ปภ.แนะรับมือเหตุฉุกเฉินในพื้นที่สาธารณะ … ลดเสี่ยงอันตราย

เหตุฉุกเฉินรุนแรงในพื้นที่สาธารณะ ถือเป็นภัยใกล้ตัวที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ซึ่งก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิต การเรียนรู้วิธีการปฏิบัติตนอย่างถูกวิธี จะทำให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้อย่างปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย

โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขอแนะวิธีรับมือเหตุฉุกเฉินรุนแรงในพื้นที่สาธารณะ เตรียมพร้อมรับมือเหตุรุนแรง ให้ปฏิบัติ ดังนี้

  • สังเกตสัญลักษณ์ทางออก บันไดหนีไฟ ประตูทางออกฉุกเฉิน รวมถึงศึกษาแผนผังอาคาร เพื่อใช้เป็นข้อมูล
    ในการหนีออกจากจุดเกิดเหตุได้อย่างปลอดภัย
  • เตรียมอุปกรณ์สื่อสารให้พร้อมใช้งาน โดยใช้แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือให้เต็ม พกพาแบตเตอรี่สำรองและสายชาร์จติดไว้ในกระเป๋าเสมอ
  • จดจำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการแจ้งเหตุ โดยเฉพาะรายละเอียดของเหตุการณ์ ตำแหน่งที่เกิดเหตุ
  • สังเกตความผิดปกติรอบตัว กรณีมีเสียงดังคล้ายปืน เสียงระเบิดหรือความตื่นตกใจ เกิดความโกลาหล
    ให้หาทิศทางและแหล่งที่มาของเสียง เพื่อจะได้หนีออกจากจุดเกิดเหตุได้อย่างรวดเร็ว
  • จดจำหมายเลขโทรศัพท์เหตุฉุกเฉิน อาทิ สายด่วน 191 สายด่วน 1669 สายด่วนนิรภัย 1784

ซ่อนเมื่อไม่สามารถหนีออกจากจุดเกิดเหตุได้ ให้ปฏิบัติ ดังนี้

  • หาที่กำบังตัว โดยหลบใต้โต๊ะและตู้ที่แข็งแรง หลีกเลี่ยงการซ่อนตัวในที่อับตาย
  • ล็อคประตูให้แน่นหนา หาโต๊ะ ตู้ หรือวัตถุที่หนักละมั่นคงกันประตูไว้
  • ขอความช่วยเหลือผ่านช่องทางที่ไม่มีเสียง อาทิ SMS LINE facebook
  • รีบหนีออกจากที่หลบภัยทันที เมื่อเส้นทางออกจากจุดเกิดเหตุและมีความปลอดภัย
  • ไม่อยู่ในบริเวณเสียงอันตราย อาทิ ริมหน้าต่าง ประตูที่เป็นกระจก

หนีจากจุดเกิดเหตุได้โดยเร็ว ให้ปฏิบัติ ดังนี้

  • ตั้งสติ และหนีออกจากจุดเกิดเหตุได้เร็วที่สุด
  • หลีกเลี่ยงการใช้เส้นทางที่ไม่ปลอดภัย เช่น ที่คับแคบและมีคนหนาแน่น
  • ทิ้งสิ่งของหรือสัมภาระที่ไม่จำเป็น เพื่อให้หนีออกจากจุดที่เกิดเหตุได้คล่องตัว
  • ช่วยเหลือคนรอบข้าง หากสามารถให้การช่วยเหลือได้อย่างปลอดภัย
  • โทรแจ้งเหตุฉุกเฉินทันที เมื่ออยู่ในพื้นที่ปลอดภัย อาทิ แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย 191 สายด่วนนิรภัย 1784

รู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นช่วยเหลือชีวิตรอดปลอดภัย ให้ปฏิบัติ ดังนี้

  • การห้ามเลือด ใช้มือกดนิ่งๆ บริเวณที่มีเลือดออกไว้ เพื่อให้หลอดเลือดหดตัว ซึ่งจะช่วยห้ามเลือดได้
    กรณีแผลใหญ่ให้ใช้ผ้าสะอาดปิด บริเวณแผลและใช้มือกดค้างไว้ เพื่อจะห้ามเลือด

เหตุฉุกเฉินในพื้นที่สาธารณะส่วนใหญ่ มักสร้างความสูญเสียให้แก่ชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมาก การเรียนรู้วิธีปฏิบัติตนเพื่อรับมืออย่างปลอดภัย การหมั่นสังเกต ทั้งป้ายสัญลักษณ์ทางออก บันไดหนีไฟ ประตูทางออกฉุกเฉิน แผนผังอาคาร การเตรียมอุปกรณ์สื่อสารให้พร้อมใช้งาน จดจำข้อมูลในการแจ้งเหตุ เพื่อขอความช่วยเหลือ เช่น ตำแหน่งที่เกิดเหตุ และหมั่นสังเกตความผิดปกติรอบตัว เช่น เสียงต่างๆ จะเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถช่วยให้เอาตัวรอด ได้จากเหตุการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่สาธารณะ

ร่วมแสดงความคิดเห็น