เยือนแขวงแม่ท่าช้าง ท่องถิ่นพระพุทธศาสนาบ้านแหวนที่ วัดโขงขาว

แขวงแม่ท่าช้าง ชื่อเดิมของ อำเภอหางดง ดินแดนที่ยังคงเรื่องราวประวัติศาสตร์จากอดีตกาลยาวนานจนถึงปัจจุบันโบราณสถานวัดวาอารามจากแรงศรัทธาของชุมชนจากสมันโบราณจนกระทั่งที่ได้สร้างขึ้นใหม่จากแรงศรัทธามากมายถึง 75 วัด แต่ละแห่งทรงคุณค่าให้เราได้ค้นหาศึกษาเรียนรู้อำเภอหางดง มีถึง 11 ตำบล ตำบลบ้านแหวานนั้นมีวัดสำคัญๆถึง 9 วัด คือ 1. วัดชัยวุฒิ 2. วัดโขงขาว 3.วัดท้าวบุญเรือง 4. วัดช่างคำ 5. วัดดอนไฟ 6. วัดป่าหมาก 7. วัดเทพประสิทธิ์ 8. วัดวรเวทย์วิสิฐ 9.วัดจอมทอง วันเดียวเที่ยวไม่ทั่วในครั้งนี้เรามาเที่ยวไหว้พระนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธ์วัดโขงขาว
วัดโขงขาว ตั้งอยู่ 71 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

วัดโขงขาวแต่เดิมวัดนี้ชื่อใดไม่ปรากฏ แต่เป็นที่รู้จักในหมู่ชาวบ้านทั่วไปกันว่า วัดโขงขาว บางครั้งคนเมืองออกเสียงว่า โข่งขาว คำว่า โขง แปลว่า ซุ้ม หรือ อุโมงค์ คำว่า โขงขาว จึงหมายถึง ซุ้มสีขาว หรืออุโมงค์สีขาว เป็นคำเรียกประสาชาวบ้านตามลักษณะของวัดที่มีซุ้มหรืออุโมงค์สีขาว

เดิมพระอุโบสถเก่าของวัดโขงขามด้านหลังพระประธานจะมีช่องขนาดเท่าตัวคนลอดลงไปสู่ถ้ำเล็กๆได้ ปากทางเข้าคล้ายๆทางเข้าอุโมงค์เมื่อก่อนนั้นเป็นสีขาวๆภายในอุโมงค์ หรือ ถ้ำน้อยๆหลังพระประธาน นั้น ท่านเจ้าอาวาสพระครูปิยรัตน์(หลวงพ่อบุญรัตน์ กันตจาโร) ได้บูรณะพระอุโบสถสร้างพระสถูป หรือ เจดีย์สีทองงดงามครอบไว้เหมือนเดิม

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เคยเล่าว่า พระเจ้ารามราชแห่งอาณาจักรสุโขทัย เคยธุดงค์มาและพำนักบำเพ็ญธรรมอยู่ ณ วัดโขงขาวนี้ในช่วงสุดท้ายของท่าน ตอนนั้นท่านออกบวชถือศิลปะปฏิบัติธรรมธุดงควัตร นุ่งขาวห่มขาว ละเรืองราวทางโลก และเป็นผู้ทรงอภิญญาสมบัติ

ปัจจุบัน ปี พ.ศ.2540 วัดโขงขาวพัฒนาเจริญรุ่งเรืองไปมากจากเดิมมีพื้นที่ 2 ไร่เศษ ได้ขายเพิ่มเป็น 14,463 ตารางวา พร้อมกับอาคารสิ่งก่อสร้างอีกมากมาย เช่น พระเจดีย์ กุฏิพักสงฆ์ หอฉัน ศาลาพระราชพรหมยาน ศาลารายรอบพระอุโบสถ กำแพงวัดก่อสร้างด้วยศิลาแลง พร้อมตกแต่งสถานที่วัดให้สะอาดร่มรื่น สิงห์ ที่นั่งชูคอสง่างามที่ซุ้มประตูกว้าเข้าสู่วัดหันหน้าไปยังเทือกเขาถนนธงชัยที่อยู่อีกฝาก เนื่องจากอารยธรรม ตลอดจนศิลปกรรมรับอิทธิพลมาจากพม่าได้แผ่ขยายเข้ามาหลังจากล้านนาได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจพม่ารูป นรสิงห์ ซึ่งพม่าเรียกว่า มนุษย์สิงห์

พอผ่านซุ้มประตูสิงห์เข้าสู่ลานกว้างของวัด มีวิหาร วิหารพระราชพรมยานไพศาลภาวนานุสิฐเยาลักษณ์มิตรศรัทธา ทางทิศใต้ของวัด วิหารร่วมสมัยที่มีคติการสร้างไว้อย่างแยบยลที่ให้เราได้ค้นหาคติธรรมที่แฝงอยู่ในนั้น วิหารสีทองอร่ามตกแต่งด้วยปูนปั้นและกระจกสีลวดลายวิจิตรตระการตา ที่ยามต้องแสงส่งประกายระยับระยับ หลังคาทรงจั่วซ้อน 3 ชั้น

นาค หน้าประตูเข้าวิหารนาควัดโขงขาวตัวสีทองมี 5 หัว ลำตัวถูกมกรกลืนกิน หรือมองดูอีกที่จะเป็นมกรคายนาคออกจากปากออกมาก็ว่าได้ ในสมัยพระพุทธกาล มีพญานาคตนหนึ่งนั่งฟังธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้วได้เกิดศรัทธา จึงได้แปลงกายเป็นมนุษย์ขอบวชเป็นพระภิกษุ แต่อยู่มาวันหนึ่งเข้านอนในตอนกลางวัน หลังจากหลับแล้วมนต์ได้เสื่อมกลายเป็นงูใหญ่ ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงทราบจึงให้พระภิกษุนาคนั้นสึกออกไป เพราะเป็นสัตว์เดรัจฉาน นาคตนนั้นผิดหวังมาก จึงขอถวายคำว่า นาค ไว้ใช้เรียกผู้ที่เข้ามาขอบวชในพระพุทธศาสนา จนเห็นนาคเป็นสัญญาลักษณ์อยู่ทั่วไปในพระพุทธศาสนา

สามเณร ค่อยๆเปิดประตูบานใหญ่ออกมีความสูง 2 เท่าของคนเรา ลงรักปิดทองรูปเทวดาที่บานประตูซ้าย-ขวา แสงสว่างจากภายนอกเผยให้เห็นความสวยงามภายในวิหาร พระประธานปางมารวิชัยทรงเครื่องทรง มีลักษณะทางพุทธศิลป์อันงดงาม ด้านหลังพระประธานเป็น ภาพเขียนพระธาตุประจำราศีต่างๆทั้ง 12 ราศี ล่องลอยเหนือพระประธานเหมือนๆอยู่บนชั้นฟ้าดาวดึงส์ และทางซ้าย-ขวา มีรูปปั้นรูปเหมือนของ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง ก้าวออกจากภายในวิหาร
เดินต่อยังลานโพธิ์ ปูด้วยอิฐที่ชุ่มไปด้วยน้ำฝนมีพืชชั้นต่ำมอสส์สีเขียวๆต้นจิ๋วๆแทรกขึ้นร่อยต่อระหว่างอิฐเหมือนกับผืนพรมธรรมชาติ ที่ลานต้นโพธิ์ มีตู้หนังสือธรรมะหลายๆเล่มเรียงวางไว้ ให้ผู้มาเยี่ยมเยือนวัดได้หยิบอ่าน

ศาลลาจัตุรมุข ที่มีลักษณะเป็นศาลาที่มีมุขยื่นออกมาทั้ง 4 ด้าน ส่วนกลางศาลาทรงจั่ว 2 ชั้น ทางด้านหลังมี เจดีย์ปิดด้วยทองจังโก ทางด้านทิศตะวันขึ้นเป็นที่พักพระภิกษุสามเณรหลบความวุ่นวายสับสน ไปค้นหาความวิเวกเงียบสบง บังก่อเกิด สมาธิ แห่ง ปัญญาที่ได้มาเที่ยววัด
การเดินทาง : จากสนามบินเชียงใหม่ มาระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร เลี้ยวเข้าถนนซอยทางเข้าบ้านท้าวบุญเรือง แล้วมาตามเส้นทางอีกประมาณ 15 นาที ก็จะผ่านเข้าใบบริเวณวัดโขงขาว เข้าถึงหน้าวัดเลย

ร่วมแสดงความคิดเห็น