179

AWC ทุ่มงบ 1 หมื่นล้าน ปลุกชีพช้างคลาน สร้างแลนด์มาร์คแห่งใหม่ “Lannatique”

คืบหน้า “Lannatique” แลนด์มาร์คใหม่ ทุ่มทุนสร้างหมื่นล้าน พร้อมผุด “รถรางไฟฟ้า” วิ่งรอบเมืองเชียงใหม่ วันที่ 19 พฤษภาคม บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ได้เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการ Lannatique แลนด์มาร์คศิลปวัฒนธรรมแห่งใหม่ของเมืองเชียงใหม่ ที่ผสานอัตลักษณ์ล้านนาและเครือข่ายนานาชาติ เข้ากับศิลปะร่วมสมัยภายใต้แนวคิด “The Heart of Lanna Art Movement” ด้วยมูลค่าการลงทุนทั้งหมด 11,950 ล้านบาท ซึ่งจะประกอบไปด้วย Lannatique Kalare หมู่บ้านศิลปะวัฒนธรรมล้านนาสมัยใหม่ บนพื้นที่ 55,000 ตารางเมตร ซึ่งจะเปิดให้บริการเฟสแรกในปีนี้ , Lannatique Bazaar ครอบคลุมพื้นที่ศูนย์การค้ากว่า 22,500 ตารางเมตร ภายใต้แนวคิด Contemporary Art และ Lannatique Market ครอบคลุมพื้นที่ศูนย์การค้ากว่า 87,000 ตารางเมตร […]

สนค.เผยผลสำรวจภาระหนี้ พนักงานรัฐ เกษตรกร พนักงานเอกชน เป็นกลุ่มมีหนี้มากสุด

สนค.เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับภาระหนี้สิน ดีขึ้นเล็กน้อยจากผลสำรวจปี 66 พบพนักงานรัฐ เกษตรกร พนักงานเอกชน เป็นกลุ่มที่มีหนี้มากสุด จากการซื้อบ้าน รถยนต์ โดยเป็นหนี้ในระบบมากสุด และหนี้นอกระบบลดลงเล็กน้อย เผยกู้ยืมจากสถาบันการเงินเป็นส่วนใหญ่ ตามด้วยกู้บัตรเครดิต สหกรณ์ พร้อมขอรัฐช่วยเหลือต่อเนื่อง เน้นลดดอกเบี้ย พักหนี้         นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) และโฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนจำนวน 6,291 ราย เกี่ยวกับภาระหนี้สินของประชาชนในปี 2567 ที่ผ่านมา ว่า สถานการณ์หนี้สินของประชาชนดีขึ้นเล็กน้อยจากผลสำรวจปี 2566 และมีการลดลงของภาระหนี้นอกระบบ โดยกลุ่มอาชีพพนักงานของรัฐ เกษตรกร และพนักงานเอกชน เป็นกลุ่มอาชีพหลักที่มีสัดส่วนกลุ่มที่มีภาระหนี้มากที่สุด เช่นเดียวกับการสำรวจในรอบก่อนหน้า และผู้ตอบแบบสอบถามมีสัดส่วนความต้องการให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือในการลดอัตราดอกเบี้ยมากที่สุด           สำหรับรายละเอียดผลการสำรวจ ภาพรวมภาระหนี้สินของประชาชน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 50.99 มีภาระหนี้สินที่ต้องรับผิดชอบ ลดลงร้อยละ 62.52 จากผลสำรวจปี 2566 […]

เครดิตบูโร ชี้ หนี้เสียพุ่ง 1.22 ล้านล้าน มีคนไทยแค่ 25% ที่ขอสินเชื่อได้

นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ได้โพสต์เฟซบุ๊ก Surapol Opasatien ระบุ ท่ามกลางบทสนทนาเกี่ยวกับการซื้อๆขายๆสิทธิ​เรียกร้องหรือที่เรียกว่าหนี้สินระหว่างเจ้าหนี้เก่าไปยังเจ้าหนี้ใหม่(ถ้าจะมีเหตุการณ์​เกิดขึ้น)​ ผมขอดึงกลับมาที่สถานะของสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน​ ณ​ เดือนมกราคม​ 2568​ ให้เห็นก่อนว่า​ ข้อมูล, ข้อเท็จจริง​ เวลานี้มันเป็นอย่างไรกันบ้าง​ ข้อมูล​นี้ไม่มีเป้าหมายสนับสนุนคนเห็นด้วย​ คนเห็นต่าง​ แต่อยากเห็นการใช้ความรู้บนข้อมูล​ ไม่ใช่ใช้ความรู้สึกแบบไม่มีข้อมูล​นะครับ ภาพแรก​ เป็นภาพที่จัดทำโดยสถาบันวิจัยป๋วย​ ซึ่งมีนักวิจัยที่เก่งมากๆ​ ท่านเหล่านั้นได้นำข้อมูล​สถิติที่ไม่มีตัวตนจากเครดิตบูโร​จำนวนกว่า​ 27ล้านลูกหนี้​ ไปแยกแยะสุขภาพ​ทางการเงินจากภาระหนี้สินแบ้วนำไปนำเสนอในงานสัมนาวิชาการ​ ของธนาคารกลางปีที่แล้ว​ ข้อมูล​มันบอกว่า​ ในระบบการเงินของเราเวลานี้มีคนที่มีสุขภาพทางการเงินในระดับดี​ ซึ่งน่าจะพอยื่นกู้ได้เพียง​ 25%ครับ​ ที่เหลือก็ดูจะมีเงื่อนไขที่ดูจะยากในการได้รับอนุมัติตามมาตรฐานสินเชื่อในปัจจุบันที่เข้มถึงเข้มมาก​ ตามมาด้วยภาพที่สองซึ่งเป็นภาพใหญ่ของสินเชื่อในระบบที่มีการส่งข้อมูล​มาที่เครดิตบูโร​ทุกเดือน​ ตัวเลขคือ​ 13.6ล้านล้านบาท​ ถ้าบวกเพิ่มด้วยหนี้ที่สหกรณ์​ออมปล่อยกู้สมาชิกและกยศ.และอื่นๆก็จะไปอยู่ที่​ 16.3ล้านล้านบาทที่เราเรียกว่าหนี้ครัวเรือนนั่นเอง การเติบโตของหนี้ของบุคคลธรรมดาในระบบเท่ากับ​ -​0.5%yoy​ หมายถึงสินเชื่อรายย่อยมันแทบไม่ขยับ​ เราจึงเห็นการบ่นทั่วแผ่นดินว่ากู้ไม่ได้​ กู้ไม่ผ่าน​ อัตราการปฎิเสธการให้สินเชื่ออยู่ในระดับที่สูง​ หลายท่านคงเห็นด้วยกับผม​ ไปดูรายงานในหลายที่หลายแห่งก็พูดถึงการหดตัวของสินเชื่อรายย่อย, SMEs.​เป็นต้น เจาะลงไปในไส้ในของหนี้ของนาย-ก.นาย-ข.จะพบว่า 1.22​ ล้านล้านบาทเป็นหนี้เสีย​ NPLs คิดเป็นจำนวนทุกประเภทสินเชื่อ​ 9.5ล้านบัญชีครับ […]

คนไทยเป็นหนี้ทุกช่วงวัย วัยรุ่นสร้างครอบครัวแบกหนี้มากสุด

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics เปิดเผยว่า ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลบัญชีลูกหนี้ที่ไม่สามารถระบุตัวตน (Anonymous Account) มากกว่า 84 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้คงค้างกว่า 13.6 ล้านล้านบาท จากฐานข้อมูลของบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (NCB) โดยพบ 5 ประเด็นที่น่าห่วง  1.คนไทยเป็นหนี้ในระบบเกือบ 40% เฉลี่ยต่อคนเป็นหนี้เกิน 1 แสนบาท สัดส่วนประชากรไทยที่มีหนี้ในระบบเพิ่มขึ้น จาก 31% ของจำนวนประชากรทั้งหมดในปี 2561 เป็น 38% ในปี 2567 สะท้อนถึงจากการเข้าถึงสินเชื่อที่ง่ายขึ้น ยิ่งกว่านั้น สัดส่วนคนไทยที่มีหนี้เสียมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยพบว่า สัดส่วนคนไทยที่เป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้นจาก 17% ในปี 2561 เป็น 22% ในปี 2567 ขณะที่ยอดหนี้สินเฉลี่ยต่อผู้กู้ตลอดทุกช่วงอายุ ลดลงเล็กน้อยจาก 1.48 แสนบาท เป็น 1.18 แสนบาทต่อคน […]

ศูนย์วิจัยกสิกรฯ ชี้ปี 68 เศรษฐกิจไทยปั่นป่วน โตช้า ธุรกิจส่อเจ๊ง

10 ม.ค.68 รายงานจาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยบทวิเคราะห์ระบุว่า ปี 2568 เศรษฐกิจไทยปี 2568 คาดว่าจะเติบโตช้าลงกว่าปี 2567 เล็กน้อย ตามแรงหนุนท่องเที่ยว ส่งออกที่ลดลง ท่ามกลางความเสี่ยงสงครามการค้า การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีน และภาคการผลิตไทยที่ยังไม่ฟื้นตัว สงครามการค้ารอบใหม่คาดว่าจะส่งผลสุทธิเป็นลบต่อเศรษฐกิจไทย และเป็นความเสี่ยงสำคัญต่อแนวโน้มการส่งออกในปี 2568 โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 15 ประเทศที่สหรัฐฯ มีการขาดดุลการค้าด้วยสูงสุด ทำให้มีความเสี่ยงจะโดนมาตรการการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลกระทบทั้งทางตรงจากการส่งออกสินค้าไปตลาดสหรัฐฯ ลดลง และทางอ้อมจากการแข่งขันที่สูงขึ้นกับสินค้าจีนทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก   ปี 2568 จะยังเป็นปีที่ปั่นป่วนสำหรับภาคธุรกิจ นอกจากผลของสงครามการค้า มาตรการรัฐบางเรื่องอาจกระทบต้นทุน และประเด็นเชิงโครงสร้างสะสม ทำให้สถานการณ์โดยรวมคงไม่ดีขึ้นได้มากนักจากปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไทยจะยังฟื้นตัวต่างกัน และมีความเสี่ยงที่ผู้ประกอบการขนาดกลางลงล่างในภาคการผลิตจะลดจำนวนลงอีก นอกจากนี้ จะยังคงเห็นสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในไทยเติบโตอย่างช้าๆ และอยู่ในระดับต่ำในปี 2568 สอดคล้องกับหลายปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในภาพรวม เศรษฐกิจไทยปี 2568        เศรษฐกิจไทยปี 2568 คาดว่า จะเติบโตช้าลงกว่าปี 2567 เล็กน้อย ตามแรงหนุนท่องเที่ยว ส่งออกที่ลดลง ท่ามกลางความเสี่ยงสงครามการค้า การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีน และภาคการผลิตไทยที่ยังไม่ฟื้นตัวแรงส่งจากท่องเที่ยวต่อ GDP เริ่มลดลงหลังจำนวนเข้าใกล้ระดับก่อนโควิด โมเมนตัมการเติบโตของการท่องเที่ยวปี 2568 […]

SCB EIC คาดปีหน้า 2025 เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวต่ำลง

เศรษฐกิจโลกจะเริ่มเผชิญความท้าทายจากผลของนโยบาย Trump 2.0 ในปีหน้าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ยังคงอยู่ที่ 2.7% ตามที่ประเมินไว้เดิม โดยจะเติบโตชะลอลงแบบ Soft landing ในช่วงที่เหลือของปี แต่เครื่องชี้เร็วเริ่มสะท้อนความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เร่งตัวขึ้นมากหลัง Trump ชนะการเลือกตั้ง SCB EIC ประเมินว่า Trump จะมีอำนาจฝ่ายบริหารที่คล่องตัวขึ้น เนื่องจาก Republican sweep ทั้งสภาบนและล่าง ท่ามกลางระบบตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจสหรัฐฯ ที่อ่อนแอลงมาก อย่างไรก็ดี การกลับมาครั้งนี้ Trump จะต้องเผชิญบริบทโลกที่มีสภาพเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศท้าทายขึ้นกว่าสมัยแรก เช่น เงินเฟ้อและดอกเบี้ยสูงกว่า รวมถึงเกิดสงครามยูเครนและอิสราเอล ซึ่งอาจกระทบประสิทธิผลการดำเนินนโยบายชุดใหม่ของสหรัฐฯ ได้ SCB EIC จึงประเมินว่า Trump จะดำเนินนโยบายชุดใหม่อย่างมีกลยุทธ์ โดยเร่งดำเนินนโยบายในประเทศตามที่หาเสียงไว้ แต่อาจไม่ได้ทำนโยบายกีดกันการค้าแบบสุดโต่ง SCB EIC ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2025 จะขยายตัวต่ำลงเหลือ 2.5% (เดิม 2.8%) จากผลกระทบนโยบาย Trump 2.0 เป็นหลัก โดยมองสมมติฐานนโยบาย Trump 2.0 ในกรณีฐานไว้ดังนี้ […]

นทท.ต่างชาติแห่เที่ยวไทยทะลุ 30 ล้านคน ทำรายได้ 1.4 ล้านล้านบาท

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา รายงานสถานการณ์ประจำสัปดาห์ที่ 46 ของปี 2567 ผลการประเมินเบื้องต้นพบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มค. – 17 พ.ย. 67 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาสะสมแล้วกว่า 30 ล้านคน สำหรับในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดระยะใกล้ (Short haul) ฟื้นตัวด้านการเดินทาง โดยเดินทางเข้ามาเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.53 จากสัปดาห์ที่ผ่านมา จากการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลอยกระทงของนักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดหลัก อาทิ จีน และญี่ปุ่น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ขยับขึ้นมาเป็นกลุ่มที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเป็นอันดับที่ 1 โดยเดินทางเข้ามา 113.842 คน หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ10.37 จากสัปดาห์ก่อนหน้า ในขณะที่นักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดระยะไกล (Long haul) ยังคงเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาพรวมในสัปดาห์นี้มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งสิ้น 747,944 คน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า 11,808 คน หรือร้อยละ 1.60 คิดเป็นจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยเฉลี่ยวันละ 106,850 คน โดย 5 อันดับแรกของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ได้แก่ จีน […]

อบจ.แพร่ ร่วมประชุม คกก.ร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ภาคเหนือตอนบน ครั้งที่ 1/2568

วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2567 องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ โดยนายอนุวัธ วงศ์วรรณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ มอบหมายให้นายวีฤทธิ กวยะปาณิก เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ กรอ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ครั้งที่ 1/2568 โดยเสนอโครงการจัดทำแบบจำลองเพื่อคาดการณ์พื้นที่อุทกภัยจากน้ำฝนและน้ำท่าในพื้นที่ประชาชนหนาแน่นพื้นที่จังหวัดแพร่ เชียงราย พะเยา น่าน โครงการติดตั้งโทรมาตรเพื่อติดตามเฝ้าระวังและแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงการเกิดอุทกภัย ณ ห้องประชุมธรรมลังกา ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

“แอ่วเหนือ…คนละครึ่ง” กระตุ้นเศรษฐกิจภาคเหนือ ท่องเที่ยวฟรี 50%

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดตัวโครงการ “แอ่วเหนือ…คนละครึ่ง” เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการท่องเที่ยวใน 17 จังหวัดภาคเหนือ หลังจากประสบภัยน้ำท่วม โดยโครงการนี้จะให้ส่วนลด 50% สำหรับค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวสูงสุด 400 บาทต่อคน วิธีการเข้าร่วมโครงการ โครงการ “แอ่วเหนือ…คนละครึ่ง” เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 หรือจนกว่าสิทธิ์จะหมดลง จังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ เชียงราย, น่าน, พะเยา, เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน, แพร่, ลำปาง, ลำพูน, ตาก, อุตรดิตถ์, พิษณุโลก, สุโขทัย, เพชรบูรณ์, พิจิตร, กำแพงเพชร, นครสวรรค์ และอุทัยธานี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หมายเหตุ: ข้อมูลและภาพจาก Facebook: ททท.สำนักงานเชียงใหม่ – TAT Chiang Mai https://www.facebook.com/share/p/pcCiZkn1WHD2AxRe/

กกร. เผย 6 เดือนแรก ไทยขาดดุลจีนไปแล้วกว่า 1.9 หมื่นล้านดอลลาร์

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2567  นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้แก่ สมาคมธนาคารไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ เศรษฐกิจโลกยังคงอยู่ในภาวะชะลอตัว เครื่องชี้ด้านการผลิต PMI Manufacturing เดือนกรกฎาคมของประเทศหลักทั้งสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ต่างหดตัว โดยที่กำลังชื้อในประเทศของจีนยังชะลอตัว ขณะที่สหรัฐฯ กำลังเผชิญกับตลาดแรงงานที่แผ่วลงกดดันการบริโภคในระยะข้างหน้า กระทบกับครึ่งปีหลัง ถือเป็นความท้าทายต่อการส่งออกสินค้าของไทย ซึ่งขยายตัวได้เพียง 2% ในช่วงครึ่งปีแรก ขณะที่ภาวะตลาดการเงินโลกเกิดความผันผวน ทั้งเฟดส่งสัญญาณลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วและแรงขึ้น สวนทางกับธนาคารกลางญี่ปุ่นที่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยโดยรวมทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนแบ่งตลาดของสินค้าอุตสาหกรรมไทยในอาเซียนลดลง ส่วนแบ่งตลาดส่งออกในอาเซียนของไทยลดลงในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าจาก 7% (1Q/66) เหลือ 11.5% (1Q/67) และยานยนต์ลดลงจาก 20.9% (1Q/66) เหลือ 18.7% (1Q/67) เป็นผลจากที่จีนได้ส่งออกสินค้ามาแข่งขันในตลาดอาเซียนมากขึ้น โดยเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรม 6 เดือนแรกของปีหดตัว 1.8% นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงเพิ่มเติมจากการรุกตลาดอีคอมเมิร์ของสินค้าจีน เศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้ายังเปราะบางแม้การเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐจะเริ่มนำเม็ดเงินเข้ามาสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้น […]

อัตราว่างงานไทยต่ำ เล็งยกระดับกระทรวงแรงงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

อัตราว่างงานไทยต่ำ เล็งยกระดับกระทรวงแรงงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สนองนโยบายปรับขึ้นค่าจ้างดูแลคุณภาพชีวิตผู้ใช้แรงงาน นายภูมิพัฒน์ เหมือนจันทร์ โฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.รง. ติดตามสถานการณ์ด้านแรงงานอย่างใกล้ชิด โดยได้รับทราบรายงานสถานการณ์กำลังแรงงานของไทย ณ สิ้นเดือน ม.ค.2567 ว่า จำนวนผู้มีงานทำของไทยอยู่ที่ 39.13 ล้านคน จากจำนวนประชากรวัยแรงงานที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปทั้งหมด 58.18 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 66.52 หรือกล่าวอย่างง่ายว่าประชากรวัยทำงาน 100 คน จะมีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานประมาณ 67 คน แบ่งเป็น ผู้มีงานทำภาคเกษตร 10.38 ล้านคน และผู้มีงานทำนอกภาคเกษตร 28.75 ล้านคน โดยอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานขยายตัวสูงสุด 3 อันดับแรก เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.2566 ได้แก่ สำหรับจำนวนผู้ว่างงาน ณ สิ้นเดือน ม.ค.2567 มีประมาณ 4.32 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน ร้อยละ 1.09 […]

คมนาคมลงพื้นที่ ตรวจเส้นทางสร้างรถไฟฟ้าเชียงใหม่

วันที่ 8 มกราคม 2567 นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นางสาวณภัทรา กมลรักษา ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง) นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก และนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ลงพื้นที่ตรวจราชการและติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะทางราง ทางถนน และทางอากาศ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ รองผู้ว่าการ (กลยุทธ์และแผน) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และคณะผู้บริหาร รฟม. ร่วมลงพื้นที่ โดยคณะได้ลงพื้นที่สำรวจแนวเส้นทางรถไฟฟ้าในอนาคต ของโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ บริเวณสถานีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถานีศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมรับฟังบรรยายสรุปภาพรวมเกี่ยวกับโครงการฯ ทั้งนี้ นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในครั้งนี้ เป็นการติดตามการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งระบบขนส่งทางราง ทางถนน และทางอากาศ ซึ่งนับเป็นการบูรณาการภารกิจด้านการคมนาคมขนส่ง ภายใต้กำกับของกระทรวงในทุกมิติอย่างครอบคลุม เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางและระบบขนส่งสาธารณะในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เข้าด้วยกัน อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในพื้นที่และรองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในอนาคต […]

1 2 3 24