ชะลอแผน รถรางไฟฟ้าเชียงใหม่ หวั่นใช้น้อยไม่คุ้ม เอกชนเมินลงทุน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ได้แจ้งความคืบหน้าการดำเนินโครงการระบบ
ขนส่งมวลชนรถไฟฟ้ารางเบาในภูมิภาคว่าคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. ได้สั่งการให้ รฟม. ทบทวนความเหมาะสม และความคุ้มค่า


ในการดำเนินโครงการแทรมในภูมิภาคทั้ง 4 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต เชียงใหม่ โคราช และพิษณุโลก อย่างละเอียดอีกครั้งก่อนดำเนินการเปิดประมูลจริง “เพราะคณะกรรมการ รฟม.กังวลว่าอาจจะไม่คุ้มค่าในการลงทุน แม้จะใช้รูปแบบการเปิดให้เอกชนเข้าร่วมทุนแบบเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) แต่หากเปิดให้บริการ เกิดภาวะขาดทุนติดต่อกันต่อเนื่อง อาจทำให้เอกชนทิ้งโครงการได้ ซึ่ง รฟม. ทำได้แค่ยึดเงินประกันที่มีจำนวนไม่มาก”ทั้งนี้ปมปัญหาดังกล่าวนั้น บอร์ด รฟม. กังวงที่รัฐบาลต้องมาเสี่ยงกับการเข้ามารับภาระดำเนินการโครงการดังกล่าวต่อ และบอร์ดในฐานะผู้อนุมัติโครงการอาจจะต้องรับผิดชอบหากเกิดความเสียหายขึ้นภายหลังขณะนี้ในส่วนของโครงการรถรางไฟฟ้ารางเบา หรือ แทรม ในต่างจังหวัดนั้น เฉพาะเชียงใหม่ วงเงินทั้งสิ้น 27,211 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 4,435 ล้านบาท, ค่าก่อสร้างงานโยธา 15,611 ล้านบาท, ค่างานระบบและตัวรถไฟฟ้า 5,502 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ 698 ล้านบาท รายการของบสำรองที่จัดเตรียมไว้ 966 ล้านบาท ที่ภูเก็ต วงเงินลงทุน 3.48 หมื่นล้านบาท บอร์ดได้สั่งการให้ รฟม . กลับไปศึกษาเกี่ยวกับปริมาณคาดการณ์ผู้โดยสาร และนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการใหม่ เพราะในต่างจังหวัดนั้น ปัจจุบันพบว่าคนส่วนมากนิยมใช้รถจักรยานยนต์ ซึ่งสะดวกและรวดเร็วกว่า


” การก่อสร้างรถไฟฟ้าในต่างจังหวัดทั้ง 4 แห่ง คือ ภูเก็ต เชียงใหม่ โคราช และพิษณุโลกนั้น ไม่ง่าย ปัญหาใหญ่คือ
ประเด็นความต้องการใช้จริงมีมากน้อยแค่ไหน ความคุ้มค่าของโครงการ ซึ่งหากไม่คุ้มค่าเอกชนก็ไม่สนใจลงทุน”
ทั้งนี้โครงการรถรางไฟฟ้ารางเบา เชียงใหม่ สายสีแดงนั้น คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เมื่อ21
กพ. 2561 มีมติรับทราบผลการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และมอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินโครงการในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ โดยมีความเห็นให้ดำเนินการก่อสร้างครั้งละ 1 เส้นทาง ตามลำดับความสำคัญของเส้นทาง พบว่า สายสีแดงมีความสำคัญลำดับที่ 1 ตามแผนกำหนดลงมือก่อสร้างในปี 2565 แล้วเสร็จปี 2570

แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) วิ่งตามแนวเหนือใต้ เริ่มต้น
บริเวณโรงพยาบาลนครพิงค์ ออกแบบโครงสร้างเป็นทางวิ่งระดับดิน วิ่งไปตามแนวถนนโชตนา (ทางหลวง 107) จนถึงบริเวณแยกศาลเชียงใหม่ แล้วเลี้ยวขวาวิ่งตามแนวถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ไปจนถึงแยกสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ข้ามคลองชล


ประทานแล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนคันคลองชลประทาน จนถึงบริเวณสี่แยกหนองฮ่อแล้วจึง เลี้ยวซ้ายขนานไปกับถนนหนองฮ่อ (ทางหลวง1366) ไปจนถึงแยกกองกำลังผาเมือง
จุดนี้ ทางวิ่งรถไฟฟ้าสายสีแดงจะเปลี่ยนจากทางวิ่งระดับดินเป็นทางวิ่งใต้ดิน จากนั้นเลี้ยวขวาไปตามแนวถนนโชตนาอีกครั้ง ลอดผ่านทางลอดที่แยกข่วงสิงห์ ไปตามแนวถนนช้างเผือก ผ่านมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ไปจนถึงถนนมณีนพรัตน์ (ถนนเลียบคูเมืองด้านนอกฝั่งทิศเหนือ) แล้วเลี้ยวขวาไปจนถึงแจ่งหัวลิน จึงเลี้ยวซ้ายไปตามแนวถนนบุญเรืองฤทธิ์ ผ่านโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จนถึงแจ่งกู่เฮือง ไปตามถนนมหิดล (ทางหลวง 1141) ไปจนถึงแยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ วิ่งตรงไปยังแนวคลองระบายน้ำด้านข้างท่าอากาศยานเชียงใหม่ ซึ่งจะเปลี่ยนจากระดับใต้ดินเป็นทางวิ่งระดับดิน แล้ววิ่งออกไปที่ถนนเชียงใหม่-หางดง (ทางหลวงหมายเลข 108) ไปสิ้นสุดบริเวณแยกแม่เหียะสมานสามัคคี

กระทรวงคมนาคมรายงานผลการเบิกจ่ายงบปี 63 เป็นรายหน่วยงาน พบว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศ
ไทย (รฟม.) 99.77% ประมาณ 1.25 หมื่นล้านบาท, , กรมการขนส่งทางราง(ขร.) 93.41% ประมาณ 61.5 ล้านบาท เป็นต้น กระทรวงคมนาคม วางกรอบจัดทำงบฯรายจ่ายประจำปี65ไว้กว่า 2 แสนล้านบาท ใกล้เคียงกับปีงบฯ64 ที่ได้รับจัดสรรงบฯ 231,924
ล้านบาท

ร่วมแสดงความคิดเห็น