รร.บ้านกาศประชานุเคราะห์ ปลื้มประเมินภายนอกรอบสี่ได้ดีมาก พร้อมกับนารีรัตน์ เมืองแพร่ ท่าวังผา

ผู้สื่อข่าวรายงานมาเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2563 นายดนัยรัตน์ กาศเกษม ผอ.รร.บ้านกาศประชานุเคราะห์ ต.บ้านกาศ อ.สูงเม่น จ.แพร่ สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 37(สพม 37) เผยว่า ตามที่ร.ร.บ้านกาศประชาเคราะห์ ได้เข้ารับการประเมินภายนอก รอบสี่ จาก สมศ.สรุปสำหรับผู้บริหาร โรงเรียนบ้านกาศประชานุเคราะห์ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 145 ตาบลบ้านกาศ อาเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ สังกัดสานักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 คณะผู้ประเมินได้ตรวจเยี่ยมสถานศึกษาเมื่อวันที่ 3 – 4 เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒2562

โดยมีผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ ดังนี้
สรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ. 2559 – 2563) 1.ด้านคุณภาพผู้เรียน ระดับคุณภาพ ดีมาก 2.ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ ระดับคุณภาพ ดีมาก และ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ระดับคุณภาพ ดีมาก

ระดับคุณภาพในการตัดสินผลรายตัวบ่งชี้/ประเด็น มี 5 ระดับ คือ ดีเยี่ยม : กำหนดมาตรฐาน/ตัวชี้วัด/เกณฑ์ตัดสิน เหมาะสม เป็นไปได้แนวทางและกระบวนการพัฒนาชัดเจน ผลประเมินเชื่อถือ เกิดประสิทธิผลท่ให้เกิดการพัฒนาการต่อเนื่อง และ สามารถสร้างต้นแบบนวัตกรรม/เป็นที่ พอใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ดีมาก =มาตรฐาน/ตัวชี้วัด/เกณฑ์ตัดสิน เหมาะสม เป็นไปได้ แนวทางการพัฒนาชัดเจน ผลการ์ประเมินเชื่อถือได้ เกิดประสิทธิผล ทำให้เกิดการพัฒนาการต่อเนื่อง ดี : มาตรฐาน/ตัวชี้วัดและเกณฑ์ตัดสิน เหมาะสม เป็นไปได้ แนวและการดำเนินการพัฒนา เป็นระบบ/ชัดเจน ผลการประเมินเชื่อถือได้พอใช้ : มาครราน/ตัวชี้วัดยังมีข้อบกพร่อง แนวทางการพัฒนาไม่ชัดเจน ผลการประเมินจำนวนหนึ่งเชื่อถือได้ต่ำปรับปรุง : มาตรฐาน/ตัวขี้วัดยังมีข้อบกพร่องค่อนข้างมาก/มีจุตบกพร่อง/ แนวทางการพัฒนาไม่เป็นรูปธรรม ผลการประเนไม่นเชื่อถือเป็นส่วนใหญ่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประเมินฯ รอบสี่ สมศ. จึงเน้นการประเมินเชิงคุณภาพ คือ เป็นการพิจารณาหลักฐานเชิงประจักษ์ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย โดยผู้ประเมินจะรวบรวมข้อมูลทั้งจากการศึกษาเอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์บุคคล ฯลฯ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณา ทั้งนี้ การประเมินเชิงคุณภาพไม่ได้เป็นการปฏิเสธข้อมูลเชิงตัวเลข แต่เป็นการพิจารณาข้อมูลในทุกรูปแบบ ทั้งข้อมูลตัวเลข เอกสารที่เป็นทางการ รวมไปถึงเอกสารหรือข้อมูลไม่เป็นทางการที่ใช้ในการสื่อสารเป็นประจำภายในสถานศึกษา สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการอ้างอิงถึงการดำเนินงานต่าง ๆ ได้ ตรงนี้จึงเป็นจุดที่สร้างความยืดหยุ่นให้กับสถานศึกษา ในการลดภาระงานเอกสาร สถานศึกษาไม่จำเป็นต้องทำเอกสารหลักฐานใด ๆ เพิ่มเติม เพียงแต่ให้ความร่วมมือกับผู้ประเมินฯ ในการให้ข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อช่วยให้ผู้ประเมินฯ เห็นภาพกระบวนการทำงานต่างๆ ของสถานศึกษาได้ตามที่เป็นจริง สมศ.เน้นการประเมินเพื่อพัฒนา ผลการประเมินฯ ไม่มี ได้/ตก หรือ รับรอง/ไม่รับรอง ข้อมูลที่ได้จากการประเมินเชิงคุณภาพ จำเป็นต้องใช้วิจารณญาณของผู้ประเมินฯ (Expert judgment) ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ประเมินฯ ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเพราะผ่านการอบรมจาก สมศ. จะทำความเข้าใจเหตุผล ที่มาที่ไป และความเชื่อมโยงของข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของสถานศึกษา การรายงานผลการประเมินฯ ในรอบสี่นี้ อาจมองได้เป็นสองรูปแบบกว้าง ๆ คือ
1) ระดับคุณภาพ มี 5 ระดับคือ ดีเยี่ยม ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง และ 2) ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การพัฒนา ซึ่งทั้งสองส่วนไม่มีการระบุผลการประเมินฯ ในลักษณะ ได้/ตก หรือ รับรอง/ไม่รับรอง การนำเสนอผลการประเมินจะนำเสนอทั้งสองส่วนคู่กัน โดยสถานศึกษาจะทราบผลการพิจารณาระดับคุณภาพและข้อเสนอเป็นรายด้าน (แบ่งด้านตามมาตรฐานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษานั้น ๆ) ว่าคุณภาพของการดำเนินงานอยู่ในระดับใด และจะสามารถต่อยอดการพัฒนาในแต่ละด้านอย่างไร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รร.ในสังกัด สพม 37 ทั้งในจ.แพร่และ จ.น่านที่เข้ารับการประเมินภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-1263) มีจำนวน 15 โรงเรียนได้ระดับดีเยี่ยมทั้ง 3 ด้าน มี 3 โรงคือ รร.พิริยาลัยจังหวัดแพร่ รร.สองพิทยาคม รร.ศรีสวัสดิ์วิทยาคาร ระดับดีมาก ทั้ง 3 ด้าน มี รร.นารีรัตน์จังหวัดแพร่ รร.ร้องกวางอนุสรณ์ รร.เมืองแพร่ รร.ม่วงไข่พิทยาคม รร.ลองวิทยา รร.บ้านกาศประชานุเคราะห์ รร.น่านนคร รร.สาธุกิจประชาสรรค์ รัชมังคลาภิเษก รร.ท่าวังผาพิทยาคม รร.สารทิศพิทยาคม และรร.นาน้อย ระดับ ดี มี 1 โรง คือ รร.ถิ่นโอภาสวิทยา

ร่วมแสดงความคิดเห็น