สหพันธ์ครูภาคเหนือ (สคน.) จัดเสวนาวิชาการ ร่วมกับ สมาพันธ์สมาคมครูฯ (ส.ค.ท.)

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อ วันที่ 4 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา สหพันธ์ครูภาคเหนือร่วมกับ สมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย (ส.ค.ท.)จัดเวทีเสวนาวิชาการ เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. (ฉบับรัฐบาล) ผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา จะมีส่วนร่วมได้อย่างไร ณห้องประชุมโรงเรียนศรีเวียงสาวิทยาคาร อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน โดยมี นายวุฒิศักดิ์ เตชะบุญนายกสมาคมครูจังหวัดน่าน และคณะกรรมการบริหาร สมาคมครูน่านทั้ง 15 อำเภอ เป็นผู้เตรียมการ และอำนวยการในการจัดให้มีการเสวนาในครั้งนี้

โดยได้รับเกียรติจากคณะวิทยากรจาก 4 ภูมิภาค นำโดย ดร.วีรบูล เสมาทองประธาน ส.ค.ท.นายธีระศักดิ์ สุวรรณปัญญ าประธานสหพันธ์ครูภาคเหนือ นายประทุมเรืองฤทธิ์ ประธานสมาพันธ์ครูภาคใต้ นายวิสัย เขตสกุล เลขาธิการ ส.ค.ท. การจัดเวทีเสวนาครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่รัฐสภาได้มีการพิจารณารับหลักการในวาระที่ 1 ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติของรัฐบาล ซึ่งขณะนี้ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความวิตกกังวลว่า สาระสำคัญ ที่ จะต้องบัญญัติไว้ ในพระราชบัญญัตินี้เช่นวิชาชีพครูต้องเป็นวิชาชีพชั้นสูง ผู้ประกอบวิชาชีพครูต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพมีสภาวิชาชีพ ตำแหน่ง ผู้บริหารโรงเรียนต้องเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ต้องมีการกระจายอำนาจอย่างแท้จริงไปยัง โรงเรียนทุกขนาด สิ่งเหล่านี้จะเป็นหลักประกันให้นักเรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ

นอกจากนี้ นายธีรศักดิ์ สุวรรณปัญญา ประธานสหพันธ์ครูภาคเหนือ ได้กล่าวต่อไปว่าได้มีการประชุมผู้บริหารสหพันธ์ครูภาคเหนือ 16 จังหวัด เรื่องการระดมความคิดเห็น เพื่อเสนอต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ที่กำลังมีการประชุมพิจารณา ของคณะกรรมาธิการวิสามัญทั้ง 2 คณะ และการนำเสนอปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนในปัจจุบัน เช่น ปัญหาภาระงานล้นมือของครูผู้สอน ที่เป็นงานสั่งการจากหน่วยเหนือที่ไม่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน ปัญหา การจัดทำผลงานเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะเกณฑ์ใหม่เกณฑ์ PA ของ ก.ค.ศ.

นายพรเทพ ดวงปันสิงห์ เลขาธิการสหพันธ์ครูภาคเหนือ จะรวบรวมปัญหา และข้อเสนอแนะดังกล่าว เสนอต่อผู้มีอำนาจและพรรคการเมืองต่างๆ เพื่อ นำไปพิจารณาแก้ไข ปัญหา และความต้องการของครู และบุคลากรทางการศึกษา อันจะส่งผลดีต่อการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน ทำให้นักเรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ ต่อการจัดการศึกษา การปฏิรูปการศึกษา ของประเทศชาติต่อไป

นายพรเทพ ในฐานะที่ปรึกษากรรมาธิการวิสามัญ ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบถึงความคืบหน้า ของร่างพระราชบัญญัติแก้ไขคำสั่ง คสช.ที่ 19/2560 ซึ่งมีสาระสำคัญ ได้แก่การคืนอำนาจการบริหารงานบุคคล และการมีส่วนร่วม ของคณะอนุกรรมการ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ว (อกคศ.) ที่ผ่านการพิจารณาของ กรรมาธิการ การวิสามัญ คาดว่าจะนำเข้าสู่ที่ประชุมของสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 15 ธันวาคม นี้

ร่วมแสดงความคิดเห็น