เริ่มเลือนลาง สนามบินใหม่ คาดอีก 20 ปี เชียงใหม่พร้อม วงการค้าที่ปรับแผนเลี่ยงภาษีที่รกร้าง

อดีตประธานหอการค้า จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า แนวโน้มธุรกิจภาคบริการและการท่องเที่ยวหลังช่วงโควิด 19
จะเปลี่ยนแปลงไป การลงทุนต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด เช่นเดียวกับธุรกิจการบินที่สมาคมด้านการบิน
ระบุข้อมูลว่า อัตราการเดินทางในช่วงโควิด 19 ระบาด เส้นทางบินหายไปกว่า 1 ใน 3 และการลงทุนด้านการบิน
การปรับตัวจะใช้เวลา 3-4 ปี จึงจะเห็นภาพชัดเจนว่าเป็นไปในทิศทางใด หากมองในแง่การพัฒนา โครงการสนามบินเชียงใหม่ ที่ท่าอากาศยาน (ทอท.) ทุ่มงบกว่า 2 หมื่นล้าน ดำเนินการเพื่อพลิกโฉมสนามบินที่มีอยู่ ให้มีประสิทธิภาพรองรับผู้โดยสาร ข้อมูลส่วนขยาย 4 สนามบินหลัก ในช่วงปี 2563-2568 จะพบว่าสนามบินแต่ละแห่ง ปรับแผน
ให้รองรับสถานการณ์ ตามความเหมาะสม

“ในส่วนสนามบินเชียงใหม่ ที่ดำเนินการก็จะมีการสร้างอาคารจอดรถเพิ่ม และพัฒนาส่วนบริการต่าง ๆ ซึ่งถ้าดูจากจำนวนนักท่องเที่ยว จำเป็นต้องมีการเปิดบินจากต่างประเทศเข้ามา เพราะตลาดหลัก ๆ ของเชียงใหม่
เป็นกลุ่มชาวต่างชาติ ช่วงนี้กลุ่มผู้โดยสารจะมากช่วงเทศกาล ช่วงวันหยุด แผนสร้างสนามบินแห่งใหม่ แถวรอยต่อ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน กับ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ คงต้องรอประมวลผลหลายด้านประกอบกันเพราะ ทอท. ก็ระบุอ้อม ๆ ว่า การลงทุนใด ๆ จะพิจารณาตามความเหมาะสม และกระบวนการในโครงการนี้ที่จะมีการจ้างที่ปรึกษาทำการศึกษาโครงการ บรรดา คณะกรรมการร่วม ทั้ง กรอ. , กกร.กลุ่มจังหวัด , กลุ่มภาค และ จ.เชียงใหม่ ทุกฝ่ายมองว่า คือ การจัดลำดับความสำคัญแผนลงทุน มีแน่แต่ไม่ยืนยันว่าเมื่อไหร่ จริง ๆ แล้ว ทุกภาคส่วนคาดหวังว่าจะมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่เกิดขึ้นในเชียงใหม่ทั้ง รถรางไฟฟ้า สายสีแดง ปีหน้า มีการสร้างสนามบินที่ 2 ตามกรอบที่วางไว้ แต่เมื่อโควิด 19 เข้ามาทุกอย่างต้องปรับตามสถานการณ์ ”

ด้านกลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เชียงใหม่ กล่าวว่า การลงทุนด้านที่ดิน ในพื้นที่เป้าหมาย ก่อสร้างสนามบินแห่งที่ 2 ในเชียงใหม่ กลุ่มทุนท้องถิ่น ที่มีการซื้อในราคาไม่สูง พอมีกระแสโครงการ ปั่นราคา ก็เทขายออกไป
ส่วนหนึ่ง กลุ่มที่รับช่วงต่อทอด ที่ 3-4 หรือหลัง ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มเก็งกำไร ซื้อมาต้องรีบขายออกไป ทำกำไร
ระยะสั้นๆ

” เมื่อโครงการเริ่มเลือนลาง คาดว่า อีกยาวนาน ไม่น้อยกว่า 20 ปี ราว ๆ ปี 2578 จึงจะพร้อม ถึงวันนั้นไม่ชัดเจนว่า
ศักยภาพ สถานที่จะมีอุปสรรค ปัญหาใด บ้างทั้ง การเวนคืน ค่าชดเชยอสังหาริมทรัพย์ ถ้าสูงไปอาจย้ายไปในจุดที่เหมาะสมกว่าได้ กลุ่มที่มีที่ดินจำนวนมาก ๆ พยายามปรับกลยุทธ์ พัฒนาที่ ปล่อยเช่า ให้พ้นสภาพที่ดินรกร้าง ไม่ได้ทำประโยชน์ ซึ่งเพดานสูงสุด 1.2 % จะเพิ่มเป็น ร้อยละ 3 เมื่อปล่อยรกร้างติดต่อกัน 3 ปี วิธีการลดต้นทุน
จะมีทั้งปล่อยเช่า บางส่วนลงทุนพัฒนาพื้นที่ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม แต่การจะสร้างสิ่งปลูกสร้างแล้วหวังค่าชดเชย
ค่าเวนคืน ค่อนข้างเสี่ยงไป กับบิ๊กโปรเจคท์ที่มีระเบียบต่าง ๆ เปิดช่องรองรับ การแก้ปัญหา ทั้งนี้ที่ผ่าน ๆ มา
มีการจัดสรรงบศึกษาความเหมาะสมสร้างสนามบินเชียงใหม่แห่งที่ 2 ทั้งในส่วนของสำนักงานการบินพลเรือน
แห่งประเทศไทย (กพท.) ซึ่งทำการศึกษาแผนแม่บท ระบุพื้นที่เหมาะสมอยู่ ต.ห้วยยาบ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน เนื่องจากไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทางวิ่ง (รันเวย์) โดยคาดว่าต้องจัดใช้พื้นที่ 7 พันไร่ เวนคืนกว่า 5 พันแปลง ”


ล่าสุด กระทรวงคมนาคม มอบหมายให้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. จ้างที่ปรึกษาศึกษา
ความเหมาะสมของโครงการพัฒนาสนามบินภูเก็ต และเชียงใหม่ แห่งที่ 2 วิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงิน
และความต้องการใช้บริการของผู้โดยสาร ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 1 ปี

“ก่อนหน้านี้ ทอท.ได้ศึกษารายละเอียดการลงทุนพัฒนาสนามบินทั้ง 2 พื้นที่ กำหนดกรอบวงเงินลงทุนเฉพาะ
ค่าก่อสร้างอยู่ที่ราว 1.2 แสนล้านบาท โดยสนามบินเชียงใหม่แห่งที่ 2 ประมาณ 5.4 – 6 หมื่นล้านบาท”

อย่างไรก็ตาม หนึ่งในคณะทำงาน คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.)
จ.เชียงใหม่ ระบุว่าว่าแม้จะปรับปรุงสนามบินเก่า แต่จะรองรับได้เพียง 12 ล้านคนในอีก 5 ปีข้างหน้าเท่านั้น
หลังจากนั้น จะไม่มีพื้นที่รองรับได้อีก เนื่องจากขยายเต็มพื้นที่แล้ว

“หลาย ๆ ภาคส่วนคาดหวังว่า แผนงานนี้จะไม่เป็นแบบเดียวกันแผนพัฒนาสนามบินที่เคยนำเสนอพื้นที่ อ.ห้างฉัตร
ลำปาง หรือแม้แต่ พื้นที่ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ ที่มีทั้งการเสนอรูปแบบลงทุน และร่วมลงทุนจากกลุ่มทุนจีน เมื่อช่วงปี 2559 แล้วเงียบหายไป “

ร่วมแสดงความคิดเห็น