ความคืบหน้าการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (คทช.) จ.น่าน

เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562 เวลา 10.00 น. ส่วนจัดการต้นน้ำ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13(แพร่) บ้านเขาน้อย ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน นายเกรียงศักดิ์ ถนอมพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 เป็นประธาน พร้อมด้วย
พ.อ.(พิเศษ)ศราวุธ เกิดกล่ำ ผู้แทน กอ.รมน.ภาค 3 / นายเสน่ห์ วัฒนภูคา กำนันตำบลคงพญา / นายสถิตย์มะราช ผู้แทนภาคประชาชน ในพื้นที่จังหวัดน่าน ในการประชุมตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่​ 26​ พฤศจิกายน​ 2561 เห็นชอบแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดินของราษฎรในเขตป่าอนุรักษ์​ เพื่อช่วยเหลือราษฎรให้สามารถทำกินได้อย่างถูกต้อง​ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ​ และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าที่แก้ไขใหม่​ ลดความขัดแย้งระหว่างราษฎรที่ถือครองทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์กับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีมาอย่างยาวนาน​ ราษฎรเกิดความมั่นใจและมั่นคงในการประกอบอาชีพ​ ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น​ ลดความเลื่อมลำ้ในการส่งเสริมและพัฒนา​ เป็นการสร้างความสุขให้กับพี่น้องประชาชน​รวมทั้งเกิดผลดีต่อ​การปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง​ เกิดความร่วมมือในการดูแลรัษาป่า​ คณะกรรมการพิจารณาผลการสำรวจการครองครองที่ดิน​ เป็นกลไกหนึ่งที่กำหนดให้มีส่วนช่วยเหลือราษฎรที่อาศัยทำกินในเขตป่าอนุรักษ์​ หลังจากคณะทำงานสำรวจการครอบครองที่ดินได้ปฏิบัติงานและได้รายงานผลการดำเนินการและก็เป็นขั้นตอนที่คณะกรรมการพิจารณาผลการสำรวจการครอบครองที่ดินจะต้องพิจารณา​ จึงมีการจัดประชุมในวันนี้

สำหรับ พื้นที่ป่าอนุรักษ์จังหวัดน่าน ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติ 7 แห่ง เขตห้ามล่าสัตว์ป่า 1 แห่ง สวนรุกขชาติ 1 แห่ง วนอุทยาน 1 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 1 แห่ง (สังกัด สบอ.15 (เชียงราย)) รวม 2,745,337.68 ไร่ (36.21%) คงสภาพป่า เนื้อที่ 2,524,998.50 ไร่ มีราษฎรทำประโยชน์ 205,765.18 ไร่ เป็นแหล่งน้ำ เนื้อที่ 14,574 ไร่ ทั้งนี้เป็นพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และ 2 ประมาณ 97 % ใน ปี 2560 อส.ได้กำหนดแนวทางการจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำเสื่อมสภาพ โดยได้จัดทำแนวเขตควบคุม 2,321 แปลง จัดทำแผนที่รายแปลง 15,532 แปลง 205,765.18 ไร่ (ก่อนปี 41 รวม 14,289 แปลง 184,459.82 ไร่ ช่วงปี 41-57 รวม 1,161 แปลง 20,386.16 ไร่ หลังปี 57 รวม 149 แปลง 919.20 ไร่ เพื่อนำข้อมูลมาวางแผนการบริหารจัดการ ทั้งนี้พื้นที่หลังปี 2557 ได้พื้นที่คืนทั้งหมดและฟื้นฟูสภาพป่าแล้ว) เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่ดินของราษฎรในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ตามผลการประชุม คทช. เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2561 (รถไฟขบวนที่ 4) และมติครม. เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 61 โดยสรุปได้ดังนี้
1.หลักการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ป่าอนุรักษ์เป็นชุมชนเดิมในเขตป่าอนุรักษ์ไม่มีการจัดที่ดินให้บุคคลภายนอกพื้นที่มีการกำหนดแนวเขตที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันเป็นการให้สิทธิทำกิน มิให้เอกสารสิทธิ์ กรอบการจัดการที่ดินของราษฎรในพื้นที่อนุรักษ์ สำรวจการครอบครองที่ดิน
ประกาศกำหนดให้ราษฎรแจ้งการครอบครองและร่วมสำรวจพื้นที่ (ภายในระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน)
สำรวจรูปแปลงและตำแหน่งที่ดินผู้ครอบครองทุกรายและ การบริหารจัดการพื้นที่ ตรวจสอบพื้นที่กลุ่มผู้ครอบครองที่ดินเดิม (ก่อนมติ ครม. 30 มิ.ย. 41) และตรวจสอบคุณสมบัติผู้ยากไร้ ฯ (คำสั่ง 66/2557)กำหนดแนวเขตบริหารเพื่อการอนุรักษ์ (ในรูปแบบการทำประชาคม) การอนุญาตนำเขตบริหารเพื่อการอนุรักษ์ มาจัดทำโครงการฯ ในการอนุญาต คุณสมบัติของผู้ครอบครองที่ดิน มีสัญชาติไทย บรรลุนิติภาวะแล้ว หรือเป็นหัวหน้าครอบครัวได้ครอบครองที่ดินและได้ทำประโยชน์มาโดยต่อเนื่อง ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุด ให้ออกจากพื้นที่ความคืบหน้าการดำเนินการตามแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินฯ ท้องที่ จ.น่าน โดยได้มีการจัดประชุมสร้างการรับรู้ให้กับข้าราชการสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561 ณ โรงแรมเทวราช จังหวัดน่าน โดยมีปลัดทส. เป็นประธาน ที่ผ่านมา

นายเกรียงศักดิ์ ถนอมพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 กล่าวว่า ทาง ทส.มีนโยบาย ให้เร่งรัดสำรวจการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าของชุมชนให้ครบถ้วน/ขับเคลื่อนกลไกตาม คทช. ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนร่วมกันปลูกป่าและปลูกต้นไม้และเร่งรัดการออกกฎหมายรองภายใต้พระราชบัญญัติที่แก้ไขใหม่ ได้จัดทำแผนที่รายแปลงและแนวเขตควบคุมทุกพื้นที่แล้วมีความพร้อมด้านเจ้าหน้าที่ มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีและองค์ความรู้ ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จได้ตามเป้าหมายหรือไม่ คือ ความพร้อมของพี่น้องประชาชนขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการจัดทำกฎหมายรอง และกำหนดรูปแบบการจัดการที่ดินและความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าอนุรักษ์เพื่อให้คนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน พื้นที่คงสภาพป่า 2,524,998.50 ไร่ ได้ดำเนินการควบคุม ป้องกันดูแล รักษา สำรวจเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จำนวน 26 แห่ง รวมเนื้อที่ 1,117,180.52 ไร่ ผ่าน คปป.จ. แล้ว 14 แห่ง

เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือราษฎร ตามแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดินฯ ในพื้นที่เป้าหมาย 34 ตำบล 138 หมู่บ้าน เนื้อที่ 204,845.98 ไร่ ซึ่งสอดคล้องตามแนวทางของ Nan Sandbox โดยดำเนินการตามแผนงาน 9 หมู่บ้าน นอกแผนงาน 22 หมู่บ้าน รวมทั้งสิ้น 31 หมู่บ้าน
1) อช.ขุนน่าน 11 หมู่บ้าน (ตามแผนงาน 1 หมู่บ้าน นอกแผนงาน 10 หมู่บ้าน) แล้วเสร็จทั้งอุทยานฯ
2) อช.แม่จริม 5 หมู่บ้าน (ตามแผนงาน 1 หมู่บ้าน นอกแผนงาน 4 หมู่บ้าน) แล้วเสร็จทั้งอุทยานฯ
3) อช.ศรีน่าน 4 หมู่บ้าน (ตามแผนงาน 1 หมู่บ้าน นอกแผนงาน 3 หมู่บ้าน)
4) อช.ดอยภูคา 11 หมู่บ้าน (ตามแผนงาน 6 หมู่บ้าน นอกแผนงาน 5 หมู่บ้าน) มีเป้าหมายดำเนินการให้แล้วเสร็จในปี 2563 นี้

 

ร่วมแสดงความคิดเห็น