นักศึกษาจีนแห่เรียนหลักสูตรแลกเปลี่ยนในเชียงใหม่

ผู้บริหารสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาหลายแห่งในเชียงใหม่ กล่าวว่า โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา (นศ.)ได้รับความสนใจจากเด็กจีนเพิ่มมากขึ้น โดยสนใจมาเรียนภาษาไทยและด้านบริหารธุรกิจ
“เท่าที่สอบถามนักศึกษา ส่วนใหญ่ มองอนาคตว่าศักยภาพเชียงใหม่ สามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจได้สูง ดังนั้นการเพิ่มทักษะด้านการสื่อสาร จึงเป็นเรื่องจำเป็น และจากการติดตาม ประเมินผลพบมีการลงทุนธุรกิจในพื้นที่หลากหลาย ทั้งการท่องเที่ยว การค้านำเข้า ส่งออก บางกลุ่มทำการตลาดกระจายสินค้าจากจีนตามแหล่งค้าชั้นนำของเมือง เช่น กาดนวรัฐ,กาดหลวง”
ด้านรศ.รอุษณีย์ คำประกอบ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวต่อสื่อว่า ปัจจุบัน มีนักศึกษาต่างชาติเรียนในมช.รวม 1,058 คน ตั้งแต่ปริญญาจีน-โท-เอกและในกลุ่มนี้เป็นนักศึกษาจีน688 คน หลักสูตรที่สนใจศึกษาจะเป็น มนุษยศาสตร์, เศรษฐศาสตร์และวิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี ในแต่ละปียังมีที่เข้ามาเรียนในคอร์สพิเศษระยะสั้นอีกราว 1,000 คน/ปี ระดับปริญญาโทที่นักศึกษาจีนสนใจมาก คือ หลักสูตรพยาบาล
ในขณะที่ คณะกรรมการ การอุดมศึกษา ระบุกลุ่มมหาวิทยาลัยในไทย ทั้งในกำกับของรัฐ,ม.ราชภัฎและของรัฐ ตลอดจนเอกชน มีความพยายามปรับแผน ปรับหลักสูตรนำเสนอ เพื่อตอบโจทย์ตลาดนักศึกษาต่างชาติมากขึ้น เพราะนักเรียน นักศึกษาจีน สนใจมาเรียนในไทยกันสูงขึ้น เท่าที่ทราบข้อมูลเฉพาะเชียงใหม่ก็ร่วมๆ 7 พันกว่าคน
นายเอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่าหลักเกณฑ์การรับนักเรียน(นร.) ปีการศึกษา 2563สพฐ. กำลังกำหนดความชัดเจนของแผนการรับนักเรียนในเขตพื้นที่บริการและ โรงเรียนที่แข่งขันสูง ส่วนโครงการแลกเปลี่ยนนั้น ขึ้นอยู่กับสถานศึกษาแต่ละแห่งจะพิจารณาความเหมาะสม
นักวิชาการศึกษา ม.เอกชนชื่อดัง ในเชียงใหม่ กล่าวว่า จากการศึกษาวิจัย พลวัฒน์ของกลุ่มนักเรียนนักศึกษาจีน แห่มาเรียนในไทยโดยเฉพาะที่เชียงใหม่ ปัจจัยหลักส่วนหนึ่งเกิดขึ้นด้วยนโยบายของรัฐบาลกลางจีน ที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยน พ่วงนัยยะการลงทุน การค้า ประกอบกับต้นทุนค่าใช้จ่ายในการศึกษาที่เชียงใหม่ เมื่อเทียบค่าเงินหยวนกับบาทถือว่าได้เปรียบ

กลุ่มโรงเรียนนานาชาติ ในเชียงใหม่ ยืนยันข้อมูลว่า กลุ่มตลาดจีนเพิ่มต่อเนื่อง แม้ค่าเทอมจะเป็นหลักแสนบาท และผลบวกที่เกิดขึ้นคือ อสังหาริมทรัพย์ ประเภทคอนโดฯ ได้อานิสงน์ จากการที่ผู้ปกครองชาวจีน ซื้อไว้ให้ลูกหลานอยู่อาศัยระหว่างมาเรียนที่เชียงใหม่ด้วย
จากเดิมที่มีตัวกลาง นายหน้า จัดหาที่เรียน ก็ปรับรูปแบบ มาสู่วิธีการร่วมเป็นพาร์ตเนอร์กับมหาวิทยาลัยในจีน เพื่อแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างกัน ทั้งให้ทุน และโครงการแลกเปลี่ยน แม้บางแห่งจะพยายามเปิดโอกาสร่วมทุน แต่การเจรจายังไม่ได้ข้อสรุป เท่าที่ลงตัวแล้วจะมีม.เกริก ส่วนในเชียงใหม่ยังไม่ทราบความคืบหน้าว่า ม.ดังย่านหางดงเจรจาได้ข้อยุติระดับใด
” ประเด็นกลุ่มทุนจีนสนใจจะเทคโอเว่อร์ สถานศึกษาดังๆในเชียงใหม่ การเจรจายังไม่มีความคืบหน้าใดๆ นอกจากจะเป็นการเพิ่มขึ้นของโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนักศึกษาจีนกับไทย มากกว่า “

ร่วมแสดงความคิดเห็น