สพป.แพร่เขต 1 จัดพิธีรับตราพระราชทาน “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย”

 

……..ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ 17 ก.ย. 64 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมสพป.แพร่ เขต 1 นายอภิรักษ์ อิ่มจิตอนุสรณ์ ผอ.สพป.แพร่ เขต 1 จัดพิธีรับตราพระราชทาน “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า ซึ่งมีร.ร.เข้ารับพระราชทาน 33 โรง จากนั้นนายอภิรักษ์ อิ่มจิตอนุสรณ์ ผอ.สพป.แพร่ เขต 1 มอบเกียรติบัตรโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินเพื่อรับตราพระราชทาน”บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”ปีการศึกษา 2563 มอบเกียรติบัตรคณะกรรมการประเมินผลงานฯมอบเกียรติบัตรคณะกรรมการชมรมครูปฐมวัย มอบเกียรติบัตรโรงเรียนที่ร่วมนำเสนอผลการดำเนินงานการพัฒนาทักษะทางสมอง EF (Executive Function)


……. นายอภิรักษ์ อิ่มจิตอนุสรณ์ กล่าวว่า โครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” เป็นโครงการที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำริให้คณะกรรมการนำไปพิจารณาริเริ่มดำเนินการนำร่องในประเทศไทย ในปี2522 เพื่อส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการเตรียมความพร้อม และมีประสบการณ์ ในการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำด้วยตนเอง มีทักษะการสังเกต รู้จักตั้งคำถามและหาคำตอบ ด้วยตนเอง มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ และเทคโนโลยี และเพื่อส่งเสริมและพัฒนา การเรียนการสอนการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน


………สพป.แพร่ เขต 1 ได้ส่งเสริมสนับสนุนให้โรงเรียนในสังกัดเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 จนถึงปัจจุบัน ดังนี้ รุ่นที่ 1 พ.ศ. 2554 มี ร.ร.เข้าร่วมโครงการ 8 ร.ร. รุ่นที่ 2 พ.ศ. 2555 จำนวน 20 โรงเรียน รุ่นที่ 3 พ.ศ.2556 จำนวน 19 ร.ร. รุ่นที่ 6 พ.ศ. 2559 จำนวน 2 โรงเรียน รุ่นที่ 8 พ.ศ. 2561 จำนวน 3 ร.ร. รุ่นที่ 9 พ.ศ. 2562 จำนวน 22 ร.ร.
………ทุกโรงเรียนในสังกัดที่เข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ได้ส่งผลงานผ่านเกณฑ์การประเมินเพื่อรับตราพระราชทานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


……..จากการดำเนินงานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย และการมีส่วนร่วมของทุกภาคีเครือข่าย ได้ส่งเสริม พัฒนาให้เด็กปฐมวัย เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาไปสู่มาตรฐานที่มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น จนถึงเป้าหมายสูงสุด พัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงทุกยุค ทุกสมัย ตลอดไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น