พาว ซุยยากุ เอสเซนซ์ 4 งานวิจัยรับรอง จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

“ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพร พาว ซุยยากุ เอสเซนส์” เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการค้นคว้าและวิจัยมากกว่า 1 ทศวรรษ หรือราว 10 กว่าปี เพื่อให้ได้กระบวนการผลิตที่เหมาะสม ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ โดยเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่พัฒนาขึ้นจากกระบวนการวิจัย พัฒนา หรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์ด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผ่านการพิจารณารับรองโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะสามารถขึ้นทะเบียนให้อยู่ในบัญชีนวัตกรรมไทย  ถือเป็น “นวัตกรรมไทย        เจ้าแรก” ที่ได้จากการบูรณาการเทคโนโลยี การนำส่งจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เข้ากับการผลิตเครื่องดื่มสมุนไพร เพื่อเพิ่มคุณประโยชน์ต่อสุขภาพให้แก่เครื่องดื่ม

มีส่วนประกอบหลักมาจากใบ และยอดอ่อนของ “พลูคาว” และยังมีส่วนประกอบของสมุนไพรอีก 10 ชนิดที่ล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพ การนำสมุนไพรเหล่านี้มาผ่านกระบวนการผลิตด้วยวิธีที่เหมาะสม จึงทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ “พาว ซุยยากุ เอสเซนส์” เครื่องดื่มสมุนไพรที่รวมคุณค่าของสมุนไพรหลากหลายชนิด เพื่อการบำรุงสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์

“พลูคาว” พืชสมุนไพรท้องถิ่นของภาคเหนือ ที่มีคนรู้จักในนามของคาวตอง พืชสมุนไพรพื้นบ้าน สำหรับใช้เป็นผักเครื่องเคียงในเมนูอาหารของชาวเหนือ ได้ถูกนำมาศึกษาวิจัยกันอย่างต่อเนื่องด้วยเส้นทางงานวิจัย โดยบริษัท        ซีเอ็มเอช เชียงใหม่โฮลดิ้ง จำกัด ตั้งแต่ปี พ.ศ.  2554 จนถึง ปัจจุบัน รวมเป็นระยะเวลายาวมากกว่า 10 ปี ทำให้มีงานวิจัยรองรับมากถึง 4 ฉบับ ตลอดจนพัฒนาจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่ได้รับการขึ้นบัญชีนวัตกรรมแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน จึงกล่าวได้ว่า เราเป็น “บริษัทผู้นำของสมุนไพรพลูคาวสกัด” ผลงานภายใต้โครงการวิจัย  จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ร่วมกับ  บริษัท ซีเอ็มเอช เชียงใหม่โฮลดิ้ง จำกัด จำนวน 4 ฉบับดังนี้

งานวิจัยที่ 1 ปี พ.ศ. 2554  เรื่อง  การวิเคราะห์ค่าทางโภชนาการ  สาระสำคัญและฤทธิ์การต่อต้านอนุมูลอิสระของน้ำผลไม้ผสมสมุนไพรพร้อมดื่ม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกสิทธิ์ จงเจริญรักษ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยใช้สารสกัดพลูคาวจากงานวิจัยนั้น  มีสารประกอบฟีนอลิก และฟลาโวนอยด์เป็นองค์ประกอบ สารหลักที่พบคือ epicatechin ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ และลดการเกิดออกซิเดชันของไขมันในหลอดเลือด (เอกสิทธิ์, 2554)

งานวิจัยที่  2 ปี พ.ศ. 2556   เรื่อง การพัฒนากระบวนการผลิตพลูคาวผสมน้ำผลไม้และสมุนไพรได้มาซึ่งจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ (Probiotics)  โดยอาจารย์ อิศรพงษ์  พงษ์ศิริกุล พัฒนาการเทคโนโลยีการผลิต  ให้มีความเฉพาะเจาะจงเพื่อได้สารออกฤทธิ์ในปริมาณ จากการค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตเทคนิคพิเศษ สามารถนำส่งจุลินทรีย์กลุ่มกรดแลคติก (Lactic acid bacteria หรือ LAB) สามารถจดอนุสิทธิบัตรวิธีการผลิต (อิสรพงษ์, 2556)

งานวิจัยที่ 3 เรื่อง  ปี พ.ศ. 2558  การศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากใบพลูคาวเพื่อยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันในเชิงพาณิชย์ของผลิตภัณฑ์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกสิทธิ์ จงเจริญรักษ์ พบว่าเมื่อศึกษาวิจัยถึงฤทธิ์ทางชีวภาพในหลอดทดลอง พบว่าสามารถยับยั้งอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น และการเกิดโรคเรื้อรัง กลุ่มโรค NCDs ชนิดไม่ติดต่อ เช่น มะเร็ง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น และยังสามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งได้หลายชนิด ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งช่องปาก มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่วนในการศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์ พบว่าไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ไตของลิง และเซลล์ผิวหนังของมนุษย์

งานวิจัยที่ 4 เรื่อง ปี พ.ศ. 2563 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกสิทธิ์  จงเจริญรักษ์ ได้ทำการศึกษาต่อเนื่อง โดยมุ่งสร้างเอกลักษณ์ในส่วนของกระบวนการผลิตของสารสกัดจากใบพลูคาว เพื่อยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันในเชิงพาณิชย์ของผลิตภัณฑ์ โดยเลือกใช้ นวัตกรรมการย่อยด้วยกลุ่มของเอ็นไซม์เฉพาะเจาะจง (Enzyme Hydrolyses (EN.HYDRO) เพื่อผลิตโมเลกุลของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในรูปฟอร์มที่มีขนาดเล็กลง ทำให้มีกิจกรรมทางชีวภาพใหม่เกิดขึ้นและยังทำให้เกิดการดูดซึมได้ง่ายยิ่งขึ้น นำส่งสารออกฤทธิ์เข้มข้นขึ้นกว่างานวิจัยตัวก่อน (เอกสิทธิ์, 2563)  นอกจากนี้ “พลูคาวสกัดเข้มข้น” จากงานวิจัย จึงเป็น เอกสิทธิ์ 1 เดียวในประเทศไทย ทั้งในกระบวนการผลิตในรูปแบบเครื่องดื่ม แบบผงผงบรรจุ เป็น อนุสิทธิบัตร  2 ฉบับ

นอกจากงานวิจัยต่อเนื่องทั้ง 4 ฉบับแล้ว ยังมีงานวิจัยทั้งในไทยและต่างประเทศ เกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพลูคาวสกัด ว่านอกจากมีส่วนในการลดการอักเสบ เพิ่มอัตราการรอดชีวิตของเซลล์ที่ติดเชื้อ HIV-1  ลดการลุกลามของเชื้อไวรัสเริม และอีสุกอีใส นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการ “ต่อต้านไวรัส” มีงานวิจัยอ้างอิงถึงผลยับยั้งเชื้อ SARS-CoV ที่เป็นสาเหตุของโรค severe acute respiratory syndrome (SARS) โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์      3C-like protease (3CLpro) และ RNA-dependent RNA polymerase (RdRp) ซึ่งเป็นเชื้อกลุ่มเดียวกันกับ       โคโรน่าไวรัส  ที่ก่อให้เกิดโรค Covid – 19  ในปัจจุบัน

จากงานวิจัยทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ได้นำมาต่อยอดเชิงพาณิชย์ ให้เป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยใช้ “พลูคาวสกัดเข้มข้น” (Essence, Extract) ที่ได้จากงานวิจัย  ร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ ตามแต่วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ต่างกันในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มุ่งพัฒนาสารสกัดพลูคาวจากงานวิจัย จนสามารถผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ให้ผลได้จริง

ร่วมแสดงความคิดเห็น