เปิดศูนย์แก้ไขความพิการบริเวณใบหน้าและกะโหลกศีรษะ

คณะแพทยศาสตร์ มช. เปิดตัว ศูนย์แก้ไขความพิการบริเวณใบหน้าและกะโหลกศีรษะ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 ศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่สร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อผู้ป่วยปากแหว่งและเพดานโหว่ ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน สร้างและพัฒนาแนวทางการรักษา เครือข่ายการทำงานร่วมกัน เชื่อมโยงผู้ป่วยเข้ากับกระบวนการรักษา ให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาที่มีมาตรฐานและติดตามดูแลผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาครบกระบวนการ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีพัฒนาโปรแกรมกลางในการจัดเก็บข้อมูลผู้ป่วย เพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันของโรงพยาบาลและบุคลากรในเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นให้ข้อมูลเดินทางแทนผู้ป่วย
ผศ.นพ.กฤษณ์ ขวัญเงิน รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. เปิดเผยว่า “ศูนย์แก้ไขความพิการบริเวณใบหน้าและกะโหลกศีรษะ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาและแก้ไขความพิการบนใบหน้า อาทิ การแก้ปัญหาปากแหว่งเพดานโหว่ให้กับผู้ป่วยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล จนถึงปัจจุบันมีผู้ป่วยด้อยโอกาสอยู่ในฐานข้อมูล 2087 ราย อยู่ในความดูแลทั้งสิ้น 840 ราย  มีทีมบุคลากรทางการแพทย์ในเครือข่ายความร่วมมือจำนวน 151 ราย จากผลการดำเนินงาน ออกตรวจ Cleft Clinic (คลินิกรักษาปากแหว่งเพดานโหว่)โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ทุกวันอังคาร ศูนย์แก้ไขความพิการบริเวณใบหน้าและศีรษะ ทุกวันทำการ จันทร์ – ศุกร์ โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ ทุกวันจันทร์ อังคาร และพุธ ที่ 4 ของเดือน และยังลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ รับผู้ป่วยเข้าสู่ระบวนการรักษาตามมาตรฐาน ตรวจเยี่ยมบ้านและให้ความรู้กับผู้ป่วยในโครงการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวผู้ป่วยในรูปแบบต่างๆ สร้างเครือข่ายความร่วมมือ จากการดำเนินโครงการตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน สร้างและพัฒนาเครือข่ายเชื่อมโยงโรงพยาบาลภายใต้สังกัดต่างๆ และเชื่อมโยงบุคลากรจากสหสาขาวิชาชีพในการทำงานร่วมกันเพื่อดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ โดยมีผู้ป่วยได้รับการค้นหาและส่งต่อเข้าสู่ความดูแลของเครือข่ายจากโรงพยาบาลจำนวนทั้งสิ้น 74 โรงพยาบาล และในจำนวนนี้มี 5 โรงพยาบาลที่ยกระดับความร่วมมือเป็นโรงพยาบาลเครือข่ายที่ให้การรักษาและดูแลผู้ป่วยร่วมกัน ซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน และในขณะนี้ มีผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ พิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ อยู่ในฐานข้อมูล 2087 ราย อยู่ในความดูแลทั้งสิ้น 840 ราย  มีทีมบุคลากรทางการแพทย์ในเครือข่ายความร่วมมือจำนวน 151 ราย
รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช กล่าวว่า “ตนยังได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาโปรแกรมฐานข้อมูลกลาง Thai Cleft Link ให้การจัดเก็บข้อมูลผู้ป่วย ซึ่งประกอบไปด้วย ข้อมูลผู้ป่วยและการวินิจฉัยโรค ประวัติการรักษา  รูปภาพของผู้ป่วย ตารางนัดหมายผู้ป่วย/พิมพ์ใบนัดผู้ป่วย และข้อมูลสถิติด้านประชากรผู้ป่วยและการรักษา เพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันของโรงพยาบาลและบุคลากรในเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ข้อมูลเดินทางแทนผู้ป่วย ตลอดจนการรวบรวม จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวเป็นกระบวนการที่มีความจำเป็นอย่างสูง พร้อมพัฒนามาตรฐานการดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ และพัฒนาศักยภาพบุคลากรเครือข่าย อาทิ การประชุมทีมแพทย์โสต ศอ นาสิกและศัลยแพทย์ตกแต่ง (ENT-Plastic Conference)   การประชุมทีมแพทย์ทันตกรรมจัดฟัน แพทย์ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้าขากรรไกรและศัลยแพทย์ตกแต่ง (Ortho-Maxillo-Plastic Conference) การจัดอบรมเพิ่มพูนศักยภาพด้านต่างๆ  เข้าร่วมการประชุมวิชาการ/เสวนาต่างๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และสร้างเครือข่าย”

ร่วมแสดงความคิดเห็น