ใช้ชีวิตให้คุ้มในช่วง COVID

สถานการณ์ปัจจุบันค่อนข้างเป็นไปทางลบ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การหารายได้ของบุคคล การดำรงชีวิตต่าง ๆ เรียกได้ว่า วิกฤตทั่วโลก เนื่องมาจาก มีโรคติดต่อที่ค่อนข้างน่ากลัวและติดต่อง่าย ซึ่ง โรคนี้เกิดจาก ประเทศอู่ฮั่น สู่การแพร่กระจายไปทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยเราก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เรียกได้ว่า แม้ว่าจะควบคุมได้มันก็สามารถกลับมาได้เสมอ ยิ่งไม่มีความป้องกันใด ๆ มันก็จะวนลูบอยู่ไม่สิ้นสุด โรคนี้คนทั่วโลกเรียกกันว่า Covid-19 ซึ่งปัจจุบันยังไม่สามารถควบคุมมันได้ 100% แต่ทางการสหรัฐก็ได้ริเริ่ม ค้นหาวัคซีนต้านโรค จนสำเร็จและเริ่มทยอยแจกจ่ายสู่ประชาชน ส่วนประเทศไทยนั้นยังไม่ได้นำเข้าวัคซีน จึงต้องรอกันต่อไป ไม่ว่าจะได้หรือไม่ มันล้วนมีวิธีป้องกันเบื้องต้น นั่นคือการใส่แมสตลอดเวลาที่ออกไปไหนมาไหน พกเจลแอลกอฮอล์ และเซฟตัวเองให้ดี เปิดไทม์ไลน์ผ่านมือถือตนเอง

ถ้าเราทำวิธีเซฟเบื้องต้นก็จะช่วยลดการแพร่กระจายโรคนั่นเอง หรือ กักตัวอยู่บ้านไปยาว ๆ ก็ช่วยทำให้สบายใจได้ส่วนหนึ่ง แต่มันก็ก่อให้เกิดปัญหาด้านการเงินของใครหลาย ๆ คน เพราะอาจจะอยู่ในช่วงที่รัฐบาลสั่ง Lock Down หรือ ปิดสถานที่ชั่วคราว จึงทำให้ต้องอยู่บ้านกันยาว ๆ ยาวจนเบื่อไม่รู้จะหาอะไรทำ เงินก็ร่อยหรอ มาตรการช่วยเหลือก็ต้องแย่งชิงกัน มันจึงทำให้คนโดนกักตัวแบบพวกเรามีความทุกข์มากกว่าความสุข แต่การกักตัวมันก็ไม่ได้มีความแย่เสมอไป อาจจะแค่เบื่อ แค่นั้นเอง มันยังมีวิธีหลาย ๆ วิธี ที่ทำให้คนเรา Happy หรือ ได้ผลประโยชน์จากเรื่องต่าง ๆ ได้ อยู่ที่เราว่าเราจะเริ่มกับมันยังไงแค่นั้นเอง และเวลานี้หล่ะมันยิ่งทำให้เราอยู่กับตัวเองมากขึ้น อย่าปล่อยเวลาให้ผ่านไปเฉย ๆ ลองใช้เวลาช่วง Covid นี้ให้คุ้มค่าสิ

วันหยุดยาวอันแสนน่าเบื่อ หยุดจนต้องระบายผ่านโซเชียล หานุ่นหานี่ทำ อาหารก็หาซื้อยาก ก็ต้องไปตามหาซื้อมาม่า อาหารแห้งมากักตุน เบื่อกับเมนูเดิม ๆ คนเรามักจะชอบทำอะไรซ้ำ ๆ หรืออะไรที่ทำประจำก็จะทำ บางคนขี้เกียจมากก็นอนมันทั้งวัน เรียกได้ว่านอนซ้อมตายเลยก็ว่าได้ ฮ่า ๆ แต่มันจะมีความคิดเข้ามาในหัวเราแว้บ ๆ นึงว่า เห้ย ทำแบบนี้มันเหมือนให้เวลาผ่านไปเฉย ๆ ไร้ประโยชน์ เสียดายวันเวลา ใช่ มันค่อนข้างไม่คุ้มเลยกับการใช้ชีวิตแบบนี้ ลองคิดแบบนี้ว่า อะไรที่เราชอบ เราอยากทำ อยากศึกษา อยากเรียน อยากเล่น อยากดู ฯลฯ ลงมือเลย อะไรที่เป็นไปไม่ได้ หรือไม่มีความพร้อม ไม่มีอุปกรณ์อะไรก็แล้วแต่ อย่าพึ่งยุติความคิดที่จะลงมือ หาวิธีแก้ หาความรู้ใส่สมุดหรืออะไรที่สามารถจดความรู้นั้นได้ สมองของเราก็เป็นส่วนหนึ่งนะ ถ้าเป็นคนความจำดี ก็สามารถดูและจดจำ ความรู้ที่เราสนใจนั้นได้เลย ยิ่งเราทำมันซ้ำ ๆ ล่ะก็ บอกเลยว่าสิ่งที่เราตั้งใจมันจะมีความเป็นไปได้สูงมาก อยู่ที่ว่าจะช้าหรือเร็ว

คนเราล้วนมีความสามารถและความชอบแตกต่างกันไป แต่ทั้งหมดทั้งมวลที่พูดไป นั่นคือการหาประโยชน์ใส่ตัวเองล้วน ๆ แต่ก็ควรที่จะมีความพอดีกับมัน บางคนเครียดเพราะทำไม่ได้ จำไม่ได้ มันต้องค่อยเป็นค่อยไป ใช้คำว่าเรื่อย ๆ อย่าไปกดดันมัน ระหว่างทางเราก็ควรหาวิธีผ่อนคลายให้ตัวเองบ้าง เช่น ดูซีรีย์ ดูหนัง เล่นเกมส์ เล่นกับหมาแมว คุยโทรศัพท์กับเพื่อน หรือบางคนอยากลดหุ่นก็ควรหาวิธี ดูดไขมันหน้าท้อง ในทางที่ดี เช่น เบิร์น เผาผลาญ ออกกำลังกาย แค่นี้มันก็คุ้มแล้วที่เราไม่ปล่อยให้เวลาผ่านไปแบบไร้ประโยชน์ และอีกอย่างไม่ต้องมาเสียดายเวลาที่หลังอีกด้วย มีอะไรอยากทำก็ลงมือซะ หรือบางคนอยากท่องเที่ยว ก็ต้องทำใจกับมันไว้ก่อน เก็บมันไว้ในใจและระบายกับมันหลังโควิดได้เลย

วิธีหาความสุขในพื้นที่จำกัดนั้น ก็ค่อนข้างยากสำหรับใครหลาย ๆ คน เพราะมันอาจทำให้รู้สึกเบื่อง่ายเวลาลงมือทำอะไรสักอย่าง แต่มันก็อยู่ที่ส่วนบุคคล บางคนมีฐานะมากพอเขาก็คงไม่ได้มานั่งเครียดอะไรมาก แต่ก็ไม่ใช่กับคนที่มีฐานะทุกคน เพราะสถานการณ์แบบนี้ก็ทำให้ธุรกิจขาดทุนได้ กับคนชนชั้นกลางอย่างเราที่บางคนต้องหาเช้ากินค่ำ พอถูกปิดสถานที่ ก็ต้องหยุดนอนอยู่บ้าน บางคนได้รายวัน ยิ่งลำบากหนักเข้าไปใหญ่ ในเมื่อสถานการณ์มันเป็นแบบนี้สิ่งหนึ่งที่เราต้องทำให้ได้คือ การทำใจกับมันและยอมรับกับมันให้ได้ อย่าได้เอามาทำร้ายตัวเองหรือคิดมากจนเกินไป เราไม่ได้สู้กับวิกฤตนี้เพียงลำพัง เรายังมีเพื่อนพี่น้องร่วมพื้นที่และทั่วประเทศที่เขาต้องสู้ไปกับเรา ยังมีคนอีกมากมายที่ลำบากกว่าเรา เราต้องมองตรงนี้ว่าเขาสู้ เราก็ต้องสู้ ยังไงชีวิตคนเราต้องเดินหน้าต่อไป บวกกับความคุ้มของเวลาก็ทำให้เรา Happy กับมันได้ อาจจะมีท้อหรือทุกข์กับมันบ้าง แต่อย่างน้อยเราก็ได้ประโยชน์กับสิ่งที่เราตั้งใจ บางคนอาจจะเพิ่มสกิลการทำอาหาร ซ่อมเครื่องต่าง ๆ วาดรูป หรืออะไรต่าง ๆ ที่เราอยากทำมันจริง ๆ อย่างน้อยเราก็ใช้เวลากักตัวนี้ได้คุ้มค่าแล้วหล่ะ ความเครียดมันไม่ได้ช่วยอะไร พยายามสู้กับมันและพวกเราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน สู้ ๆ

ที่มาภาพประกอบ: (1) Dylan Ferreira / (2) Sarah Brown / (3) Vesna Harni 

ร่วมแสดงความคิดเห็น