1985

เริ่ม 15 พ.ย.นี้ ใช้ตู้ฝากเงินสด ต้องใช้บัตรเครดิต-เดบิตยืนยัน

วันที่ 17 ต.ค.2565 นางบุษกร ธีระปัญญาชัย ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายระบบการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้แจงกรณีข่าวที่ธนาคารต่างๆ จะปรับขั้นตอนการฝากเงินผ่านเครื่อง CDM ซึ่งต้องมีการยืนยันตัวตนผ่านบัตรเดบิต บัตรเอทีเอ็ม หรือบัตรเครดิต ทุกครั้ง โดยจะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย. เป็นต้นไปว่า เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) การยืนยันตัวตนของผู้ทำรายการฝากเงิน เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงินมากขึ้น โดยธนาคารให้มีการยืนยันตัวตนผ่านเครื่อง CDM ของแต่ละธนาคาร สำหรับประชาชนที่ไม่มีบัตรเดบิต บัตรเอทีเอ็ม หรือบัตรเครดิต จะไม่สามารถฝากเงินที่เครื่อง CDM ได้ แต่ยังคงสามารถฝากเงินโดยใช้บัตรประชาชน ผ่านช่องทางอื่น นอกเหนือจากฝากที่สาขาธนาคารได้ ได้แก่ ตู้เติมเงิน เคาเตอร์ของร้านสะดวกซื้อ ไปรษณีย์ และตัวแทนรับฝากเงินอื่นของธนาคาร ทั้งนี้ ธปท. จะเร่งให้ธนาคารพาณิชย์ดำเนินการพัฒนาระบบ ให้สามารถรองรับการยืนยันตัวตนรูปแบบอื่น ๆ เช่น การใช้บัตรประชาชน หรือการยืนยันตัวตนในลักษณะ cardless เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนทุกกลุ่มโดยเร็วต่อไป โดยลูกค้าต้องเสียบบัตร […]

IMF ธปท. คาดเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง

โฆษกรัฐบาลเผย IMF และ ธปท. คาดการณ์เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง จากกิจกรรมการท่องเที่ยว และการบริโภคของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น เศรษฐกิจไทยจะคืนสู่ระดับก่อนโควิดภายในสิ้นปี 65 หรือต้นปี 66 วันที่ 17 ตุลาคม 2565 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงรายงาน World Economic Outlook ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund หรือ IMF) ประจำเดือน ก.ค. 65 ที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโตที่ 3.2% ในปี 2565 ทั้งนี้ ด้วยอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา และพื้นที่เศรษฐกิจหลักในยุโรป ยังกระตุ้นให้เกิดความตรึงเครียดในภาวะการเงินโลกเป็นอย่างมาก เนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในจีนและรัสเซีย ในขณะที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคในสหรัฐฯ ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ นายอนุชาฯ กล่าวต่อไปว่า ในรายงานของ IMF ซึ่งเผยแพร่เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ได้คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของไทยในปี 2565 จะขยายตัว 2.8% […]

เปิดลงทะเบียน แก้หนี้ออนไลน์ ถึง 30 พ.ย.65 นี้

วันนี้ (12 ตุลาคม 2565) น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมุ่งเป้าเจาะรายบุคคล  และประกาศให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ร่วมกับกระทรวงการคลังและเจ้าหนี้ 65 ราย ได้ขานรับนโยบายของรัฐบาล จัดกิจกรรม “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้” ขึ้น เพื่อลูกหนี้ที่มีปัญหาการชำระหนี้ จากผลกระทบสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 และผลกระทบต่อเนื่องจากปัญหาค่าครองชีพ และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น ให้สามารถแก้ไขหนี้ได้ และสามารถเริ่มต้นใหม่ได้อย่างยั่งยืน น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า โดยระยะแรกเป็นการแก้หนี้แบบออนไลน์ จึงขอเชิญชวนลูกหนี้ลงทะเบียนแก้หนี้ได้แล้ว ตั้งแต่วันนี้ถึง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ผ่านเว็บไซต์ www.bot.or.th/debtfair สำหรับขั้นตอนในลงทะเบียนนั้น สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้ 1.ยื่นคำขอผ่านเว็บไซต์มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ www.bot.or.th/debtfair 2.ธนาคารแห่งประเทศไทยส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่ร่วมในมหกรรมฯ ตามที่ผู้ลงทะเบียนระบุ ภายใน 3-4 วัน หลังจากลงทะเบียนสำเร็จ 3.ลูกหนี้รอรับโทรศัพท์ติดต่อจากเจ้าหนี้ เพื่อเจรจาเงื่อนไขภายใน 14 วัน หลังจากผู้ให้บริการทางการเงินรับคำขอจากธนาคารแห่งประเทศไทย […]

เตือน! ผลิตแบงก์ปลอม โทษหนักสูงสุดจำคุกตลอดชีวิต

ธนาคารแห่งประเทศไทย ชี้ ความผิดเกี่ยวกับเงินตรา ผู้ผลิตหรือผู้พยายามนำธนบัตรปลอมมาใช้ มีความผิดตาม มาตรา 240 ผู้ใดทำปลอมขึ้นซึ่งเงินตรา ไม่ว่าจะปลอมขึ้นเพื่อให้เป็นเหรียญกระษาปณ์ ธนบัตรหรือสิ่งอื่นใด ซึ่งรัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้ หรือทำปลอมขึ้นซึ่งพันธบัตรรัฐบาลหรือใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้น ๆ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเงินตรา ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสี่แสนบาท [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560] มาตรา 241 ผู้ใดแปลงเงินตรา ไม่ว่าจะเป็นเหรียญกระษาปณ์  ธนบัตรหรือสิ่งอื่นใดซึ่งรัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้ หรือแปลงพันธนบัตรรัฐบาล หรือใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้น ๆ ให้ผิดไปจากเดิม เพื่อให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีมูลค่าสูงกว่าจริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานแปลงเงินตรา ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 ] มาตรา 244 ผู้ใดมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งสิ่งใด ๆ อันตนได้มาโดยรู้ว่าเป็นของปลอมตามมาตรา 240 หรือของแปลงตามมาตรา 241 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสามแสนบาท [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560] มาตรา 245 ผู้ใดได้มาซึ่งสิ่งใด ๆ โดยไม่รู้ว่าเป็นของปลอมตามมาตรา 240 หรือของแปลงตามมาตรา 241 ถ้าต่อมารู้ว่าเป็นของปลอมหรือของแปลงเช่นว่านั้น […]

เตือนเอกชน บริหารความเสี่ยง ตลาดเงินไม่แน่นอนสูง

นางอลิศรา มหาสันทนะ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน แบงก์ชาติ เปิดเผยว่า ช่วงที่ผ่านมา เงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนมากขึ้นโดยเฉพาะช่วงที่เงินบาทอ่อนค่าผ่านระดับ 37.00 บาท/ดอลล่าร์ ซึ่งเป็นผลจากปัจจัยต่างประเทศทั้งจากการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากกว่าเดิม หลังตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ยังอยู่ในระดับสูง และ risk sentiment ของค่าเงินในกลุ่ม EM Asia ที่ปรับแย่ลงหลังค่าเงินหยวนปรับอ่อนค่าขึ้นเหนือระดับ 7 หยวนต่อดอลลาร์ สรอ. รวมถึงยังมีปัจจัยเฉพาะของไทยจากราคาทองคำที่ปรับลดลง ส่งผลให้มีแรงซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากกลุ่มบริษัททองคำเพิ่มขึ้น แบงก์ชาติได้ติดตามสถานการณ์การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด และพร้อมเข้าดูแลเมื่อเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนมากผิดปกติเพื่อไม่ให้กระทบต่อการปรับตัวของภาคเศรษฐกิจจริง ทั้งนี้ ภาคเอกชนควรบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของตลาดการเงินในสถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง

เงินสำรองระหว่างประเทศของไทย มีมากเป็นอันดับ 12 ของโลก

โฆษกรัฐบาลเผย เงินสำรองระหว่างประเทศของไทยอยู่ในระดับสูง มากเป็นอันดับที่ 12 ของโลก สาเหตุที่เงินสำรองฯปรับลดลงมาจากตลาดการเงินที่ผันผวน ยืนยันตลาดการเงินของไทยยังแข็งแกร่งและมีเสถียรภาพ 17 ก.ย. 65 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีมูลค่าเงินสำรองระหว่างประเทศของประเทศปรับลดลง เป็นผลมาจากการแข็งค่าอย่างต่อเนื่องของเงินดอลลาร์ พร้อมเน้นย้ำไม่พบสัญญาณการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่ผิดปกติ และระดับเงินสำรองฯ เมื่อเทียบต่อ GDP ยังสูงกว่าหลายประเทศ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า มูลค่าเงินสำรองระหว่างประเทศที่ปรับลดลงจาก 2.78 แสนล้านดอลลาร์ในช่วงต้นปี มาอยู่ที่ระดับ 2.4 แสนล้านดอลลาร์ เป็นผลมาจากการตีมูลค่าเงินสำรองฯ ที่อยู่ในสินทรัพย์หลายสกุลเงินให้เป็นสกุลดอลลาร์ โดยเงินสกุลดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น ทำให้สินทรัพย์สกุลอื่น ๆ เมื่อตีมูลค่าเป็นรูปดอลลาร์มีมูลค่าลดลง ซึ่งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินผันผวนสูงขึ้นจากตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง และเป็นเหตุการณ์ปกติในช่วงที่ค่าเงินดอลลาร์เคลื่อนไหวผันผวนสูง มูลค่าเงินสำรองฯ ก็จะผันผวนสูงขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังยืนยันว่า ไม่พบสัญญาณการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่ผิดปกติ และประเทศไทยยังมีฐานะทางการเงินที่ดี จากระดับเงินสำรองฯ ที่อยู่ประมาณ 2.4 แสนล้านดอลลาร์ ทำให้ไทยเป็นประเทศที่มีเงินสำรองฯ มากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 […]

ธปท. ชี้ไทยมีหนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง

เมื่อวันที่ 2 ก.ย. 65 ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง และเร่งตัวในช่วงโควิด แต่ไม่ใช่หนี้ครัวเรือนทั้งหมดที่น่ากังวล เพราะส่วนหนึ่งเป็นหนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ การแก้หนี้โดยสร้างภาระให้ลูกหนี้ และลดโอกาสเข้าถึงสินเชื่อ เป็นสิ่งไม่ควรทำ แต่ควรแก้หนี้อย่างตรงจุด สอดคล้องกับรายได้ที่เปลี่ยนไป ครอบคลุม และทันเวลา หนี้ครัวเรือนเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยมาตลอดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีหลัง ที่เศรษฐกิจไทยถูกกระทบรุนแรงและเป็นวงกว้างจากสถานการณ์โควิด 19 ปัจจุบัน ที่เศรษฐกิจไทยกลับมาทยอยฟื้นตัวชัดเจนขึ้น แต่การฟื้นตัวยังไม่ทั่วถึง (K-shaped) ประกอบกับค่าครองชีพและอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไม่สะดุด จึงจำเป็นต้องดูแลปัญหาหนี้ครัวเรือนให้ทันเวลา โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่รายได้ยังกลับมาไม่เต็มที่  ในช่วงที่ผ่านมา กระทรวงการคลังร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การแก้ไขหนี้ทำได้อย่างยั่งยืน สอดรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วง โดยประกอบด้วย 3 ส่วน ทั้งการ แก้หนี้เดิม เพื่อช่วยผ่อนปรนภาระให้สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง เติมเงินใหม่ เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้นและเป็นแหล่งเงินทุนเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม โดยล่าสุด ธปท. และกระทรวงการคลังได้ปรับปรุงเงื่อนไขสินเชื่อฟื้นฟูเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจที่มีความพร้อมให้สามารถลงทุนเพื่อเสริมศักยภาพธุรกิจ ให้ทันกระแสดิจิทัลและความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้คำปรึกษาและเสริมทักษะทางการเงิน ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจการเป็นหนี้และมีการวางแผนทางการเงิน โดยให้การช่วยเหลือครอบคลุมลูกหนี้ทุกประเภท ทั้งรายย่อย SMEs และธุรกิจขนาดใหญ่ (สรุปสาระสำคัญตามเอกสารแนบ)  ทั้งนี้ เพื่อให้การช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ตรงจุด […]

กิจกรรมเนื่องในโอกาสครบรอบ 80 ปี

ธนาคารแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสครบรอบ 80 ปี โดยแบงก์ชาติ สำนักงานภาคเหนือจัดสัมมนาและนิทรรศการ “BOT North Open House เปิดโลกการเงินดิจิทัลสู่ภาคเหนือ ที่อาคารอเนกประสงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 1 สิงหาคม 2565 ธนาคารแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมครบรอบ 80 ปีโดยปาฐกถาพิเศษจากนางวชิรา อารมย์ดี รองผู้ว่าการด้านบริหารธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับธนาคารแห่งประเทศไทยกับบทบาทการพัฒนาภูมิภาคจากอดีตสู่อนาคต ภายใต้ “Digital Landscape“ และการบรรยายพิเศษจากผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมกับการเสวนาการเงินดิจิทัล การเงินเปลี่ยนโลกพลิกโฉมธุรกิจภูมิภาค นางวชิรา อารมย์ดี รองผู้ว่าการด้านบริหารธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่าการจัดงานครบรอบ 80 ปีของธนาคารแห่งประเทศไทยครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนซึ่งเป็นหน่วยงานที่ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่ง แบงก์ชาติได้ตระหนักถึงความสำคัญในการร่วมมือขับเคลื่อนเรื่องของเศรษฐกิจในภาคเหนือโดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้วางฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีทางการเงินได้เปิดช่องให้ข้อมูลเทคโนโลยีและด้านดิจิทัลผ่านการดำเนินงาน 3 ด้านได้แก่การเปิดให้มีการแข่งขันมากขึ้นทางการเงินตัวอย่าง Non Bank ที่สามารถเข้ามาให้สินเชื่อส่วนบุคคลมากขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการรายเล็กเข้าถึงในระบบด้วยเทคโนโลยีและข้อมูลในระบบ, การเปิดให้ผู้ประกอบการเข้าถึงโครงการพื้นฐานเปรียบเสมือนการสร้างถนนให้รถหลากหลายเข้ามาวิ่งซึ่งผู้โดยสารสามารถเลือกบริการต่างๆ ได้โดยใช้ถนนร่วมกันเป็นต้น ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จะทำให้ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์ในการทำรูปแบบการค้าดิจิทัล เพื่อจะทำให้ผู้ประกอบการปรับตัวในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ เช่นการออกคู่มือ […]

“บาทอ่อน” ทุนสำรองไทยหลุด 2.2 แสนล้านดอลลาร์

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานตัวเลขทุนสำรองทางการระหว่างประเทศรายสัปดาห์ ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2565 พบว่า ระดับทุนสำรองทางระหว่างประเทศทั้งสิ้น 2.18 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากสัปดาห์ก่อน(1 ก.ค.65) และเป็นการลดลงต่ำกว่าระดับ 2.2 แสนล้านบาทเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี หลังเงินบาทอ่อนค่าแตะ 36.75 บาทต่อดอลลาร์ อย่างไรก็ตามระดับทุนสำรองของไทย ณ สิ้นปี 2564 เคยสูงที่ระดับ 2.42 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ก่อนที่จะปรับลดลง โดยล่าสุด ณ วันที่ 3 มิ.ย. 65 เงินทุนสำรองทางการเคยอยู่ที่ระดับ 2.29 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่หลังจากนั้นทุนสำรองเริ่มลดลงต่อเนื่องเป็น 2.26 แสนล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ หลังจากเงินบาทอ่อนค่าลงตามลำดับก่อนจะทรงตัวที่ 2.21 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ 3 สัปดาห์และล่าสุดเหลือ 2.18 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้เชื่อว่า ทุนสำรองที่ลดลงอย่างรวดเร็ว อาจเกิดจากการที่ธปท.นำทุนสำรองเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาท เพื่อไม่ให้ผันผวนหรืออ่อนค่าลงแรงจนกระทบต่อผู้ส่งออกและนำเข้าที่ไม่สามารถโค้ดราคาได้ 

ผวา!! เงินบาทอ่อนในรอบ 16 ปี

วันที่ 15 ก.ค. นางสาวกฤติกา บุญสร้าง ผู้ชำนาญการงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย ได้ออกมาเปิดเผยว่า ผลพวงจากค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯที่แข็งตัว หลังเงินเฟ้อพุ่งสูงเกินที่คาดการณ์ ส่งผลให้นักลงทุนเทขายสินทรัพย์อื่นๆเพื่อเข้าไปถือเงินสกุลดอลลาร์แทน ส่งผลให้ค่าเงินบาทไทยอ่อนตัวลงสูงสุดในรอบ 16 ปี อยู่ที่ 36.65 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ “ตอนนี้ ดอลลาร์แข็งมาก หลังเงินเฟ้อออกมาเหนือกว่าคาด แทบทุกสินทรัพย์โดนขาย เงินไหลเข้าดอลลาร์ ทำให้เงินบาทอ่อนค่ามาก จากนี้ต้องรอดูแนวต้านที่ 36.75 บาท ว่าจะอยู่ไหม ถ้าไม่อยู่ อาจจะไปทดสอบระดับ 37 บาท ซึ่งต้องจับตาว่าธนาคารแห่งประเทศไทยที่เจอแรงกดดัน นอกจากต้องขึ้นดอกเบี้ยแล้ว อาจต้องเข้าดูแลค่าเงินด้วย” นางสาวกฤติกากล่าว ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ย เร่งสกัดเงินเฟ้อ

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. ได้ประเมินเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้าแต่เริ่มทยอยกลับมาและมีความต่อเนื่อง คาดว่าจีดีพีปีนี้จะขยายตัว 3.3% แต่โจทย์ใหญ่และน่าเป็นห่วงมากที่สุดคือภาคการท่องเที่ยว จากที่ผ่านมาได้รับผลกระทบมากที่สุด ซึ่งในตอนนี้ได้ผ่อนคลายมาตรการต่างๆและกิจกรรมเศรษฐกิจเริ่มฟื้นกลับมา โดย ธปท. คาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยปีนี้จะมี 6 ล้านคน ซึ่งหากทุกๆ 1 ล้านคนที่เพิ่มเข้ามาจะทำให้เพิ่มจีดีพีประเทศได้ 0.4% ทั้งนี้ภาคการท่องเที่ยวได้กระทบมากที่สุดในภาคใต้ เพราะส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคบริการ ซึ่งในเวลานี้คนรู้สึกเริ่มมีกิจกรรมเศรษฐกิจดีมากขึ้น ทำให้รายได้คนเริ่มกลับมา แต่ความเสี่ยงยังคงเป็นเรื่องเงินเฟ้อที่เพิ่มมากขึ้น จากเดือน มิ.ย. เงินเฟ้อทั่วไปสูงถึง 7.66% สูงกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 1-3% ซึ่งส่วนใหญ่มาจากสงครามและการคว่ำบาตรรัสเซียกับยูเครนทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบเงินเฟ้อสูง ซึ่งการดูแลเงินเฟ้อต้องเป็นแบบหยืดหยุ่น ไม่ได้บอกว่าเงินเฟ้อต้องอยู่ในกรอบทุกเวลา แต่ระยะปานกลางต้องกลับมาในกรอบ อาจหลุดบ้างบางช่วงเวลา นอกจากนี้ถ้าเครื่องยนต์เงินเฟ้อไม่ติด ราคาไม่ควรเพิ่ม และรอบนี้มาจากสงครามรัสเซียกับยูเครน แต่ธปท.จะจัดการให้เงินเฟ้อไม่ติด ต้องไม่ทำให้เงินเฟ้อเพิ่มเพราะถ้าเงินเฟ้อเครื่องติด จะทำให้ต้นทุนเพิ่มค่าแรงเพิ่ม หน้าที่ ธปท.คุมไม่ให้เครื่องยนต์เงินเฟ้อติด เพราะไปคุมราคาพลังงานในโลกไม่ได้ หน้าที่หลักของทุกธนาคารกลาง ทำอย่างไรยึดเหนี่ยวอย่าให้เงินเฟ้อหลุดไปจากกรอบเป้าหมาย กว่าจะดึงกลับมาเหนื่อยมาก โดยกลไกปกติ คือการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดูแลกรอบเงินเฟ้อ จึงต้องปรับนโยบายการเงิน ค่อยๆถอนคันเร่ง ทั้งฝั่งนโยบายเศรษฐกิจและการเงินให้กลับเข้ามาสู่ภาวะปกติ “ถ้าไม่เริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ เงินเฟ้อก็จะไปต่อ คนเดือดร้อนคือกลุ่มเปราะบาง ผมไม่เถียงถ้า ดอกเบี้ยขึ้น กระทบครัวเรือนและธุรกิจ เพราะครัวเรือนไทยมีหนี้สูง แต่ถ้าเงินเฟ้อเพิ่มจะกระทบหนักกว่า ค่าครองชีพเพิ่มผลกระทบครัวเรือนเปราะบางต่างๆ ผลกระทบทำให้ภาระหนี้ขึ้น และถ้าปรับขึ้นเร็วอาจทำให้เศรษฐกิจสะดุดได้ เหมือนกับการขึ้นเร็วแรงเหมือนเฟดซึ่งต่างบริบทกัน เราไม่ควรทำ จึงต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ปรับดอกเบี้ย และทำอย่างยืดหยุ่นเหมาะสม”

1 2