36 ปี ในการศึกษาดูแลพืชพันธุ์แก่เกษตกรไทย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร จ.เพชรบูรณ์

เกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักของประเทศไทย ประชาการส่วนไทยในปี 2563 มีทั้งสิ้น 8,094,954 ครัวเรือน ทำอาชีพเกษตร ปลูกพืชผัก พืชไร่ และชาวสวน เรามารู้จักหน่วยงานที่ให้การบริการงานวิจัย พัฒนาทดสอบพืชแก่เกษตร ประชาชนมาอย่างยาวนานกว่า 36 ปีของ “ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบูรณ์”ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบูรณ์ แต่เดิมชื่อ “สถานีทดลองพืชไร่เพชรบูรณ์” ซึ่งย้ายมาจากสถานีทดลองพืชไร่โนนสูง จ.นครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2527 ได้บุกเบิก ตำบลสะเดียง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ บนพื้นที่ขนาดทั้งหมด 522 ไร่ ในปี 2527 ได้เริ่มเปิดดำเนินการก่อตั้งโดยใช้ชื่อ “สถานีทดลองพืชไร่เพชรบูรณ์ ” จน ปี 2559 เปลี่ยนเป็น “ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบูรณ์ ” มาจนถึงปัจจุบัน มีผู้อำนวยการคนแรก นายปัญญา เอกมหาชัย คนปัจจุบัน นางอารีรัตน์ พระเพชรโดยมีบทบาทและหน้าที่หลัก ในการศึกษา วิจัยและพัฒนา ทดสอบพืช เทคโนโลยี การเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ศึกษา วิจัยและทดสอบพืชตามแผนงาน โครงการวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ผลิตและขยายเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง และกระจายพันธุ์พืชต่าง ๆ และพัฒนา ทดสอบพืชเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ศึกษาและวิจัย ทดสอบพืชตามแผนงานโครงการวิจัยของกรมวิชาการเกษตร นอกจากนี้ยังให้บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตในพื้นที่รับผิดชอบแก่เกษตรกร ประชาชน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน งานบริการวิชาการด้านพืช และปัจจัยการผลิตในพื้นที่รับผิดชอบ ถ่ายทอดเทคโนโลยี ตรวจสอบรับรองปัจจัยการผลิต ตรวจและประเมินรับรองแหล่งผลิต GAP พืช และพืชอินทรีย์ ให้เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และบริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ให้แก่ เกษตรกร ภาคเอกชน และเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งรับผิดชอบโครงการพิเศษ ควบคุมและกำกับดูแลร้านค้าจำหน่ายวัตถุอันตรายทางการเกษตร ปุ๋ยเคมี และเมล็ดพันธุ์พืชควบคุม ออกใบอนุญาตจำหน่ายวัตถุอันตรายทางการเกษตร ปุ๋ยเคมี และเมล็ดพันธุ์พืชควบคุม ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย ปุ๋ยเคมี และเมล็ดพันธุ์พืชงานวิจัยพืชเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยดำเนินงานโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตำบลวังชมภู อำเภอเมือง โครงการแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ งานวิจัยพืชท้องถิ่นเฉพาะพื้นที่คือ มะขามหวาน โดยศูนย์ฯ ได้วิจัยและพัฒนาการผลิตมะขามหวานเพชรบูรณ์ ที่มีคุณภาพและเพิ่มผลผลิตสูง งานด้านผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต การดำเนินงานผลิตเมล็ดพันธุ์ดี คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมนครสวรรค์ 3 ถั่วเขียว ผิวมันชั้นพันธุ์จำหน่าย และท่อนพันธุ์มันสำปะหลังสำหรับเกษตรกร และผู้ที่สนใจ ตลอดการทำงานศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบูรณ์ ที่ยังคงมุ่งมั่น ศึกษา วิจัย พัฒนา พืชพันธุ์ต่างเพื่อให้เกษตรมีคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมที่ดี
ติดต่อ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบูรณ์ 97 ม.10 ต.สะเดียง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ 67000 โทร.056 720 706, E-mail:[email protected], www.doa.go.th/ac/phetchabun

ร่วมแสดงความคิดเห็น