ศิริราช แจง “เล็บเป็นขีด” ไม่ใช่สาเหตุมะเร็ง

เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 65 โรงพยายาบศิริาช โพสต์ชี้แจง “เล็บเป็นขีด” หลังโลกโซเชียลแห่แชร์ว่าเล็บว่ามีขีดๆ อาจะเสี่ยงเป็นมะเร็ง โดยโรงพยาบาลศิริราช ระบุว่า

สืบเนื่องจากประเด็นใน social เรื่องของ “เล็บเป็นขีด” เป็นสาเหตุของมะเร็งจริงหรือไม่ วันนี้แอดมินมีความรู้มาฝากค่ะ ภาวะเล็บเป็นขีด หรือเล็บมีเส้นสีดำหรือน้ำตาลตามความยาวเล็บ (longitudinal melanonychia) เกิดจาก เซลล์เม็ดสีที่อยู่บริเวณเนื้อเยื่อสร้างเล็บ มีการสร้างสีออกมามากกว่าปกติ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ขอแบ่งง่ายๆเป็น 2 แบบค่ะ

1. “เล็บเป็นขีดที่ไม่ใช่มะเร็ง”พบได้ทุกวัย อย่างไรก็ตาม เด็กเล็ก ถึงเด็กโต สามารถเกิดภาวะเล็บเป็นขีดได้มากกว่าผู้ใหญ่ทั่วไป เนื่องจากเซลล์สร้างเม็ดสีมีโอกาสทำงาน หรือถูกกระตุ้นได้มากกว่าค่ะสาเหตุที่สำคัญได้แก่

– กระหรือไฝใต้เล็บ
– เชื้อชาติ คนเอเชียหรือคนผิวสีดำ
– การกระทบกระแทกบริเวณเล็บ เช่นการทำเล็บ การกัดเล็บ
– ภาวะตั้งครรภ์- ยารับประทาน บางชนิด เช่น ยาต้านไวรัส คีโมบางชนิด
– การฉายแสงรังสีรักษา
– โรคทางพันธุกรรมบางอย่าง ที่มีการกระตุ้นการสร้างเม็ดสี
– โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
– สาเหตุอื่นๆ เช่นการติดเชื้อราบางอย่าง เนื้อใต้เล็บเจริญผิดปกติที่ไม่ใช่มะเร็ง เป็นต้น

2. “สาเหตุจากมะเร็ง”เมลาโนม่า (malignant melanoma) เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสีแบ่งตัวมากผิดปกติทำให้มีการสร้างเม็ดสีมากขึ้น มะเร็งชนิดนี้สามารถมาด้วยอาการได้หลายแบบ หนึ่งในนั้นคือ เล็บเป็นขีดสีดำหรือน้ำตาล (subungual melanoma)

ดูอย่างไรว่าไม่ใช่มะเร็ง?

โดยทั่วไป หากเป็นหลายเล็บ แถบสีน้ำตาลหรือดำดูสีสม่ำเสมอ สมมาตร ขนาดน้อยกว่า 6 mm ขนาดคงที่ อายุที่เริ่มเป็นตอนเด็ก แถบสีน้ำตาลหรือดำไม่ลามไปเนื้อเยื่อรอบเล็บ อาจทำให้นึกถึง “เล็บเป็นขีดที่ไม่ใช่มะเร็ง” ได้ค่ะ

ดูอย่างไรว่าเป็นมะเร็ง?

ลักษณะที่ควรระวังภาวะมะเร็งมีหลายลักษณะร่วมกันได้แก่ อายุที่เริ่มเป็นมากกว่า 40 ปี แถบสีดำหรือน้ำตาลสีไม่สม่ำเสมอ ขนาดใหญ่กว่า 6 mm โตเร็ว ขยายขนาดเร็ว เป็นเล็บเดียวที่นิ้วโป้ง มีสีดำลามไปผิวหนังรอบเล็บหรือจมูกเล็บ หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นเมลาโนม่า เป็นต้น

หากไม่แน่ใจทำอย่างไรดี?

อย่างไรก็ตามหากพบลักษณะดังกล่าวมา ซึ่งดูเองอาจจะยากค่ะ หากไม่แน่ใจ แนะนำควรพบแพทย์เฉพาะทางผิวหนัง หรือศัลยกรรมตกแต่งได้ที่โรงพยาบาลจะดีที่สุดค่ะ เนื่องจากการวินิจต้องมีการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการตัดชิ้นเนื้อใต้เล็บเพื่อส่งตรวจดูในกล้องจุลทรรศน์ว่ามีเซลล์มะเร็งหรือไม่ค่ะ

สุดท้ายนี้ สามารถอ่านบทความ “malignant melanoma” โดย ศ.พญ.รังสิมา วณิชภักดีเดชา เพิ่มเติมได้ที่ link นี้ค่ะhttps://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1012

ภาพตัวอย่างมะเร็ง subungual melanoma จาก: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30765143/

ร่วมแสดงความคิดเห็น