อบจ.ลำพูน นำร่องการแพทย์ฉุกเฉินการแพทย์ ระบบดิจิทัล (Digital EMS 1669)

ครั้งแรกของประเทศไทย จังหวัดลำพูนโมเดลต้นเเบบ นำร่องระบบการแพทย์ฉุกเฉินการแพทย์ ระบบดิจิทัล (Digital EMS 1669) ก้าวสู่การแพทย์ไทยยุคใหม่สู่ท้องถิ่น รวดเร็วทันต่อเวลาสถานการณ์ และให้เกิดการช่วยเหลือประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เริ่มทดลองใช้ครั้งเเรกวันที่ 17 มีนาคม นี้

องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน(อบจ.ลำพูน) ร่วมกับ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.) และบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด(มหาชน) เปิดระบบศูนย์แจ้งเหตุและสั่งการ ระบบ Telemedicine ในรถปฎิบัติการฉุกเฉินระดับสูงของโรงพยาบาลลำพูน และ โรงพยาบาลลี้ จำนวน 2 คัน และ ระบบ AVLS และในรถปฎิบัติการฉุกเฉินระดับพื้นฐานและระดับต้นให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ในจังหวัดลำพูน จำนวน 31 คัน

ทั้งนี้ จังหวัดลำพูนถือเป็นโมเดลต้นแบบในความพร้อม โดยเปิดทดลองใช้ครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 17 มีนาคม 2564 นี้นำร่องเป็นต้นแบบโมเดลนำร่องระบบการแพทย์ฉุกเฉินการแพทย์ ระบบดิจิทัล (Digital EMS 1669) โดยนำนวัตกรรมอุปกรณ์ และระบบบริการดิจิทัล ให้ผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน สามารถดำเนินการส่งภาพ และเสียงระบบเรียลไทม์ (Realtime) สามารถรู้พิกัดจุดเกิดเหตุ โดย GPS ที่ติดตั้งมาในรถ ได้อย่างแม่นยำ เพื่อส่งทีมกู้ชีพออกปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที พร้อมอุปกรณ์กล้องปฎิบัติการภายในรถแบบ 360 องศา โดยแพทย์จะรู้ถึงสัญญาณชีพหรือคลื่นหัวใจของผู้ป่วย แพทย์จะเห็นคนไข้ผ่านกล้อง สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยทราบอาการผู้ป่วยได้แบบทันที ในระหว่างเดินทางนำส่งโรงพยาบาล เพื่อลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต

โดย อบจ.ลำพูน ได้ดำเนินการเปิดกิจกรรมการอบรมระบบการแพทย์ฉุกเฉินการแพทย์ ระบบดิจิทัล (Digital EMS 1669) อบรมเจ้าหน้าที่รถปฏิบัติการ FR/BLS ทุกหน่วย จำนวน 60 คน / ซึ่งได้รับความรู้ จาก ดร.นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ พร้อมทีมงาน ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย เป็นแพทย์อำนวยการปฎิบัติการฉุกเฉิน พยาบาลผู้ปฎิบัติงานประจำห้องศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ พร้อมเจ้าหน้าที่ประจำรถปฎิบัติการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง รวมทั้งเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลแม่ข่ายทุกแห่งในจังหวัดลำพูน เพื่อยกระดับบุคลากรในการเรียนรู้และเข้าใจในการพัฒนาของระบบการแพทย์ฉุกเฉินการแพทย์ ระบบดิจิทัล (Digital EMS 1669) พร้อมก้าวสู่การพัฒนาไม่หยุดยั้งสู่ Next Generation (Digital EMS 1669)ต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น