มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนาร่วมผู้นำ อปท. 2 อำเภอเปิดประชุมเวทีขับเคลื่อนการบริโภคที่ปลอดภัยในชุมชน

วันที่ 15 ก.ค. 63 มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนาเปิดประชุมเวทีความร่วมมือ ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น 2 อำเภอ เมือง และ ดอกคำใต้ เพื่อขับเคลื่อนการบริโภคที่ปลอดภัยในชุมชน โดยมี คุณธิดา ไกรนรา ท้องถิ่นจังหวัดพะเยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา เปิดเสวนาบทเรียนการทำงานการปรับพฤติกรรมการบริโภคเด็กในเขตพื้นที่ อ.เมืองและดอกคำใต้ เพื่อลดภาวะโรคอ้วนพื้นที่ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของโรงเรียนในการทำงานการสร้างเสริมสุขภาพในโรงเรียน ด้านการวางแผนแนวทางเพื่อพัฒนาความร่วมมือผู้บริหารองค์กรการปกครองท้องถิ่นอำเภอเมืองและอำเภอดอกคำใต้เพื่อขับเคลื่อนการบริโภคที่ปลอดภัยในชุมชน

จังหวัดพะเยาจะพบสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม พฤติกรรมติดเกม โดยการประเมินผลของสำนักงานสาธารณสุขได้สรุปว่าจังหวัดพะเยา มีเด็กที่สูงสมส่วนร้อยละ 52.69 เตี้ย ร้อยละ 18.98 อ้วนร้อยละ 12.98 และผอมร้อยละ 5.97 ในพื้นที่อำเภอเมืองและดอกคำใต้จะพบว่าปัจจัยที่ทำให้เด็กต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าวคือการบริโภคอาหารที่มีแป้งในปริมาณที่สูงและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง ซึ่งเด็กนักเรียนเองไม่เน้นการบริโภคผักและผลไม้ขาดการฝึกนิสัยการบริโภคมาตั้งแต่ในระดับครอบครัวสิ่งที่สำคัญจะพบว่าเด็กมีความเสี่ยงในการบริโภคอาหารที่มีสารเคมีในวัตถุดิบที่นำมาเป็นส่วนประกอบ ในการ ทำอาหาร เนื่องจากวิถีชีวิตของคนในสังคมเปลี่ยนจากการเพาะปลูกเองใน ครอบครัวปัจจุบันจะมาเป็นการซื้อจากตลาดเป็นหลักซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น

ทางมูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนาจึงมีแนวคิดในการปรับพฤติกรรมนักเรียนประถมศึกษาพื้นที่อำเภอเมืองและดอกคำใต้ในการเลือกบริโภคอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกายเน้นการบริโภคผักและผลไม้เพื่อป้องกันและลดภาวะอ้วนเน้นการสร้างความร่วมมือผู้บริหาร และสนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้และก่อให้เกิดอารมณ์และจิตสำนึกในการดูแลสุขภาพ ส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังแก่เด็ก สร้างความร่วมมือผู้ปกครองในการปรับพฤติกรรมการบริโภคของบุตรหลานเพื่อลดภาวะอ้วนรวมทั้งการพัฒนาความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอ กำหนดนโยบายและขับเคลื่อนประเด็นอาหารเพื่อสุขภาวะที่เลือกต่อการให้ประชาชนบริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยในชีวิตประจำวันรวมทั้งนำเอาบทเรียนมาสร้างการเรียนรู้ขยายต้นแบบการทำงานให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด 9 อำเภอ 2 เขตการศึกษา 218 สถานศึกษาประถมศึกษา 72 ท้องถิ่น

ร่วมแสดงความคิดเห็น