โอน รพ.สต.ให้ อบจ.

ลุยถ่ายโอน รพ.สต.ให้อบจ. ท่ามกลางกระแสสนับสนุน-ยื่นทบทวนแผน

คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.)รายงานผลการพิจารณาการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจ

สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)สรุปผลการประเมินความพร้อมในการรับการถ่ายโอนภารกิจ สอน. / รพ.สต. มี อบจ. รับถ่ายโอนภารกิจ 49 จังหวัด รพ.สต. 3,384 แห่ง บุคลากรของ
กระทรวงสาธารณสุข ที่จะถ่ายโอน ไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 22,265 คน
ขณะนี้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข ได้เตรียมความพร้อมในการถ่ายโอนรพ.สต. ให้ อบจ. โดยแต่งตั้งคณะกรรมการ4 ชุด

เพื่อพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้ง คณะกรรมการเตรียม ความพร้อมด้านการบริหารงานบุคคล คณะกรรมการเตรียมความพร้อมด้านระบบบริการ คณะกรรมการเตรียมความพร้อมด้านการถ่ายโอนทรัพย์สินต่าง ๆ และ คณะกรรมการด้านการสื่อประชาสัมพันธ์ทั้งนี้นายเลอพงศ์ ลิ้มรัตน์ ประธานคณะอนุกรรมการบริหารภารกิจถ่ายโอนด้านสาธารณสุขให้แก่ อปท. กล่าวว่า แนวทางถ่ายโอนฯระบุว่าสิ่งที่ รพ.สต. เคยปฏิบัติอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเนื้องาน บุคลากร หรือการส่งต่อนั้น ตามกฎหมายกระจายอำนาจฯ ได้ระบุไว้ว่าให้ดำเนินการตามเดิมทุกเรื่อง แต่หากทำแล้วมีกฎหมาย-ระเบียบ-คำสั่งที่ไม่เอื้ออำนวยให้สามารถทำได้ตามเดิม ก็จะมีการให้ส่วนราชการเข้าไปแก้ไข้กฎหมาย หรือประกาศในส่วนนั้น


” ขั้นตอนการถ่ายโอน รพ.สต. ไปยัง อบจ. ในขณะนี้ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) อบจ. ได้มีการยื่นข้อมูลต่อสำนักงบประมาณเพื่อจัดทำงบประมาณไปแล้วไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินเดือนบุคลากร หรืองบประมาณที่ รพ.สต. ขอมาเรื่องสิ่งก่อสร้าง ครุภัณฑ์ ก็ได้ยื่นเข้าระบบการทำงบประมาณไปแล้ว “อย่างไรก็ตามกรณีที่นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการสาธารณสุข (กมธ.สาธารณสุข) วุฒิสภา ได้ทำหนังสือขอให้ยับยั้งการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)สาระสำคัญ ระบุว่า การถ่ายโอนรพ.สต. สังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ไป อบจ. ควรคำนึงถึงระยะยาวว่า อาจเป็นภาระต่องบประมาณแผ่นดินหรือไม่ เพราะในช่วงเพียง 8 ปี ท้องถิ่นให้งบอุดหนุนเพิ่มมากถึง726 ล้านบาท สำหรับ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนเพียง 51 แห่ง การถ่ายโอน รพ.สต. เป็นนโยบายสาธารณะที่สร้างผลกระทบอย่างมากต่อประชาชน จึงสมควรดำเนินการอย่างรอบคอบ
ทางด้านนายบุญชู จันทร์สุวรรณ กล่าวว่า ขอยืนยัน อีกครั้งว่า สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทยพร้อมที่จะรับการถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. และจะทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมส่วน รศ.ธนพร ศรียากูล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการปกครองท้องถิ่นในสาขารัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์ กล่าวว่า ในฐานะประธาน
คณะทำงานด้านการถ่ายโอนบุคลากร รพ.สต.กล่าวว่า การถ่ายโอนบุคลากรเบื้องต้นอาจจะต้องทำความเข้าใจเรื่องวิธีปฏิบัติ ตอนนี้ทุกอย่างเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ และยืนยันว่าคู่มือการถ่ายโอนกำหนดไว้ชัดเจน การถ่ายโอนบุคลากรต้องเป็นไปตามความสมัครใจ ทุกอย่างต้องเป็นไปตามแผนงานกรอบระยะเวลาที่วางไว้ ทุกฝ่ายเข้าใจดีว่าประโยชน์ของพี่น้องประชาชนต้องมาก่อนจะไม่ลดน้อยไปกว่าเดิม
ด้าน นายกอบจ.ในพื้นที่ภาคเหนือ หลายจังหวัด ระบุว่า การถ่ายโอนภารกิจนี้เป็นไปตามแผนการกระจายอำนาจ ที่ มีพรบ.กำหนดชัดเจน ดังนั้น ถ้าจะถามว่าอบจ. แต่ละพื้นที่พร้อมหรือไม่นั้น คงต้องมองไปหลักสำคัญคือ แผนงานใดๆ ที่ก่อเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และไม่มีผลกระทบตามมา ก็ควรดำเนินการตามกรอบแนวทางที่กำหนดไว้ถ้าดำเนินการแล้ว อาจจะมีปัญหา มีผลกระทบเกิดขึ้น ไม่ว่าจะด้านใด และต้องตามแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นข้อกังวลเส้นทางก้าวหน้าของบุคลากร ที่ โอนจาก กระทรวงสาธารณสุข มาสังกัด อบจ.หรือแม้แต่ภาระงบประมาณ ด้านเงินเดือน ผลตอบแทน ที่ บางส่วนมองว่า มีความเหลื่อมล้ำกัน
อยู่ อาทิ บางตำแหน่งในรพ.สต. มีค่าตอบแทนสูง กว่า หน่วยงานปกติในอบจ. อาจจะมีข้อขัดแย้งในการจัดการ ก็เป็นเรื่องที่ควรรับฟัง พิจารณาหาข้อยุติที่ลงตัว เพราะ แผนงานนี้ มีทั้งส่วนสนับสนุน และขอให้ทบทวนแผนนี้

ร่วมแสดงความคิดเห็น