“ภูมิพลมหาราชา” พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงงานหนักที่สุดในโลก

แหล่งศึกษาวิจัย ในพื้นที่ทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือที่ชาวเหนือเทิดทูนในนาม”ในหลวง”

8-jpg

 

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จากทุนเริ่มต้น 1,500 บาทเมือปีพุทธศักราช 2512 ซึ่งเป็นพระราชทรัพย์พระบาทสมเด็จ
พระราชทานซื้อที่ดินจากชาวไทยภูเขา 10 ไร่ จัดสร้างเป็นสถานีวิจัยพืชเมืองหนาว เรียกกันตอนนั้นว่า “สวนพันห้า”
ใครเลยจะรู้ว่า ถัดจากนั้นมาไม่นาน “สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ” จากพื้นที่ 10 ไร่ และเพิ่มเป็น 350
ไร่กลายเป็น สถานที่เพาะพันธุ์ เพาะปลูกไม้เมืองหนาวสารพัดพันธุ์ ทั้งไม้ดอก ไม้ผล
ว่ากันว่า ครั้งหนึ่งในชีวิต ถ้าคิดเดินทางมาเชียงใหม่ หากเดินทางมานมัสการ กราบไหว้ขอพรพระ
บรมธาตุดอยสุเทพฯ ไม่เดินทางมาสัมผัส สถานที่ราว สวรรค์บนผืนแผ่นดินไทย ไม่ถึงเชียงใหม่
มากมายหลายห้องทดลองของ”พระเจ้าแผ่นดิน” สู่โครงการพระราชดำริ โครงการหลวง ฯลฯ
โครงการเพื่อพลิกฟื้นคืนความมั่นคง มั่งคั่งในคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงวางรากฐานการพัฒนาให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่าง ” พออยู่พอ
กิน” และพอเพียง หลุดกรอบของการยึดติดกับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
บนเนื้อที่ 8,500 ไร่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า “ให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทำหน้าที่เสมือน “พิพิธภัณฑ์ ธรรมชาติที่มีชีวิต” หรืออีกนัย หนึ่งเป็นพื้นที่ “สรุปผลการพัฒนา” ที่ประชาชนจะเข้าไปเรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้”
จากพื้นที่สัมปทานไม้หมอนรถไฟ สู่การศึกษาสำรวจพื้นที่ ความเป็นไปได้ในการพัฒนา จากการที่ได้รับ
พระราชดำริ เมื่อวัน11 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ที่พระราชประสงค์ที่จะให้เป็นศูนย์กลางในการศึกษา ทดลอง ที่เหมาะสมกับพื้นที่ภาคเหนือ
คณะทำงานต่างสรุปในแนวทาง ยากต่อการพลิกฟื้น ผืนแผ่นดินที่ร่ำๆจะเป็นทะเลทราย ด้วยผลการสำรวจ
เมื่อปี 2526 สภาพดินเป็นดินหินกรวด มีหน้าดินตื้นไม่เหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ต่อการเกษตรกรรม มีสภาพแห้งแล้ง ขาดความชุ่มชื้น
ธรรมชาติต้องเผชิญกับไฟไหม้ป่า ในทุกๆปี
ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ใดๆที่จะ เอื้อให้้ทำการเพาะปลูกได้
พระองค์ทรงตรัสว่า” ฉันจะทำให้ได้”
ที่นี่กลายเป็น 1 ใน 6 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั่วทุกภูมิภาค เป็นศูนย์กลาง
แบบเบ็ดเสร็จที่มีการศึกษาทดลองและสาธิตในลักษณะสหวิทยาการเสมือนหนึ่งพิพิธภัณฑ์- ธรรมชาติที่มีชีวิต สำหรับราษฎรได้มีโอกาส
เข้ามาศึกษาเรียนรู้แล้วนำไปปฏิบัติได้
เข้ามาศึกษา เรียนรู้ได้ ในทุกความต้องการ สำหรับความเป็น”มนุษย์”
พื้นที่ดำเนินงาน จากศูนย์ฯห้วยฮ่องไคร้ ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ขยายองค์ความรู้สู่พื้นที่หมู่บ้านราย
รอบศูนย์ฯ กว่า18 หมู่บ้าน
และนำไปสู่โครงการบริการการพัฒนาในระดับพื้นที่ 5 แห่ง ประกอบด้วยโครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปิง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอจอมทอง ,อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
ศูนย์บริการการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอหางดง จังหวัด
เชียงใหม่
โครงการพัฒนาพื้นที่ห้วยลาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
พื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
พื้นที่หมู่บ้านในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดอื่นในภาคเหนือที่ีเกษตรกรสนใจ เข้ามาเรียนรู้และนำไป
ปฏิบัติ
ฯพณฯ พลเอกเปรม ตินณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี กล่าวให้เห็นเป็นภาพเด่นชัด
ตราบจนวันนี้ความที่ว่า “…ทรงปลูกแผ่นดิน ปลูกความสุข ปลดความทุกข์ของราษฎร”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกฝังแนวพระราชดำริให้ประชาชนยอมรับไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดย
ให้วงจรการพัฒนาดำเนินไปตามครรลองธรรมชาติ กล่าวคือ ทรงสร้างความตระหนักแก่ประชาชนให้รับรู้
ทุกครั้งเมื่อเสด็จฯไปทรงเยี่ยมประชาชนในทุกภูมิภาคต่าง ๆ จะทรงมีพระราชปฏิสันถารให้ประชาชนได้
รับทราบถึงสิ่งที่ควรรู้ เช่น การปลูกหญ้าแฝกจะช่วยป้องกันดินพังทลาย และใช้ปุ๋ยธรรมชาติจะช่วยประหยัดและบำรุงดิน การตัดไม้ทำลาย ป่าจะทำให้ฝนแล้ง เป็นต้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดประกายระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง 
ซึ่งมีหลัก” ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลด ละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพอย่างจริงจัง ประกอบ
อาชีพด้วยความสุจริต
ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางในชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก”ให้ทุกคนพยายามที่ จะหาความรู้ และสร้างตน
เองให้มั่นคงนี้เพื่อตนเอง เพื่อที่จะให้ตัวเองมีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้า ที่มีความสุข พอมีพอกิน”และ ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดีลดละสิ่งยั่วกิเลส
ให้หมดสิ้นไป ทรงย้ำว่าคำสำคัญที่สุดคือ คำว่า “พอ” ต้องสร้างความพอที่สมเหตุสมผลให้กับตัวเองให้ได้และเราก็จะพบกับความสุข

9-jpg
“ เมื่อบ้านต้องมีเสาเอกฉันใด บ้านเมืองย่อมจะต้องมีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจฉันนั้น ”
“ ในบ้านเมืองนี้มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครสามารถจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การ
ปกครองบ้านเมืองให้เป็นปกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่อยู่ที่
การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่ การส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี
ไม่ให้มีอำนาจ ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้ ”

2-jpg
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงเป็นแบบอย่างที่ดีของพุทธศาสนิกชน ทรงยึดมั่นในหลักธรรมไม่ว่าจะ
เป็นทศพิธราชธรรม – จักรวรรดิวัตร -ราชสังคหวัตถุ และละเว้นจากอคติทุกประการ
นับตั้งแต่พระองค์ตั้งพระราชสัตยาธิษฐานในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกว่า “ เราจะปกครองแผ่นดิน
โดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม ”
พระองค์ได้ทรงปฏิบัติอย่างเคร่งครัดทุกประการ ในสายตาของฉันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
“ภูมิพลมหาราชา”ทรงเป็น พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงงานหนักที่สุดในโลก

3-jpg

ปฐมโองการ ครองแผ่นดิน เอกบดินทร์ จอมราชา
ประโยชน์สุขเพื่อประชา ใต้ร่มฟ้า พระบารมี
เถลิงราชย์เฉลิมรัฐ เฉลิมฉัตรมงคลศรี
สุขเย็นยิ่งทั่วปฐพี องค์ภูมี”มหาราชา”
1-jpg
ด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า
หนังสือพิมพ์ เชียงใหม่นิวส์

ร่วมแสดงความคิดเห็น