ประกาศกฎกระทรวง จัดการศาสนสมบัติวัดทั่วประเทศ

เครือข่ายชาวพุทธ จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า ตามที่มีประกาศกฎกระทรวง เรื่อง การดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด พ.ศ.2564 ซึ่งประกาศออกมาในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 16 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยเหตุผลของประกาศนี้ สืบเนื่องจาก พ.ร.บ.สงฆ์ พ.ศ.2505 ใช้ บังคับมานาน ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
“แม้จะมีการโอนภารกิจ บางด้านจากกรมการศาสนาเกี่ยวกับสงฆ์ไปสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) แต่ก็ยังมีความจำ เป็นต้องออกประกาศกฎกระทรวง มาดูแลจัดการ ในหลายๆด้าน เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย
อาทิ ในข้อ 4 “การกันที่วัดไว้สำหรับเป็นที่จัดประโยชน์จะกระทำได้ต่อเมื่อ สำนักงาน พศ.เห็นชอบ และได้รับอนุมัติจากมหา เถรสมาคม ”
แนวทางดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดี และเหมาะสม เพราะไม่เช่นนั้น การให้เช่าที่วัด ที่ธรณ๊สงฆ์ หรือสิ่งปลูกสร้างที่ให้เจ้าอาวาส ,ไวยาวัจกรหรือคณะกรรมการวัด กำกับดูแล จะเกิดช่องโหว่ ช่องว่างแสวงหาประโยชน์ ”
นักวิชาการ สถาบันวิจัย สังคม ในมหาวิทยาลัยดัง ภาคเหนือ (เชียงใหม่ ) กล่าวว่า มีรายงาน การวิจัย เกี่ยวกับวัด ศาสนสถานที่ ใช้พื้นที่ ในความดูแล ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ เชิงพุทธพาณิชย์ หลักๆ ก็จะมีหลากรูปแบบ อาทิ การเปิดให้เช่าบูชารูปเคารพ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตามความเชื่อ ความศรัทธา , กิจกรรมหรือพิธีกรรมในลักษณะบริการตนเอง จะมีป้ายเชิญชวนทำพิธีกรรม เช่น การตักบาตรเหรียญ (หยอดเหรียญลงในบาตร) ปิดทองลูกนิมิต เป็นต้น
การเชิญชวนทำบุญบริจาคด้วยตู้รับบริจาค และเครื่องเสี่ยงทาย, การให้เช่าบูชาพระเครื่อง พระบูชา เครื่องรางของขลัง วัตถุ มงคล ถือเป็นรูปแบบที่มีมายาวนาน ,การจัดงานเทศกาลวันสำคัญตามประเพณี วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา , การเชิญชวนร่วมทำบุญสร้าง วัตถุมงคล สร้างรูปบูชาและพระพุทธรูป ทำบุญก่อสร้างสาธารณสมบัติ บูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะ ,ทำบุญไถ่ชีวิตโคกระบือ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
” จนส่งผลให้ มี วัด ที่มีรายได้มากกว่าปีละ 500 ล้านบาท /ปีขึ้นไป กว่า 50-100 แห่ง ในขณะที่วัดร้าง ไม่มีสงฆ์จำวัด
ก็มีไม่น้อย เพราะขาดปัจจัยทำนุบำรุง ดูแลรักษา ไม่มีช่องทางสร้างประโยชน์เชิงพุทธพาณิชย์ จากจำนวนวัดในไทยที่มีพระสงฆ์ 42,655 วัด เป็นวัดมหานิกาย กว่า 38,328 วัด และธรรมยุติอีก 4,288 วัด เฉพาะเชียงใหม่มีประมาณ 1,369 วัด เป็นอันดับ 6 ของประเทศ โดย นครราชสีมามากสุดมี 2,078 วัด ทั้งนี้วัด มีการผสมผสานกิจกรรม ศาสนสมบัติพื้นที่ ในการกำกับดูแล เพื่อสังคมมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การสร้างโรงเรียน, สถาน พยาบาล , สถานอบรมเผยแผ่ธรรม และกิจกรรม คอร์สบุญ ที่มีมูลค่าทางการตลาดเชิงพุทธพาณิชย์ จนสังคม ตั้งคำถาม ถึงกิจที่เหมาะสม ที่ควร
เป็นไปในวิถีสังคมยุคใหม่ว่า ต้องเป็นไปอย่างไรจึงจะเหมาะสม ดังนั้น การมีประกาศกฎกระทรวงฉบับนี้ออกมา น่าจะเป็นอีกกลไก ที่ช่วยจัดระเบียบ ควบคุม สถานที่ควรเป็นที่พึ่งพิงทางใจของ ผู้เคารพ ศรัทธา ในหลักศาสนาได้อีกด้าน
แม้จะไม่สามารถควบคุม ป้องกัน ปัญหา ที่เกิดขึ้น ปรากฎในสื่อสังคมรายวัน แต่ หลักการ เจตนารมณ์ของกฎกระทรวง น่าจะเป็นหลักยึดโยงให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสังคม ตระหนัก ในแนวทางที่เหมาะสม ป้องกันไม่ให้เกิดการใช้ สถานที่ศูนย์รวมทางจิตใจชาวพุทธเชิงพุทธพาณิชย์ หรือกระทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสมต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น