(มีคลิป) เร่งรื้อถอนคุกหญิงเก่า กลางเมืองเชียงใหม่ เตรียมพัฒนาเป็นสวนสาธารณะ หลังถูกทิ้งร้าง ปชช.ติง ไม่คืบหน้ามาหลายปี

วันที่ 8 ส.ค. 63 รายงานข่าวแจ้งว่า จากกรณีการดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ทัณฑสถานหญิงเก่า ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีแผนที่จะพัฒนาให้เป็นสวนสาธารณะใจกลางเมืองเชียงใหม่ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ โดยได้มีการดำเนินโครงการตามที่ ครม. มีมติเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2555 อนุมัติโครงการข่วงหลวงเวียงแก้ว (บริเวณทัณฑสถานหญิงเดิม) ในวงเงิน 158 ล้านบาท จากงบกลาง และต่อมามีการจัดพิธีกรรมสูตรถอน ระหว่าง 19-27 มกราคม 2556 คณะสงฆ์ ตลอดจนชาวเชียงใหม่ หลายภาคส่วนร่วมใจจัดพิธีปักกลดอยู่ปริวาสกรรม ในคุกเก่า 9 วัน 9 คืน มีนายธานินทร์ สุภาแสน เป็นผู้ว่าราชการ จ.เชียงใหม่ เพื่อเตรียมรื้อสิ่งก่อสร้าง มีการจัดนิทรรศการ เปิดเรือนจำให้ผู้สนใจเข้าชม และรัฐบาลให้ สนง.พระพุทธศาสนาแห่งชาติ จัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ 15-3-93 ไร่ บนพื้นที่ราชพัสดุ แปลงที่ ชม.1612

กระทั่ง นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ มาเป็น ผวจ.ต่อ ระหว่าง 2 มิ.ย. 57-30 ก.ย. 58 และนายปวิณ ชํานิประศาสน์ ช่วง 1 ต.ค. 58 – 29 มิ.ย. 61 โครงการล่าช้า ส่งผลให้เครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่และภาคประชาชนขอเข้าพบ เมื่อ 9 ธ.ค. 58 ทวงถามความคืบหน้าโครงการ จนนำไปสู่การประกวดราคาจ้างก่อสร้าง โครงการพัฒนาข่วงหลวงเวียงแก้ว ราคากลาง 100,783,000 บาท โดย บ.ทำเลไทย ธรรมชาติ ชนะเป็นผู้รับเหมาในครั้งที่ 3 ด้วยราคาต่ำสุด 95 ล้านบาท เมื่อ นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ มารับตำแหน่ง ปฏิบัติหน้าที่ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่าง 6 ก.ค. 61 – 30 ก.ย. 62 ปรากฎว่าสถานะโครงการยังอยู่ในขั้นตอน การอนุมัติจากกรมศิลปากร เพื่อการรื้อถอน

จนกระทั่งล่าสุดเดือน ส.ค. 63 ทางชุมชนพบว่าได้ ขณะนี้ที่บริเวณพื้นที่ดังกล่าวได้มีการเร่งดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างของทัณฑสถานหญิงเก่า อีกครั้งหลังจากที่ถูกทิ้งไว้ให้เป็นพื้นที่เปล่าอยู่นานพอสมควร จึงทำให้ประชาชนในพื้นที่ตั้งข้อสงสัยว่าทำไม่ถึงเพิ่งมีการกลับมาเริ่มดำเนินการรื้อถอน และในส่วนของการดำเนินการพัฒนาในอนาคตจะมีการนำพื้นที่ดังกล่าวไปทำอะไร รวมทั้งประชาชนและชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงจะได้รับประโยชน์ในการพัฒนาครั้งนี้หรือไม่ และจะใช้ระยะเวลานานแค่ไหนนั้น

โดยในส่วนของแผนการดำเนินการใน ขณะนี้นั้นยังคงอยู่ในระหว่างการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง อาคาร รวมไปถึงกำแพงเดิมของทัณฑสถานหญิง และเมื่อมีการดำเนินการรื้อถอนเสร็จแล้วนั้น ทางสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ก็จะได้เข้าไปดำเนินการสำรวจพื้นที่เพื่อตรวจสอบหาข้อมูลของสิ่งปลูกสร้างโบราณที่ในขณะพบว่ามีแนวกำแพงเมืองเก่าอยู่แล้ว ส่วนในเรื่องของการที่จะนำพื้นที่ไปพัฒนาให้ออกมาทิศทางใดนั้นคงจะต้องรอผลการสำรวจและการดำเนินการรื้อถอนเสร็จสิ้นเสียก่อน หลังจากนั้นจึงจะมีการประชุมหารือร่วมกับทุกฝ่าย เพื่อลงมติการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

 

สำหรับในส่วนของสิ่งปลูกสร้างที่เป็นของทัณฑสถานหญิงเก่านั้นก็ไม่ได้จะลื้อถอนหรือทำลายทิ้งทั้งหมด โดยอาจจะมีการละเว้นสิ่งปลูกสร้างเดิมบางจุดไว้ เช่นป้อม หรืออาคารบางแห่งในพื้นที่ เพื่อให้คงไว้ซึ่งความเป็นศิลปะที่จารึกในหน้าประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่ ที่บ่งบอกให้คนรุ่นหลังรู้ว่ามี่บริเวณแห่งนี้เคยใช้ทำเป็นพื้นที่อะไรมาบ้าง แม้จะเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นหน้าประว้ติศาสตร์ที่ต้องจารึกลงไป ส่วนในเรื่องของระยะเวลาในการดำเนินการ หรือการพัฒนาในส่วนต่อไปนั้นเป็นเรื่องของทางจังหวัดที่ต้องดำเนินการ หลังจากนั้นทางสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ จึงจะเข้ามาตรวจสอบ และวางแผนร่วมกันในการทำพื้นที่แห่งนี้ให้เกิดประโยชน์กับคนในจังหวัดเชียงใหม่ต่อไป

เกี่ยวกับการดำเนินการดังกล่าวที่มีอยู่ในขณะนี้ ล่าสุดทางผู้สื่อข่าวได้ติดต่อสอบถามไปยัง นายเทอดศักดิ์ เย็นจุระ ผู้อำนวยการ กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ทราบว่า ในส่วนของการดำเนินการในพื้นที่ทัณฑสถานหญิงเก่า นั้นเป็นผลมาจากการที่ทางจังหวัดและหน่วยงานที่รับผิดชอบเพิ่งได้รับงบประมาณมาดำเนินการ หลังจากที่ต้องปล่อยทิ้งช่วงไปนานพอสมควร

 

โดยในส่วนของแผนการดำเนินการใน ขณะนี้นั้นยังคงอยู่ในระหว่างการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง อาคาร รวมไปถึงกำแพงเดิมของทัณฑสถานหญิง และเมื่อมีการดำเนินการรื้อถอนเสร็จแล้วนั้น ทางสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ก็จะได้เข้าไปดำเนินการสำรวจพื้นที่เพื่อตรวจสอบหาข้อมูลของสิ่งปลูกสร้างโบราณที่ในขณะพบว่ามีแนวกำแพงเมืองเก่าอยู่แล้ว ส่วนในเรื่องของการที่จะนำพื้นที่ไปพัฒนาให้ออกมาทิศทางใดนั้นคงจะต้องรอผลการสำรวจและการดำเนินการรื้อถอนเสร็จสิ้นเสียก่อน หลังจากนั้นจึงจะมีการประชุมหารือร่วมกับทุกฝ่าย เพื่อลงมติการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

สำหรับในส่วนของสิ่งปลูกสร้างที่เป็นของทัณฑสถานหญิงเก่านั้นก็ไม่ได้จะลื้อถอนหรือทำลายทิ้งทั้งหมด โดยอาจจะมีการละเว้นสิ่งปลูกสร้างเดิมบางจุดไว้ เช่นป้อม หรืออาคารบางแห่งในพื้นที่ เพื่อให้คงไว้ซึ่งความเป็นศิลปะที่จารึกในหน้าประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่ ที่บ่งบอกให้คนรุ่นหลังรู้ว่ามี่บริเวณแห่งนี้เคยใช้ทำเป็นพื้นที่อะไรมาบ้าง แม้จะเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นหน้าประว้ติศาสตร์ที่ต้องจารึกลงไป ส่วนในเรื่องของระยะเวลาในการดำเนินการ หรือการพัฒนาในส่วนต่อไปนั้นเป็นเรื่องของทางจังหวัดที่ต้องดำเนินการ หลังจากนั้นทางสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ จึงจะเข้ามาตรวจสอบ และวางแผนร่วมกันในการทำพื้นที่แห่งนี้ให้เกิดประโยชน์กับคนในจังหวัดเชียงใหม่ต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น