เชียงตุง-เชียงใหม่ สายสัมพันธ์แผ่นดินเดียวกัน

เมื่อศึกษาประวัติศาสตร์ระหว่าง “เชียงตุง” กับ “เชียงใหม่ ” ยิ่งพบเห็น บริบทความเป็นไปของ 2 เมือง 2 แผ่นดินมีหลายๆด้านคล้ายคลึงกันเคยเป็นส่วนหนึ่งของพม่า แต่แตกต่างที่ในอดีตเชียงใหม่ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งในอาณานิคมอังกฤษ เพราะมีสถานะเป็นเมืองประเทศราชแผ่นดินสยามช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลไทย จัดตั้ง เมืองเชียงตุง หลังการเข้ายึด เป็นจังหวัดหนึ่งของไทย ชื่อว่าสหรัฐไทยเดิม ภายหลังสงคราม (พ.ศ.2488)ยุติ ได้ส่งมอบให้ สหประชาชาติ ซึ่งอังกฤษได้เข้ามามีบทบาทต่อพม่าและเชียงตุงอีกครั้ง
จนกระทั่งพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อ 4 มกราคม 2493 เชียงตุงจึงถูกผนวกเข้าอยู่ภายใต้การปกครอง ต่อมาปี พ.ศ. 2505 พม่าใช้ระบบสังคมนิยมบริหารประเทศ เชียงตุงชึ่งเคยมี”ระบบเจ้าฟ้า”ปกครองต้องสิ้นสุดลง ระหว่างปี พ.ศ. 2101-2317 พม่าปกครองแผ่นดินล้านนาและพระเจ้ากาวิละ ผู้ครองนครเชียงใหม่สวามิภักดิ์พระเจ้าตากสิน รวมทัพขับไล่พม่าไปจาก เชียงใหม่สำเร็จราวๆพ.ศ. 2317 วิถีความเป็นอยู่ ยุคพม่าครองเชียงใหม่ ย่อมก่อเกิดรูปแบบผสมผสานความเป็นพหุสังคม รังสรรค์ศิลปะ วัฒนธรรม สิ่งปลูกสร้างต่างๆจากเบ้าหลอมความเป็นพม่า สืบต่อกันร่วมร้อยกว่าปีแน่นอน ไม่แตกต่างจากเชียงตุง เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2540 รัฐบาลไทยกับรัฐบาลพม่าได้ร่วมทำข้อตกลงว่าด้วยการข้ามแดน ส่งผลให้ผู้คน2 แผ่นดิน บ้านพี่เมืองน้องไปมาหาสู่กันได้สดวกราบรื่น
“เชียงตุง” ( Keng Tung) เป็นรัฐไทใหญ่ อยู่ในรัฐฉานของพม่า รุ่งเรืองเทียบเท่าเมืองเชียงใหม่ยุคล้านนาไทย และเมืองเชียงรุ่งแห่งสิบสองปันนา ได้รับสมญานามว่า เมืองแห่ง 3 จอม 9 หนอง 12 ประตู ซึ่ง จอม หมายถึง เนินเขา เช่น จอมทอง (จอมคำ) ที่ตั้งของวัดพระธาตุจอมคำ หนอง คือ หนองน้ำ ปัจจุบันเหลือเพียงหนองตุง ส่วนประตู คือ ประตูเมืองซึ่งปัจจุบันเชียงตุงเหลือเพียง ประตูป่าแดง และหนองผาเหตุการณ์เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกยน 2534 ที่มีการทุบทำลาย หอคำหลวงเชียงตุงและราวๆปี 2540ได้สร้างโรงแรมขึ้น คือจุดเริ่มความเปลี่ยนแปลงในเชียงตุง แม้จะไม่มีกิจกรรม ส่งเสริมการท่องเที่ยวขนานใหญ่แบบเชียงใหม่ ที่เป็นเมืองท่องเที่ยวติดอันดับโลก ด้วยมูลค่าการตลาดรายได้ปีละเกือบแสนล้านบาท กับจำนวนนักท่องเที่ยวร่วมๆ10 ล้านคนต่อปี
แต่ มนตราของ”เชียงตุง” คือภาพจำลองของเชียงใหม่ ก่อนปี 2500 ระยะทางกว่า 288 กม. จากเชียงใหม่ บนเส้นทางท่องเที่ยวแผ่นดินเดียวกัน ห้วงทศวรรษที่ผ่านมา สดวกสบาย มีสายการบินให้เลือก พร้อมๆเดินทางรถโดยสารที่บขส.พยายามขับเคี่ยวเปิดเส้นทาง กรุงเทพ-เชียงใหม่-เชียงตุงความนิยมเดินทางของนักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่จะเป็น กลุ่มคนไทย ที่ยังหลงไหลความงดงามในอดีตของเชียงใหม่ ครั้ง 50 ปีที่ผ่านมา พากันเดินทางไปเที่ยวไม่ขาดสาย รถตู้แบบเหมา รถเก๋งแบบเหมา จากท่าขี้เหล็กไปเชียงตุง ใช้เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง คนละ 550 บาท รถบัสประจำทาง 5 ชั่วโมง คนละ 400 บาท ที่พักสนนราคาหลักร้อยบาท มีให้เลือกตั้งแต่โรงแรม -เกสต์เฮ้าส์ และรีสอร์ทเพียบ
บรรยากาศ วิวหนองตุงยามเช้า-เย็น ,กาดดอยเหมย ,บ้านพักตากอากาศทหารอังกฤษ, หมู่บ้านยางเกี๋ยง ,หนองเงินหลายๆหมู่บ้าน รวมทั้งวัดไม่ว่าจะเป็นวัดพระเจ้าหลวง ,คุ้มเจ้าฟ้า ,กาดหลวงเชียงตุง ประตูเมืองป่าแดง สีสันเมืองแบบสโลว์ไลฟ์ชนบท เชียงใหม่เมื่ออดีต ค่าใช้จ่าย ที่ยังไม่สูงลิ่ว คือแรงดึงดูดทัวร์ต่างถิ่นปัจจุบันเริ่มพบเห็นการพัฒนา ปรุงแต่งสีสันพื้นที่เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว ทั้งสร้างห้างสรรพสินค้าใหญ่ เปิดสถานที่บริการอาหาร ที่พัก ในชุมชน ไม่แตกต่างจากบริบทที่เชียงใหม่เคยเริ่มต้น อาจจะแตกต่างตรงที่ การเข้าออก เดินทางข้ามแดน มีกฎกติกา เข้มงวดกวดขันในแบบพม่า ไม่ใช่แบบไทยๆ ซึ่งเป็น
อีกเสน่ห์ที่เร่งเร้าให้เข้าใจว่า ไปยากไปเย็นแบบนี้ต้องมีอะไรเด็ดๆ กอร์ปกับ เส้นทางลงทุน ที่ กลุ่มจีน มุ่งสู่เชียงใหม่มากกว่า เชียงตุงบนเส้นทาง บ้านพี่เมืองน้อง “เชียงตุง-เชียงใหม่” จึงเป็นอีกทริปที่ใครหลายๆคนจดๆจ้องๆจะไปไฮซีซั่นนี้

ร่วมแสดงความคิดเห็น