน้า จะมีความท้าทายจากผลกระทบของภาวะภัยแล้ง สำหรับนโยบายสำหรับนโยบายการเงิน ล่าสุดที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย กนง. ได้ประเมินว่าเป็นจุดที่ถือว่าเข้าใกล้จุดสมดุล (neutral) มากขึ้นแล้ว เพราะภาพรวมเศรษฐกิจไทยขณะนี้กำลังฟื้นเข้าสู่ระดับศักยภาพ ในเรื่องของปัญหาหนี้ครัวเรือน กนง. เป็นห่วงมาโดยตลอด จึงดำเนินนโยบายแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยมุ่งเน้นดูแลเศรษฐกิจโดยรวมให้อยู่ในแนวโน้ม ที่สอดคล้องกับเป้าหมายเงินเฟ้อ และเป้าหมายเศรษฐกิจในระยะปานกลาง แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นจะกระทบต่อหนี้ครัวเรือน แต่ไม่ใช่ทั้งหมด หนี้ครัวเรือนในภาคเหนือ 43% เป็นอัตราดอกเบี้ยแบบ fixed […]

ธปท. รายงานเศรษฐกิจภาคเหนือ ไตรมาส 2

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2566 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ (ธปท. สภน.) โดยคุณพรวิภา ตั้งเจริญมั่นคง ผู้อำนวยการอาวุโส แถลงข่าว “ภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคเหนือ ไตรมาส 2/2566” โดยภาพรวมภาวะเศรษฐกิจภาคเหนือไตรมาส 2/2566 ปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อน จากรายได้เกษตรกร ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม และการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวทำให้การจ้างงานทยอยปรับดีขึ้น เป็นปัจจัยสนับสนุนการบริโภคและการลงทุน รายได้เกษตรกรขยายตัว ทั้งด้านผลผลิตโดยเฉพาะข้าวนาปรังที่เพิ่มขึ้นมาก รวมถึงราคาสินค้าเกษตรยังอยู่ในระดับสูง ด้านผลผลิตอุตสาหกรรมปรับดีขึ้นตามการผลิตหมวดอาหาร เครื่องดื่ม และชิ้นส่วนยานยนต์ ภาคท่องเที่ยวฟื้นตัว จากนักท่องเที่ยวไทยในช่วงวันหยุดยาวต้นไตรมาส และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นส่งผลให้ตลาดแรงงานปรับดีขึ้น สะท้อนจากจำนวนผู้ประกันตนมาตรา 33 ในระบบประกันสังคมเพิ่มขึ้น จำนวนผู้ขอสิทธิว่างงานปรับลดลงและรายได้ลูกจ้างนอกภาคเกษตรทยอยฟื้นตัว เป็นปัจจัยสนับสนุนให้การบริโภคภาคเอกชนปรับดีขึ้น ทั้งในหมวดสินค้าหมวดอุปโภคบริโภค สินค้ากึ่งคงทน และหมวดบริการ เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว ตามการนำเข้าสินค้าทุนเพื่อการผลิต โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และยอดจำหน่ายจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายภาครัฐกลับมาหดตัว ตามการเบิกจ่ายที่ลดลงทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนหลังเร่งไปในไตรมาสก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงไตรมาสก่อน จากหมวดพลังงานและอาหารสด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงจากหมวดอาหารและเครื่องดื่ม แนวโน้มเศรษฐกิจภาคเหนือไตรมาส 3/2566 คาดว่าอยู่ในทิศทางฟื้นตัว ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยปรับดีขึ้น นักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวตามความต้องการของประเทศคู่ค้า ส่งผลให้ตลาดแรงงานยังมีทิศทางดี อย่างไรก็ตาม รายได้เกษตรกรที่ชะลอลงและรายได้นอกภาคเกษตรที่ฟื้นตัวช้า รวมทั้งค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูง เป็นปัจจัยกดดันการบริโภคและการลงทุน  นอกจากนี้ ยังต้องติดตามความเสี่ยงจากปริมาณฝนที่ลดลงจากภาวะเอลนีโญทิศทางการฟื้นตัวของอุปสงค์ต่างประเทศ และความเชื่อมั่นที่อาจถูกกระทบจากสถานการณ์การเมือง ธปท. ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมา ธปท. ได้ปรับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ แม้เศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจนขึ้น แต่ยังมีลูกหนี้บางกลุ่มที่รายได้ฟื้นตัวช้า จึงปิดจบหนี้ไม่ได้ ธปท. จึงจะออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ให้ตรงจุดและยั่งยืนขึ้น โดยมาตรการที่จะบังคับใช้ก่อน คือ หลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (responsible lending) เพื่อปรับพฤติกรรมเจ้าหนี้และลูกหนี้ ผ่านการยกระดับมาตรฐานกระบวนการให้สินเชื่อตลอดวงจรหนี้ นอกจากนี้ อีกส่วนหนึ่งของเกณฑ์ responsible lending คือ การกำหนดแนวทางให้เจ้าหนี้ช่วยเหลือลูกหนี้เรื้อรัง (persistent debt) หรือกลุ่มที่ยังจ่ายหนี้ได้ตามปกติ แต่ปิดจบหนี้ไม่ได้ เพื่อให้ลูกหนี้กลุ่มนี้สามารถปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น และมีเงินเหลือพอดำรงชีพ โดย ธปท. จะออก consultation paper ภายในไตรมาส 3 ปีนี้ และ จะบังคับใช้เกณฑ์ responsible lending และ persistent debt ในวันที่ 1 […]

สวจ.แพร่ ร่วมงานสมัชชาคุณธรรมและตลาดนัดคุณธรรมภาคเหนือ

สวจ.แพร่ ร่วมงานสมัชชาคุณธรรมและตลาดนัดคุณธรรมภาคเหนือ ปี 2566 ภายใต้แนวคิด “สืบสานวิถีวัฒนธรรม สู่คุณธรรมที่สัมผัสได้” เมื่อวันที่ 39 พฤษภาคม 2566นางกรวรรณ สุ่มมาตย์ วัฒนธรรมจังหวัดแพร่ พร้อมด้วยบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ และชุมชนคุณธรรมวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง ร่วมจัดนิทรรศการ ในงานสมัชชาคุณธรรมและตลาดนัดคุณธรรมภาคเหนือ ปี 2566 ภายใต้แนวคิด “สืบสานวิถีวัฒนธรรม สู่คุณธรรมที่สัมผัสได้” ณ หอประชุมวัชร นารี โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม จังหวัดกำแพงเพชร จัดโดย ศูนย์คุณธรรม(องค์การมหาชน) กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ จังหวัดกำแพงเพชรและองค์กรภาคีเครือข่ายคุณธรรมภาคเหนือ ทั้งนี้ นางกรวรรณ สุ่มมาตย์ วัฒนธรรมจังหวัดแพร่ ร่วมเป็นวิทยากรในเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น “ปัจจัยและแนวทางสู่ความสำเร็จการขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรม และข้อเสนอเชิงนโยบายด้านคุณธรรมของภาคีเครือข่ายภาคเหนือ” ดำเนินรายการโดย นายยงจิรายุ อุปเสน ผู้จัดการสำนักส่งเสริมและขับเคลื่อนเครือข่ายทางสังคมศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)

แวดวงกีฬา วันที่ 11 เมษายน 2566

หลังสงกรานต์การแข่งขัน กีฬาอาวุโสแห่งชาติ ครั้งที่ 5 “ชอนตะวันเกมส์” ระหว่างวันที่ 22 – 28 เมษายน 2566 ณ จังหวัดนครสวรรค์ ก็มาดูผลงานของนักกีฬาผู้อาสุโสเชียงใหม่ จะติด 1ใน 5 ของตรางได้หรือไม่ นักกีฬาเยาวชนเชียงใหม่ ก็คว้าอันดับ 3 มาครองได้ นักกีฬาอาวุโสที่จะ ไปนครสวรรค์ ช่วงนี้ก็ต้องระวังอากาศที่ร้อนสุด ๆ กีฬากลางแจ้งต้องระวังตัวเป็นพิเศษดื่มน้ำมาก ๆ แล้วจะปลอดภัย รายการนี้เจ้าภาพ นครสวรรค์ เขาปรับย้ายสนามแข่งขันบางสนามมาแข่งในที่ร่ม ไม่เหมือนกับ เยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 38 ที่ผ่านมา เพื่อป้องกันการลงสนามแข่งขันนักกีฬาอาวุโส ให้มีความปลอดภัยสูงขึ้น…พ่อเมืองเชียงใหม่ ..นิรัตน์ พงษ์สิทธิ์ถาวร ..เป็น ห่วงสุขภาพประชาชน ในช่วงนี้อากาศที่เชียงใหม่ ยังร้อนสุด ๆ ก็ขอให้ประชาชนระวังการไปอยู่กลางแดดด้วย หลังสงกรานต์ บิ๊กต่าย มนตรี หาญใจ..นายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดเชียงใหม่ ก็เตรียมทีมนักกีฬาอาวุโสเชียงใหม่ ไปร่วมในการแข่งขัน กีฬาอาวุโสแห่งชาติ ครั้งที่ […]

12-13 มีนาคม 2566 อุตุฯเตือน เหนือเตรียมรับมือพายุฤดูร้อน

พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 8-17 มี.ค.66 อัพเดท 2023030712 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) : 8 – 11 มี.ค. 66 ประเทศไทยตอนบน ยังไม่มีฝน อากาศเริ่มร้อนขึ้นในตอนกลางวัน เช้าๆ ยังมีอากาศเย็นบางพื้นที่ บริเวณภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน ท้องฟ้าโปร่ง เมฆน้อย ลมทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้ พัดปกคลุม มีกำลังอ่อนถึงปานกลาง ต้องระมัดระวังรักษาสุขภาพจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง ระวังโรคลมแดด ช่วงนี้อากาศร้อนและแห้ง ระวังอัคคีภัยที่เกิดขึ้นได้ง่าย การสะสมของฝุ่นก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่องโดยเฉพาะในภาคเหนือ ออกนอกบ้านต้องสวมหน้ากากอนามัยป้องกันเมื่อออกนอกบ้าน ส่วนภาคใต้ระยะนี้ยังมีฝนบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง เนื่องจากอิทธิพลของลมตะวันออกที่พัดปกคลุม คลื่นลมจะเริ่มมีกำลังอ่อนลง พี่น้องชาวเรือ ชาวประมง เดินเรือด้วยความระมัดระวังบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง อากาศจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งช่วงวันที่ 12 – 13 มี.ค.66 โดยประเทศไทยตอนบน จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้ บริเวณภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน (กลางวันอากาศยังร้อน […]

ศูนย์อุตุภาคเหนือ คาดฤดูร้อนปีนี้จะมีอุณหภูมิสูงถึง 40-43 องศา

ศูนย์อุตุนิยมภาคเหนือ คาดฤดูร้อนปีนี้จะมีอุณหภูมิสูงถึง 40-43 องศา เตือนประชาชนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และระมัดระวังภัยจากพายุฤดูร้อน วันนี้ (28 ก.พ. 66) ที่ ห้องประชุม 4 ชั้น 4 อาคารอำนวยการ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ นายรักชัย ศรีนวน นักอุตุนิยมวิทยาชำนาญการพิเศษ ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ เปิดเผยในการแถลงข่าวสื่อมวลชนประจำสัปดาห์ ถึงลักษณะอากาศในช่วงฤดูร้อน โดยตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม เป็นต้นไป จะเริ่มมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อย่างต่อเนื่อง สำหรับฤดูร้อนปีนี้คาดว่าจะเริ่มในช่วงต้นเดือนมีนาคม ช้ากว่าปกติประมาณ 2-3 สัปดาห์ และจะสิ้นสุดในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม โดยช่วงที่มีอากาศร้อนที่สุดจะอยู่ในช่วงครึ่งเดือนหลังของเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุดถึง 40-43 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามในปีนี้คาดว่าจังหวัดเชียงใหม่จะมีอุณหภูมิสูงถึง 39-41 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง อีกทั้งระมัดระวังการใช้เชื้อเพลิงในการทำกิจกรรมต่างๆ อันเป็นเหตุให้เกิดอัคคีภัยและไฟป่าในช่วงฤดูแล้งนี้ รวมถึงพายุฤดูร้อน พายุฝนฟ้าคะนอง และพายุไซโคลน ในช่วงปลายเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งอาจก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้

มร.ชม. ร่วมอบรมเครือข่าย ผู้นำนักศึกษา

มร.ชม. ร่วมโครงการอบรมเครือข่ายผู้นำนักศึกษา ด้านการประกันคุณภาพและการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ 6 สถาบัน เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566 อ.ดร.เสกสรร ท้าวทุมมา รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา วางแผนและประกันคุณภาพการศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นำคณะผู้นำนักศึกษาจำนวน 18 คน เข้าร่วมโครงการอบรมเครือข่ายผู้นำนักศึกษา ด้านการประกันคุณภาพและการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ 6 สถาบัน (MOU) ครั้งที่ 11 Students’ leadership Network Training Program for Quality Assurance, Art and Cultural Exchange Faculty of Humanities and Social Sciences Northern Rajabhat Universities 6 Institutions (MOU) 11th ณ […]

สรุปสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ประจำวันที่ 11 มกราคม 2566

สรุปสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ประจำวันที่ 11 มกราคม 2566 ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 (เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน แม่ฮ่องสอน) PM2.5 มีค่าระหว่าง 17-39 มคก./ลบ.ม. คุณภาพอากาศอยู่ในระดับ “ดีมาก ถึง ปานกลาง”(ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) Hotspot เกิดขึ้นจำนวน 18 จุด (เชียงราย 11 จุด เชียงใหม่ 6 จุด แม่ฮ่องสอน 1 จุด และลำพูน 0 จุด) คาดการณ์การสะสมของฝุ่นละอองวันพรุ่งนี้ คุณภาพอยู่ในระดับ “ปานกลาง”

สรุปสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ประจำวันที่ 10 มกราคม 2566

สรุปสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ประจำวันที่ 10 มกราคม 2566 ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 (เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน แม่ฮ่องสอน) PM2.5 มีค่าระหว่าง 18-50 มคก./ลบ.ม. คุณภาพอากาศอยู่ในระดับ “ดีมาก ถึง ปานกลาง”(ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) Hotspot เกิดขึ้นจำนวน 18 จุด (เชียงราย 11 จุด เชียงใหม่ 6 จุด แม่ฮ่องสอน 1 จุด และลำพูน 0 จุด) คาดการณ์การสะสมของฝุ่นละอองวันพรุ่งนี้ คุณภาพอยู่ในระดับ “ปานกลาง”

“ประวิตร” ลั่น! มลพิษภาคเหนือ ปี 66 ต้องดีขึ้น

“ประวิตร” สั่งเดินหน้าทุกหน่วยงาน เตรียมพร้อมแก้ปัญหาไฟป่า มลพิษ ฝุ่นละออง ภาคเหนือ ปี 66 ต้องดีขึ้น วันที่ 26 ธ.ค. 65 ที่อาคารศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จังหวัดเชียงราย (GMS) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมามอบนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน ฝุ่นละอองในพื้นที่ภาคเหนือ ปี 2566 โดยมีหน่วยงานทั้งในส่วนกลาง และในพื้นที่ร่วมรับฟังนโยบายเพื่อนำไปขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ กล่าวว่าปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง เป็นปัญหาที่รัฐบาลให้ความสำคัญมาโดยตลอด โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ 17 จังหวัด ทุกกระทรวงและทุกหน่วยงาน ต้องบูรณาการป้องกันและแก้ไขให้ครอบคลุมทุกมิติ เพื่อปกป้องสุขภาพอนามัยของพี่น้องประชาชนในทุกพื้นที่ ครอบคลุม “เมือง ป่า เกษตร” โดยเน้นย้ำหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้มงวดกวดขัน ทุ่มเทสรรพกำลังองค์ความรู้ และทรัพยากรอย่างเต็มกำลังความสามารถ และประสานงานกันในการดำเนินงาน ปฏิบัติการขับเคลื่อนตาม “แผนเฉพาะกิจ” เพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี 2566 บนหลักการ “สื่อสารเชิงรุก ยกระดับปฏิบัติการ […]

1 2 3 4