ทำบุญบวงสรวงอนุสาวรีย์ ครบรอบวันเกิดเจ้าทิพวัน กฤษดากร ณ อยุธยา ต.จ.ณ เชียงใหม่

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2564 นายก สุพิศ เถียรทิม นายกเทศมนตรีตำบลหนองหาร พร้อมคณะผู้บริหาร และ สมาชิก เทศบาลตำบลหนองหาร พร้อมทั้งชาวบ้านและผู้นำชุมชน โดยมีนายชิน เถียรทิม กรรมการผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วน จำกัด โอ.เค. เมล็ดพันธุ์ ผุ้ร่วมก่อตั้ง ร่วมทำบุญ บวงสรวงอนุสาวรีย์ ครบรอบวันเกิดเจ้าทิพวัน กฤษดากร. ณ.อยุธยา ต.จ.ณ.เชียงใหม่ ผู้ก่อตั้งและอุทิศที่ดินสร้างวัดทิพวนารามพร้อมทั้งโรงเรียนหนองหาร อ. สันทราย จ.เชียงใหม่ เจ้าทิพวัน กฤดากร ณ อยุธยา ต.จ. ณ เชียงใหม่ ผู้ก่อตั้ง วัดทิพวนาราม และโรงเรียนบ้านหนองหาร (ทิพวันอุทิศ) สาละวินในสมัยเจ้าอินทรวิชยานนทร์ครองเมืองเชียงใหม่มารดา เจ้าแม่ปีมปา (พิมพา) กนิษฐาของเจ้าอินทรวิชยานนทร์เกิด วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน 2426 มีพี่น้อง 3 คน คือ1. เจ้าน้อย เทพวงค์ ณ เชียงใหม่ (เจ้าป๊อก)2. เจ้าทิพวัน กฤดากร (เจ้าเส้า) 3. เจ้าจันทร์รังษี ณ เชียงใหม่ (เจ้าหน้อย)

พ.ศ.2439 ได้เข้าถวายตัวต่อราชชายาเจ้าดารารัศมี พ.ศ.2445 ได้เสกสมรสกับพลเอกพะวรวงค์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช บัญชาการทหารบกมณฑล1 พ.ศ.2452ได้ตามเสด็จพระองค์เจ้าบวรเดชเมื่อทรงรับตำแหน่ง เอกอัคราชทูตไทยประจำกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส 3 ปี และได้มีโอกาสสนองพระเดชพระคุณในการถวายพระอภิบาลแก่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และเจ้านายเล็กๆ ที่เสด็จไปทรงศึกษาอยู่ในยุโรปในเวลานั้นและพระองค์ในฐานะเป็นกรรยาเอกอัครราชทูตสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนารถ พระพันปีหลวงก็ได้ทรงพระเมตตา เป็นพิเศษ

พ.ศ.2455 หลังจากกลับจากกรุงปารีส พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตติยจุลจอมเกล้า ชั้น ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) และได้รับพระราชทานเหรียญพระบรมรูปสมเด็จพระพันปีหลวงลงยาประดับเพชรและเหรียญพระบรมนามาภิไธย ย่อ ผ.ส. ประดับเพชรด้วย พ.ศ.2458 ได้กลับมาอยู่นครเชียงใหม่ในนามพระชายาสมเด็จพระอุปราชฯ ซึ่งต่อมาได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการพ.ศ.2464 ได้ทรงมาตั้งหลักแหล่งอยู่ ณ บ้านแม่หนองหารอำเภอสันทราย จ.เชียงใหม่ ในฐานะกสิกรหญิงผู้หนึ่งพ.ศ.2497 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7)ได้เสด็จประภาส เชียงใหม่ ท่านได้ทรงพ้อนถวายในขบวนแห่รับเสด็จเป็นคู่หน้าของขบวนฟ้อนเจ้าหญิงฝ่ายเหนือทรงได้รับพระราชทานรัตนาภรณ์ในครั้งนี้

พ.ศ.2482 ได้อุทิศที่ดิน 9 ไร่ เพื่อสร้างวัดและเป็นประธานในการก่อสร้าง เสนาสนะพ.ศ.2483 ได้อุทิศที่ดิน ๑0 ไร่ ก่อสร้างโรงเรียนประชาบาลประจำตำบล แม่หนองหาร (ทิพวันอุทิศ) ซึ่งปรากฏตามนามชื่อท่าน พร้อมกับ
บ้านพักครูใหญ่อีก 1 หลัง

ผู้ดำเนินการก่อตั้ง นางสุพิศ เถียรทิม นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลหนองหารนายชิน เถียรทิม กรรมการผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วน จำกัด โอ.เค. เมล็ดพันธุ์นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
นายสุพล ณวิชัย ดร.สุพจน์ กองเงิน ดร.การุณ คุณยศยิ่ง ส.อบจ.เชียงใหม่นายเดชณรงค์ชัย นางนิศาคร พรมลี บริษัทสยามสตาร์ ซีสด์ จำกัดนายพิชิตชัย ชูสุวรรณ์ นางฉวีวรรณ ภู่ประดิษฐ์ บริษัท เฮง เฮง เฮง ไดเรค กรุ๊ป จำกัดนายพัฒน์ชรัช นางอิสราภรณ์ รัตนพุทธพบูลย์ บริษัท บัวทองเอ็กซ์ซิบิชั่น กรุ๊ป จำกัดดร.อานนท์ สุทนต์ บริษัทซุปเปอร์เคมีคอลมาเก็ตติ้ง จำกัด กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๓นายเจริญ คำนใจ กำนันตำบลหนองหารนางพัทธนันท์ อุ่นใจ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลหนองหาร และครอบครัวร.ศ.สุภาพ นายสุเทพ ณ เชียงใหม่นางกาญจนา ต่อนคำสนธิ์ นายสอน ก๋องเงินนายพุฒ อุทาเลิศ ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลหนองหารนายบุญเรือง โปธาเจริญ อดีตเลขานุการนายกเทศมนตรีฯสมาชิกสภาทศบาลตำบลหนองหาร และเจ้าหน้าที่พนักงานเทศบาลตำบลและคณะศรัทธาประชาชนชาวหนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ งบประมาณการก่อสร้าง 385,219 บาท

ร่วมแสดงความคิดเห็น