ปภ.รู้รับ – รู้ทัน – ป้องกันภัยแล้ง ลดวิกฤตขาดแคลนน้ำ

ภัยแล้ง เป็นภัยที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และสร้างความเสียหายต่อผลผลิต
ทางการเกษตร เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)
ขอแนะข้อควรปฏิบัติเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือ และลดผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ดังนี้

ฤดูกาลเกิดภัยแล้ง ได้แก่
– ช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องฤดูร้อน (ปลายเดือนตุลาคม – กลางเดือนพฤษภาคม) บริเวณประเทศไทยตอนบน จะมีฝนตกน้อยหรือไม่มีฝนตก มักเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี
– ช่วงกลางฤดูฝน (ปลายเดือนมิถุนายน – เดือนกรกฎาคม) มักเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ประมาณ 1 – 2 สัปดาห์
หรือยาวนานถึง 1 เดือน มักเกิดขึ้นเฉพาะพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง หรือครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ
ข้อควรปฏิบัติเพื่อลดผลกระทบจากวิกฤตขาดแคลนน้ำภาคประชาชน
– ใช้น้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่า โดยปิดก๊อกให้สนิททุกครั้ง ใช้ภาชนะรองน้ำพร้อมนำน้ำที่เหลือไปใช้ประโยชน์
– เตรียมภาชนะกักเก็บน้ำ โดยจัดหาและซ่อมแซมให้พร้อมสำหรับสำรองน้ำไว้อุปโภค-บริโภค
– เลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำ ติดตั้งอุปกรณ์เติมอากาศที่ก๊อกน้ำฝักบัว หรือชักโครก เพื่อเพิ่มแรงดันน้ำ และลดปริมาณการใช้น้ำ
– หมั่นตรวจสอบการรั่วซึมของน้ำ โดยปิดก๊อกน้ำทุกตัว จดเลขมาตรวัดน้ำไว้ หากมีการเปลี่ยนแปลงแสดงว่ามีน้ำรั่วซึม ให้รีบซ่อมแซม

เกษตรกร

การจัดการดิน โดยรักษาความชื้นในดิน โดยไถพรวนดินอยู่เสมอ ไม่เผาตอซัง โดยใช้วิธีไถกลบแทน นำวัสดุมาคลุมหน้าดิน
การจัดการน้ำ โดยติดตามสถานการณ์น้ำ และแผนการจัดสรรน้ำในพื้นที่ วางแผนการใช้น้ำ ให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนในพื้นที่ รวมถึงสร้างระบบกักเก็บน้ำในพื้นที่ งดทำนาปรังช่วงฤดูแล้ง เพื่อป้องกันนาข้าวเสียหายจากการขาดแคลนน้ำ

การจัดการพืช โดยปลูกพืชอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อย งดทำนาปรังช่วงฤดูแล้ง เพื่อป้องกันนาข้าวเสียหายจากการขาดแคลนน้ำ

ภาคอุตสาหกรรม
– จัดหาแหล่งน้ำสำรองและกักเก็บน้ำไว้ใช้ พร้อมวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำในพื้นที่
– ตรวจสอบระบบการจัดสรรน้ำ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ทั้งท่อส่งน้ำ ระบบการกระจายน้ำและระบบบำบัดน้ำเสีย
– เลือกใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีประหยัดน้ำ เพื่อลดการสิ้นเปลืองน้ำและนำน้ำหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่

หลัก 3 R คือ Reduce ลดการใช้น้ำ Reuseใช้น้ำ Recycle นำกลับมาใช้ใหม่
การใช้น้ำที่มีปริมาณจำกัดประโยชน์สูงสุด ตามหลัก 3R โดยลดการใช้น้ำ (Reduce) ใช้น้ำซ้ำ (Reuse) และนำน้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) รวมถึงวางแผนการใช้น้ำให้สอดคล้องกับแผนจัดสรรน้ำ และปริมาณน้ำต้นทุนในพื้นที่ จะช่วยลดผลกระทบวิกฤตการณ์ขาดแคลนน้ำได้

ปัจจุบันภัยแล้งได้ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยทุกภาคส่วนได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำ ทั้งการดำเนินชีวิตของประชาชน ภาคเกษตร และภาคอุตสาหกรรม การใช้น้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่า ทั้งการหมั่นตรวจสอบรอยรั่วซึม

การจัดเตรียมภาชนะสำรองน้ำไว้ การวางแผนการใช้น้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน หันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อย รวมถึงงดทำนาปรัง จัดหาแหล่งน้ำสำรอง และกักเก็บน้ำ การเลือกใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีประหยัดน้ำ จึงเป็นแนวทางที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในช่วงภัยแล้งได้

ร่วมแสดงความคิดเห็น