เมืองจมน้ำ น้ำท่วมขังจนวิบัติ กรณีศึกษาทั่วโลกและที่เวียงกุมกาม

กรณีศึกษาวิจัยของ “รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ” หนึ่งในกรรมการภูมิศาสตร์โลก และผอ.ศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ ม.รังสิต ซึ่งได้ทุนจากธนาคารโลก ศึกษาประเด็น”อีก 10 ปีกรุงเทพอยู่ใต้บาดาล” มีความน่าสนใจด้วยสะท้อนหลักการจมหายของเมืองในบางพื้นที่ เกิดจากองค์ประกอบสำคัญๆคือ ปริมาณน้ำฝน การทรุดตัวของแผ่นดิน ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูง และผังเมืองในงานวิจัยของ รศ.ดร.เอกนรินทร์ อนุกูลยุทธยน จากคณะสถาปัตย์ ม.เกษตรฯ และอาจารย์ด้านภูมิสถาปัตย์ จาก ม.แม่โจ้ เชียงใหม่ หลายๆท่าน ยืนยันว่า ผังเมืองมีส่วนสำคัญกับการป้องกันและรับมือภัยพิบัติเหตุปัจจัยแห่งภัยพิบัติที่รุนแรงขึ้น ในวงจรธรรมชาติ คือมนุษย์ตัดไม้ ทำลายป่า บุกรุกป่าต้นน้ำจนแหล่งซับเก็บกักน้ำลดลงภัยน้ำป่าไหลหลาก แผ่นดินถล่มหายนะก็มาเยือน ซึ่งป่าภาคเหนือแทบจะเสื่อมสภาพการซับน้ำ ยกตัวอย่างเขื่อนภูมิพล ตาก ปริมาณน้ำกักเก็บ 13,462 ล้าน ลบ.ม. แต่ต้องรองรับน้ำที่เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า ในปัจจุบัน 47,117 ล้านลบ.ม. เขื่อนสิริกิตติ์ กักเก็บน้ำได้ตามที่กำหนด 9,510 ล้าน ลบ.ม. แต่ปริมาณน้ำเพิ่ม 38,040 ล้าน ลบ.ม. สูงถึง 4 เท่าจากปกติพิสูจน์ได้ด้วยสภาพน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 แม้จะพร่องน้ำออกมา แต่ปริมาณฝนที่ตกเหนือเขื่อนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้องระบายน้ำจากเขื่อน ไม่ให้เขื่อนแตกเมืองที่จะปลอดภัยจากภัยพิบัตินั้น จำเป็นต้องมีการจัดระเบียบ แบบแผนด้านการใช้พื้นที่อย่างเหมาะสม ต้องมีแผนผังเมืองที่สอดรับกับการพัฒนาที่มองอนาคต ความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ไม่อาจคาดเดาได้ ในอดีตการเปลี่ยนทิศทางของสายน้ำปิง ส่งผลให้ เวียงกุมกาม ราชธานีสมัยพระยามังรายที่สร้างเมื่อปีพศ. 1829 เผชิญกับปัญหาน้ำท่วม จนยากจะรับมือป้องกันได้ จนต้องย้ายเมืองหลวงใหม่ ซึ่งก็คือ นครเชียงใหม่ใน พ.ศ.นี้ข้อมูลศึกษา แนวโน้มเมืองที่จะจมใต้น้ำระดับ 160 เมตร ทั่วโลกในปีพศ.2563 จะมี 30 เมือง รวมถึงกรุงเทพ ซึ่งทรุดตัวปีละ2-3 ซม. คาดว่าไม่เกิน 20 ปี ถ้าไม่มีแผนป้องกัน น้ำจะท่วมขัง นานหนักกว่าที่เป็นอยู่ เมืองท่องเที่ยวดังๆเช่น เมืองเวนิช อิตาลี ทุ่มงบเกือบ3 แสนล้านล้านบาทกับโครงการกำแพงกันน้ำท่วมที่ชื่อว่า โมเซ่ รับมือกับระดับน้ำทะเลที่สูงเกินกว่าระดับปกติ 1.1 เมตร แถบเพื่อนบ้านใกล้เคียง ไม่ว่าจะที่ย่างกุ้ง เมียนมาร์ ,ฮานอย เวียดนาม ถึงช่วงฤดูฝนมาน้ำหลากท่วมมิดหลังคา ขยายวงกว้างในอาณาบริเวณน้ำท่วมเพิ่มเรื่อยๆพอๆกับนครเชียงใหม่ 2 ฝั่งลำน้ำปิง เขตเมือง เดิมมีแผนของบฯ 1.8 หมื่นล้านบาทเมี่อปี พศ. 2548 มาสร้างพนังป้องกันน้ำท่วมเขตเมืองเศรษฐกิจชั้นใน สามารถดำเนินการได้เพียงบางช่วง ในเขตนครเชียงใหม่ และย่านหนองหอย ป่าแดด ซึ่งคาดว่า การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในฤดูฝนที่จะมาถึงปลายเดือนพค.นี้ คงต้องหากระสอบมาบรรจุทราย วางเป็นแนวกั้นริมตลิ่ง ไม่ให้น้ำปิงไหลบ่าท่วมชุมชน ที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน แผนงาน 10-20 ปี อย่าไปคาดหวัง เพราะ “ท่วมหนักก็หนีไปอยู่เชิงดอย(สุเทพ) หรือขึ้นดอยสูงๆเข้าไว้ เชียงใหม่เมืองเดิม ที่เพิ่มเติมทุกฤดูฝนคือ พื้นที่น้ำท่วมขัง ท่วมนานและท่วมจนทุกข์บานตะไทกันถ้วนหน้า

ร่วมแสดงความคิดเห็น