ฮือ! ต้านโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ท้องถิ่นหนักใจ

ฮือ! ต้านโรงไฟฟ้าพลังงานขยะท้องถิ่นหนักใจ ชุมชนไม่รับรู้วิกฤติขยะ ช่องทางเติมรายได้ชาวบ้าน

ผู้บริหารท้องถิ่น ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่และลำพูน เปิดเผยว่า ตามที่ กระทรวงมหาดไทย (มท.) มอบหมายกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) บูรณาการความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในการสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ร่วมมือกันแก้ปัญหาขยะ ด้วยการนำเป็นวัตถุ เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าให้เกิดประโยชน์ หลังจากคัดแยกขยะ ในรูปแบบต่างๆ เพื่อบริหารจัดการขยะที่เพิ่มสูงขึ้น ให้ลดลงและ สร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างรายได้สู่ชุมชนอย่างไรก็ตาม โครงการกำจัดขยะมูลฝอย เพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นไปตามภารกิจการกำจัดขยะมูลฝอย ของ อปท.ตามข้อสั่งการของ มท. ส่วนใหญ่จะเกิดปัญหาการลุกฮิอต่อต้านจากชุมชน ในพื้นที่ตั้งโครงการเช่น ล่าสุดกลุ่มชาวบ้านตำบลศรีบัวบาน อ.เมือง ลำพูน ก็มีการรวมตัวกันยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการ จ.ลำพูน เพื่อคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ในพื้นที่หมู่ 1 ต.ศรีบัวบาน ในการนี้ ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการได้รับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ซึ่งนายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ นายก อบจ.ลำพูน ระบุว่า โครงการดังกล่าว เป็นไปตามภารกิจและข้อสั่งการจากระดับนโยบาย เพื่อลดขยะเมือง และนำมาต่อยอดสร้างพลังงานไฟฟ้า จากการร่วมรับฟังรับฟังความคิดเห็นจะนำข้อเสนอแนะ ประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นต่อไป

ในส่วน ผู้บริหารเทศบาลตำบลศรีบัวบาน ซึ่งเป็นที่ตั้งโครงการ ระบุว่า ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว และเข้าใจถึงความละเอียดอ่อนของปัญหาที่เกิดขึ้น จะพิจารณาข้อคิดเห็น และติดตามโครงการดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อทุกฝ่ายต่อไป

ประเด็นปัญหาชาวบ้านในพื้นที่ก่อสร้างแต่ละพื้นที่ จะมีการต่อต้านการก่อสร้าง หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม ในภาคเหนือ เปิดเผยว่า น่าจะเป็นข้อมูล เชิงบริหารจัดการที่ ชาวบ้านรับรู้ผลกระทบจากโรงไฟฟ้าขยะ อาทิ กระบวนการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์จากการเผาขยะเพื่อให้เกิดความร้อนไปผลิตกระแสไฟฟ้า อาจเกิดสารประเภท ไดออกซิน แบริลเลียม โครเมียม ตะกั่ว ปรอท ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ที่เป็นอันตรายกับสุขภาพประชาชน เป็นปัจจัยการเกิดมะเร็งและความผิดปกติในร่างกายสิ่งมีชีวิต ถ้ามีการรั่วไหล เลือกจะรับรู้ผลกระทบมากกว่า พิจารณาข้อดี

“โดยในด้านดีของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะคือ จะช่วยลดขยะซึ่งมีจำนวนมาก เฉพาะเชียงใหม่ ขยะ มีปริมาณสูง เป็นอันดับ 2 ของประเทศ มากกว่าวันละ 1,800 ตัน แต่มีโรงจัดการขยะเพียง 3 แห่ง คือที่ อ.ฝาง, อ.ดอยสะเก็ด และ อ.ฮอด ปัจจุบันพื้นที่จัดเก็บที่ อ.ฝาง และ อ.ดอยสะเก็ด ไม่สามารถรองรับปริมาณขณะที่มากขึ้นได้ ต้องขนส่งขยะไป อ.ฮอด ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งสูงขึ้น เฉลี่ยตันละ 7-8 ร้อยบาท งบประมาณจัดการขยะของ อปท.แต่ละแห่งสูงขึ้นต่อเนื่อง ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในประเทศไทยอยู่ 25 แห่ง ซึ่ง เชียงใหม่ อยู่ในนั้นด้วย

ล่าสุด อบจ.เชียงใหม่ได้เปิดประมูลหาผู้ลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชนที่เอกชนเป็นผู้ลงทุน 100% ตั้งราคากลางไว้ 1,800 ล้านบาท ซึ่งมีเอกชนได้สิทธิบริหารจัดการโครงการนี้ซึ่งตั้งอยู่ที่อ.ดอยสะเก็ด มีกำลังผลิตไม่ต่ำกว่า 9.5 เมกกะวัตต์ รองรับปริมาณขยะไม่ต่ำกว่า 650 ตัน/วัน

“รายได้ที่เกิดขึ้น คือ จากการบริการกำจัดขยะด้วยวิธีคัดแยกและฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะ มีการจ้างงาน แรงงานในพื้นที่ด้วย และรายได้จากการขายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 ปีในการก่อสร้าง” กว่าจะเดินเครื่องโครงการศูนย์จัดการขยะฯ ตั้งแต่ปี 2548 โดยใช้ระบบคัดแยกและฝังกลบ ปริมาณขยะเข้าสู่โรงงานเฉลี่ยวันละประมาณ 100 ตัน กำลังการผลิตสามารถรองรับได้ 300 ตันโดยรองรับขยะจากพื้นที่โซนกลาง 4 อำเภอคืออ.ดอยสะเก็ด สันทราย สันกำแพงและแม่ออน เนื้อที่กว่า 40 ไร่ แทบจะเต็มเพดานการรองรับ ที่ผ่านๆมา มีปัญหาชาวบ้าน ชุมชน รายรอบร้องเรียนเช่นกัน

โครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชน จะเป็นโครงการที่ช่วยลดปัญหาการจัดหาบ่อฝังกลบขยะเพิ่มเติมในเชียงใหม่ เพราะการจัดหาพื้นที่ในการฝังกลบขยะทุกวันนี้ลำบาก มีการต่อต้านจากประชาชน ในพื้นที่ ถ้าไม่เร่งวางแผนจัดการ ในอนาคต วิกฤติขยะจะกลายเป็นระเบิดเวลา เกิดปัญหาขยะล้นเมือง กองสุมเน่าเกลื่อนเมือง เช่นที่เคยเผชิญกันมาช่วง ปี 2538 ผู้บริหารท้องถิ่น ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า โครงการศูนย์กำจัดมูลฝอยแบบผสมผสานบ้านตาล ต.บ้านตาล อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ คือ ตัวอย่างพื้นที่จัดการขยะแบบฝังกลบที่ใหญ่สุดในภาคเหนือกว่า 2,000 ไร่ ปัจจุบันรับขยะอยู่ 7-8 ร้อย ตันต่อวัน ขยะฝังกลบผลิตเป็นก๊าชชีวภาพนำไป เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าที่ได้ 2 เมกะวัตต์ เป็นอีกแหล่งรายได้และเป็นก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ส่งผ่านทางท่อให้ชาวบ้านรอบศูนย์ฯใช้ฟรี

“อยากวิงวอนให้ชุมชน สังคม ตระหนักถึงภาระการจัดการขยะครัวเรือนที่ต้องร่วมมือกันคัดแยก และเปิดทาง ในการดำเนินโครงการ โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ที่เป็นอีกทางเลือกในการลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้า ในชุมชนในอนาคตได้ เพราะ ขยะเป็นปัญหาสำคัญที่แต่ละเมือง แต่ละท้องถิ่นกำลังเผชิญ ที่เห็นจัดเก็บ อย่างเป็นระบบนั้น ยังมีพวกแอบลักลอบนำไปทิ้ง ตามที่รกร้าง ที่เอกชนอีกมากมายในบ้านเรา”

ร่วมแสดงความคิดเห็น