คณะ อคส.ลงพื้นที่ตรวจคลังสินค้าปลายทางที่ จ.ลำพูน

คณะ อคส.ลงพื้นที่ตรวจคลังสินค้าปลายทางที่ จ.ลำพูน หลังมีการประชุมชี้แจงขั้นตอนการขนย้ายข้าวสารในสต็อคของรัฐบาลเข้าสู่อุตสาหกรรม ที่ไม่ใช่การบริโภคของคน ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐ เพื่อวางมาตรการในการควบคุมในการขนย้ายข้าวสารออกจากคลังสินค้าต้นทางไปยังคลังสินค้าปลายทาง เพื่อเป็นไปตามวัตถุประสงค์ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้

เมื่อเวลา ๑๑.๐๐ น.วันที่ ๑๙ พ.ค.๖๐. นายมนัส อ่ำทอง รอง ผวจ.ลำพูน , นางสุเกวรินทร์ เหล็กนาพญา ผู้อำนวยการกลุ่มกำกับและพัฒนาเศรษฐกิจการค้า สนง.พาณิชย์ จ.ลำพูน และ พ.อ.นพดล คามเกตุ รอง เสธ.กกล.รส.จว.ล.พ. ร่วมให้การต้อนรับ พล.ต.ท. ไกรบุญ ทรวดทรง ประธานกรรมการ องค์การคลังสินค้า กระทรวงพาณิชย์ , น.ส.อมราภรณ์ สันติวงศ์ รองผู้อำนวยการ อคส. พ.ต.อ.รุ่งโรจน์ พุทธิยาวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวน ๒๐ คนลงพื้นที่ตรวจคลังสินค้าปลายทาง ที่ บ.เบทราโกรภาคเหนือ เกษตรอุตสาหกรรม จก.(มหาชน) เลขที่ ๑๐๐ ม.๔ ถนนเชียงใหม่-ลำปาง ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ลำพูน หลังมีการประชุมชี้แจงขั้นตอนการขนย้ายข้าวสารในสต็อคของรัฐบาลเข้าสู่อุตสาหกรรม ที่ไม่ใช่การบริโภคของคน ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐ เพื่อวางมาตรการในการควบคุมในการขนย้ายข้าวสารออกจากคลังสินค้าต้นทางไปยังคลังสินค้าปลายทาง เพื่อเป็นไปตามวัตถุประสงค์ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้

ทั้งนี้ ทาง อคส.ได้กำหนดขั้นตอนและมาตรการในการควบคุมการขนย้ายข้าวออกจากคลังสินค้าต้นทางไปจนถึงคลังสินค้าปลายทางที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมของผู้ชนะการประมูลข้าวสารในสต็อกของรัฐจำนวน ๙๐ คลัง ใน ๒๗ จังหวัด ปริมาณรวม ๑,๑๗๙,๓๗๙.๗๘๑๐๖๖ ตัน มูลค่า ๕,๗๙๖,๒๖๕,๒๑๗.๗๒ ล้านบาท (จำนวน ๑๒ ราย) เฉพาะของ จ.ลำพูนมีปริมาณข้าว ๑๕,๐๐๐ ตัน ตามที่ กรมการค้าต่างประเทศ เปิดประมูลข้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ไม่ใช่การบริโภคของคนเมื่อวันที่ ๒๓ มี.ค.๖๐. ที่ผ่านมา โดย บ. วี.ซี.เอฟ. กรุ๊ป จก. เป็นผู้ประมูลข้าวสารได้

สำหรับคลังสินค้าที่ปลายทาง จะต้องติดตั้งกล้อง CCTV และต้องรายงานข้อมูลสินค้า ผ่านเว็บไซต์ www.pwo.co.th เพื่อรายงานให้เจ้าหน้าที่ อคส.รับทราบ และเมื่อขนย้ายข้าวถึงสถานที่ปลายทางแล้ว อคส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสุ่มตรวจปริมาณข้าว อีกครั้งว่าตรงตามปริมาณการขนย้ายหรือไม่ หาก อคส.ตรวจพบว่าผู้ซื้อไม่นำเข้าสารเข้าสู่กระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมตามที่ได้แจ้งไว้ในวัตถุประสงค์ที่ขอซื้อจะต้องชำระค่าปรับ ๒๕% ของมูลค่าข้าวสารที่ไม่ได้นำเข้าสู่กระบวนการอุตสาหกรรม และหาก อคส.เลิกสัญญา ผู้ซื้อจะต้องเสียค่าปรับ ๒๕% ของมูลค่าปริมาณข้าวสารที่ยังไม่ได้รับมอบและขนย้าย รวมทั้งจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ทั้งทางแพ่งและอาญาด้วย ในการกำหนดขั้นตอนและมาตรการการควบคุม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้

ร่วมแสดงความคิดเห็น