รร.บ้านแม่แรม นำนักเรียนชนเผ่าไปถ่ายทอดวิถีชีวิตม้ง ในงานแพร่เมืองเก่า

เมื่อคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2562 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของปีเก่า 2562 และ เป็นคืนที่ 4 ของงาน แพร่เมืองเก่า 1191 ปีวิถีแพร่วิถีล้านนา บริเวณข่วงประตูชัย เป็นการแสดงกลุ่มชาติพันธุ์ของจังหวัดแพร่ ในคืนนี้ นางนิสากร ศรียงค์ ผอ.รร.บ้านแม่แรม ต.เตาปูน อ.สอง จ.แพร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 (สพป.แพร่ เขต 1) รร.บ้านแม่แรม อยู่ในเขตพื้นที่บริการของชนเผ่าม้งอยู่ที่นั่น และที่นี่จะเป็นชนเผ่าที่ยึดมั่นในขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมประเพณีอย่างเหนียวแน่น
รร.บ้านแม่แรมได้นำชุดการแสดงเป็นนักเรียนชนเผ่า รร.บ้านแม่แรมมาแสดง ในชุด แสดงวิถีชีวิตม้ง การแสดง18 แซ่ ฝึกสอนโดยคุณครูบุญชุม เดือนดาว และ คุณครูสังวาลย์ ท้าววรรณชาติ อำนวยการฝึกสอนและสนับสนุนโดย ผอ.นิส่ากร ศรียงค์ ผอ. รร.บ้านแม่แรม การแสดงในค่ำคืนนั้น ทำเอาผู้ชมที่เต็มลานข่วงประตูชัย ต้องปรบมือกันเกรียว และพูดปากต่อปากว่า เป็นแสดงและถ่ายทอดวิถีชีวิตม้ง และ 18 แซ่ ได้ดีมาก ท่านโชคดี อมรวัฒน์ รอง ผวจ.แพร่ ได้ให้เกียรติถ่ายรูปกับชุดการแสดงของ รร.บ้านแม่แรมในค่ำคืนนั้นด้วย
วิถีชีวิคม้ง เป็นประวัติศาสตร์ที่น่าศึกษา ยังไม่มีผู้ใดสามารถสรุปได้ว่าชนชาติม้งมาจากที่ไหน แต่สันนิษฐานกันว่าม้งคงจะอพยพมาจากที่ราบสูงธิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย เข้าสู่ประเทศจีน และตั้งหลักแหล่งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (แม่น้ำฮวงโห) เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว ซึ่งชาวเขาเผ่าม้งจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในมณฑลไกวเจา ฮุนหนำ กวางสี และมณฑลยูนาน ม้งอาศัยอยู่ในประเทศจีน มาหลายศตรรษ จนกระทั่ง ประมาณคริสตศตวรรษที่ 17 ราชวงค์แมนจู (เหม็ง) มีอำนาจในประเทศจีน กษัตริย์จีนในราชวงค์เหม็งได้เปลี่ยนนโยบายเป็นการปราบปราม เพราะเห็นว่าม้งที่เป็นผู้ชายส่วนใหญ่แล้วรูปร่างหน้าตาคล้ายกับคนรัสเซีย ทำให้คนจีนคิดว่า ม้งเป็นคนรัสเซีย จึงเป็นเหตุให้มีการปราบปรามม้งเกิดขึ้น โดยให้ชาวม้งยอมจำนน และยอมรับวัฒนธรรมของจีน และอีกประการหนึ่งคือเห็นว่า ม้งเป็นพวกอนารยชนแห่งขุนเขา จึงได้มีการต่อสู้กันอย่างรุนแรงในหลายแห่ง เช่น ในเมืองพังหยุนในปี พ.ศ. 2009 และการต่อสู้ในมณฑลไกวเจาในระหว่าง พ.ศ. 2276 – 2278 และการต่อสู้ในมณฑลเสฉวนในระหว่าง พ.ศ. 2306 – 2318ในที่สุด ชาวม้งประสบกับความพ่ายแพ้ สูญเสียพลรบ และประชากรเป็นจำนวนมาก ในที่สุดม้งก็เริ่มอพยพถอยร่นสู่ ทางใต้ และกระจายเป็นกลุ่มย่อย ๆ กลับขึ้นอยู่บนที่สูงป่าเขาในแคว้นสิบสองจุไทย สิบสองปันนา และอีกกลุ่มได้อพยพไปตามทิศตะวันออกเฉียงเหนือของราชอาณาจักรลาวบริเวณทุ่งไหหินเดียนเบียนฟู โดยมีหัวหน้าม้งคนหนึ่ง คือ นายพลวังปอ ได้รวบรวมม้ง และอพยพเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณ พ.ศ. 2400 เศษ เป็นต้นมาปัจจุบันชาวม้งส่วนใหญ่ในประเทศไทย ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูเขาสูง หรือที่ราบเชิงเขาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง กำแพงเพชร เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก มีจำนวนประชากรทั้งสิ้นประมาณ 151,080 คน
ชนเผ่าม้ง มีประมาณ 18 ตระกลู “แซ่” ด้วยกันมีดังนี้ 1.แซ่หว้า Xeem Vaj 2.แซ่จาง Xeem Tsab 3.แซ่ลี Xeem Lis 4.แซ่โซ้ง Xeem Xyooj 5.แซ่ท่อ Xeem Thoj 6.แซ่เล่า Xeem Lauj 7.แซ่มัว Xeem Muas8.แซ่ย่าง Xeem Yaj 9.แซ่เฮ้อ Xeem Hawj 10.แซ่วื้อ Xeem Vwj 11.แซ่กือ Xeem Kwm 12.แซ่หาญ Xeem Ham 13.แซ่จื้อ Xeem Tswb 14.แซ่ฟ่า Xeem Faj 15.แซ่พ้า Xeem Phab 16.แซ่กง Xeem Koo 17.แซ่เฉ้ง Xeem Tsheej 18.แซ่ค้า Xeem Khab

ร่วมแสดงความคิดเห็น