สวทช.ภาคเหนือ จัดเสวนาวิชาการ “ร่วมยกระดับสังคมวิทยาศาสตร์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคเหนือ”

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

สวทช.ภาคเหนือ จัดเสวนาวิชาการ “ร่วมยกระดับสังคมวิทยาศาสตร์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคเหนือ” แนะต้องนำวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโชนย์ เผย”บ้าน วัด และโรงเรียน” ล้วนเป็นหน่วยงานท้องถิ่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ดีที่สุด

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จัดการจัดเสวนาเรื่อง “ร่วมยกระดับสังคมวิทยาศาสตร์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคเหนือ” โดยมีนายปรีชา โกวิทยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลานนาโปรดักส์ จำกัด พร้อมด้วย นายสุพจน์ ริจ่าม นายยกเทศมนตรีเทศบาลตำบลท่าผ่า อ.แม่เจ่ม จ.เชียงใหม่ และดร.พิสิษฎ์ มณีโชติ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมเสวนาในเรื่อง สร้างสังคมวิทยาศาสตร์ ผ่านรูปแบบ บวร (บ้าน วัด โรงเรียน) ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ เฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ จังหวัดเชียงใหม่

นายปรีชา โกวิทยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลานนาโปรดักส์ จำกัด กล่าวในหัวข้อการสร้างองค์กรวิจัย และพัฒนา เพิ่มมูลค่าบนหลักการ Zero ว่า งานหรือธุรกิจที่ทางบริษัททำโดยเริ่มต้นจากการปลูกพืช ไม่ว่าจะเป็นการปลูกวาซาบิ ซึ่งในปัจจุบันได้ส่งขายออกไปทั่วโลก ซึ่งก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเกษตร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งสิ้น เนื่องจากพืชตัวนี้เป็นพืชเมืองหนาวต้องปลูกในอุณหภูมิที่ต่ำ น้ำก็จะต้องสะอาด สารอาหารต่างๆก็ล้วนมาจากการใช้วัสดุเหลือใช้ การผลิตของบริษัทจึงต้องมีทั้งน้ำทิ้ง กล่าวคือถ้าน้ำที่ได้จากการล้างผักทางบริษัทก็จะนำไปทำไบโอแก็ส โดยส่วนน้ำก็จะทำเป็นปุ๋ยน้ำ ส่วนของแข็งทำเป็นปุ๋ยชีวภาพ จะเห็นว่าบริษัทได้ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทลโนโลยี และนวัตกรรม มาใช้ครบทุกขั้นตอน คือได้ผลิตภัณฑ์ ได้ทั้งแก็ส ได้ทั้งของแข็งและของเหลว

ด้านนายสุพจน์ ริจ่าม นายยกเทศมนตรีเทศบาลตำบลท่าผ่า อ.แม่เจ่ม จ.เชียงใหม่ กล่าวในในหัวข้อการขยายผลงานวิจัย ด้วยการสร้างฐานความรู้ว่า ทุกวันนี้อำเภอแม่แจ่มตกเป็นจำเลยในเรื่องของหมอกควัน แต่ทางหนวยงานก็ได้รับการสนับสนุนในเรื่องของการค้นคว้าที่จะหาแนวทางจากจะนำเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เพื่อที่จะเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด โดยการนำเทคโนโลยีจากทุกภาคส่วนเข้าไปในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น การทำโรงหมักอาหารโค จากซังข้าวโพดและซังข้าว ซึ่งส่งผลให้ได้ประโยชน์ทั้ง 2 อย่าง อย่างแรกคือ ช่วยแก้ไขปัญหาหมอกควันให้กับภาคเหนือ อย่างที่สองประชาชนในพื้นที่ได้ประโยชน์จากการที่นำวัสดุเหลือใช้เหล่านี้ไปทำเป็นอาหารหมักโคและปุ๋ยหมัก ช่วยลดต้นทุนนการผลิตได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ในพื้นที่ของอำเภอแม่แจ่มส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ที่ทำการเกษตรประมาณ 90% เกษตรกรส่วนหนึ่งก็ทำอาชีพที่เลี้ยงสัตว์ด้วย ซึ่งทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ก็ได้เข้าไปหาข้อมูลแล้วก็ส่งเสริมให้ทางอำเภอแม่แจ่มแก้ไขปัญหาร่วมกัน จนให้เห็นเป็นแนวทางที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นขึ้น จากการรวมกลุ่มของผู้เลี้ยงสัตว์ทั้งหลาย โดแต่ละกลุ่มเอาไปทำการสาธิต แล้วสามารถนำกลับไปใช้ในโรงเรือนของตัวเองได้ นายยกเทศมนตรีเทศบาลตำบลท่าผ่า อ.แม่เจ่ม กล่าว
และดร.พิสิษฎ์ มณีโชติ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวถึงเรื่องของการสร้างสังคมวิทยาศาสตร์ ผ่านรูปแบบ “บวร” (บ้าน วัด โรงเรียน)ว่า ได้นำวิธีคิดเริ่มต้นโดยการลงพื้นที่แล้วยึดปัญหาของชุมชนเป็นที่ตั้ง แล้วเอาเครื่องมือที่เป็นตัวพลังงานทางความคิด เพื่อให้พวกคนในชุมชนสามารถพึ่งตัวเองให้ได้ นำไปสู่วิธีคิดที่เป็น

วิทยาศาสตร์น่าจะเป็นเครื่องมือที่จะสามารถพัฒนาคนในชุมชนได้ได้ จึงเกิดพัฒนาหลักการให้คล้ายๆโมเดลขึ้นมา โดยมี “บ้าน วัด โรงเรียน” ซึ่งสามารถทำวิทยาศาสตร์ได้ ในโครงการที่ชื่อว่า “สมาร์ทคลู” โดยได้รับงบประมาณจากเยอรมันประมาณ 1.3 ล้านบาท โดยทำการขยายออกไป 7 โรงเรียน ซึ่งให้เด็กนักเรียนได้ไปทำไบโอแก็ส เตาแก๊สชีวมวลซึ่งเป็นฐานปฏิบัติการ ให้เอาวิธีคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์มาก่อน แล้วหลังจากนั้นพอทำเสร็จก็ได้งบจากสำนักงานนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)อีกที

“โครงการในปีแรกได้ไปแก้ปัญหาขยะที่แม่สอดโดยตั้งชื่อว่าโครงการแม่สอดเมืองระบบนิเวศน์โลก ซึ่งมหาวิทยาลัยนเรศวรไดไปวางโครงสร้างทางด้านเทคโนโลยีไว้และมีความคิดว่าถ้าเราจะเข้าไปสู่ความเป็น นิเวศวิทยาหรือ ecology นั้น มันไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยีอย่างเดียวแต่ต้องมีเรื่องของจิตสำนึกด้วย ต่อมาก็พัฒนาโครงการมาชื่อว่า “นวัตบวร” ก็เลยใช้คำว่า I-core มาจากคำว่า นวัตบวร ซึ่งแยกเป็น “I” มาจากคำว่า นวัตกรรม “Co” หรือ บ คือบ้านหรือชุมชน ส่วนตัว “R” คือ ศาสนา ไม่ได้ใช้คำว่าวัด เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้มีศาสนาเดียว นอกจากนี้ยังสามารถใช้สมมุติฐานเป็นแกนกลางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ได้หมด ส่วนตัว E หรือ equation คือองค์ความรู้ กล่าวคือ “นวัตบวร” คือ เครื่องมือในการพัฒนาหรือไปยกระดับภูมิปัญญาถิ่น วัฒนธรรมถิ่น หรือแก้ปัญหาถิ่น เพื่อที่จะยกระดับขึ้นมา” ดร.พิสิษฎ์ กล่าว

ร่วมแสดงความคิดเห็น