รู้จัก “เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์” วัดร่องขุ่น

วัดร่องขุ่นเริ่มเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป เมื่ออาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ผู้มีเลือดเนื้อเชื้อไขเป็นคนบ้านร่องขุ่นโดยกำเนิดมีดำริจะบูรณะวัดขึ้นมาใหม่โดยใช้ความรู้ด้านศิลปะร่วมสมัยที่ได้ร่ำเรียนมา ดังนั้นเมื่อสร้างวัดร่องขุ่นได้ไม่นานวัดแห่งนี้ดูเหมือนจะกลายเป็นวัดเดียวในประเทศไทยที่มีรูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น งดงาม อ่อนช้อยเหนือคำบรรยายอาจารย์เฉลิมชัย เกิดและเติบโตขึ้นที่บ้านร่องขุ่น ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย หลังจากที่จบการศึกษาระดับมัธยมปลาย จึงได้เข้าศึกษาต่อที่สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเพาะช่าง จากนั้นจึงได้เบนชีวิตข้ามฟ้าข้ามทะเลไปวาดรูปอยู่ที่ลอนดอนเป็นเวลา 4 ปีก่อนที่จะกลับสู่อ้อมกอดแผ่นดินเกิดเมื่อ ปี พ.ศ.2531
เฉลิมชัยเริ่มเป็นที่รู้จักมักคุ้นในแวดวงศิลปะเมื่อภาพวาดของเขาได้รับการกล่าวขานว่าเป็นภาพวาดที่สวยงาม อ่อนช้อย แสดงออกถึงพลังที่มาจากจิตวิญญาณของศิลปิน เฉลิมชัย เล่าว่า “หลังจากที่ผมกลับมาถึงประเทศไทย จึงนึกถึงสัญญาที่เคยให้ไว้กับหลวงพ่อว่าจะสร้างวิหารวัดร่องขุ่นขึ้นใหม่ จึงได้ร่วมกับชาวบ้านรื้อวิหารหลังเก่าที่ทรุดโทรมก่อสร้างวิหารวิหารหลังใหม่ในรูปแบบของศิลปะไทยล้านนาร่วมสมัย เพื่อสืบสานศิลปะไทยล้านนาให้กับแผ่นดินเกิด สร้างไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาศิลปะยุคใหม่ โดยไม่มีการลอกเลียนแบบมาจากที่ใดแบบงานสร้างสรรค์ที่ใช้ความละเอียดอ่อน ผสมผสานกับศิลปกรรมและประติมากรรมเพื่อให้เป็นพุทธศิลป์ที่งดงามที่สุดในล้านนาหรือในประเทศไทย” เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 เป็นคนบ้านร่องขุ่น ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมือง จ.เชียงราย โดยกำเนิด  อ.เฉลิมชัย เป็นบุตรของนายไพศาล นางพรศรี โฆษิตพิพัฒน์ จบการศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนบัวสลี บ้านร่องขุ่น ก่อนเข้าไปเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนดรุณศึกษา จังหวัดเชียงราย จากนั้นได้ไปศึกษาต่อระดับปวช. ที่วิทยาลัยเพาะช่าง กรุงเทพฯและศิลปบัณฑิตศิลปไทย (รุ่นแรก) จากคณะจิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากรปีพ.ศ. 2520 เริ่มแสดงผลงานของตัวเองโดยใช้เวลาในการสร้างผลงานเข้าร่วมประกวดแค่ 3 ปีแล้วหันมาใช้ชีวิตศิลปินอิสระสร้างผลงานให้กับตัวเองและส่วนรวม เป็นอาจารย์วิทยากรพิเศษและสัมมนาศิลปะกว่า 50 สถาบัน ผลงานและรางวัล ได้รับรางวัลที่ 1 เหรียญทองในการประกวดจิตรกรรมบัวหลวง รางวัลเกียรตินิยมอันดับที่ 3 ในการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 25 เครื่องหมายเกียรติคุณบุคคลตัวอย่าง ผู้สร้างงานวัฒนธรรมด้านจิตรกรรมจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ โล่เชิดชูเกียรติ “เพชรสยาม” สาขาจิตรกรรม จากสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศิลปากร
บทความโดย
จักรพงษ์ คำบุญเรือง

ร่วมแสดงความคิดเห็น