หนอนกินดอกลำไย

B8ในระยะนี้เป็นช่วงที่ลำไยในฤดูกำลังออกดอก เกษตรกรผู้ปลูกลำไยควรระวังหนอนกินดอกลำไย หมั่นตรวจแปลงลำไย หากพบหนอนกินดอกลำไยซึ่งเกิดจากผีเสื้อเพศเมียวางไข่ตามช่อดอก เมื่อหนอนฟักจากไข่เริ่มกัดกินช่อดอกโดยใช้เศษชิ้นส่วนของกลีบดอกถักเป็นรังอยู่ตามช่อดอก เพื่อเป็นที่อาศัยหลบซ่อนอยู่ภายในตัวหนอนจะมีสีน้ำตาลอ่อน หัวสีดำ เมื่อโตเต็มที่มีขนาดตัวยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ระยะก่อนเข้าดักแด้หนอนถักเส้นใยยึดดอกแห้งปนกับขี้หนอนเป็นก้อนกลมเพื่อห่อหุ้มดักแด้อยู่ภายใน หนอนกินดอกมีพืชอาหารหลายชนิดนอกจากดอกลำไยแล้วยังกัดกินดอกลิ้นจี่ เงาะ และมะม่วง ทำให้ช่อดอกแห้ง ร่วง ไม่ติดผล

สำหรับวิธีการป้องกันกำจัด ชาวสวนลำไยต้องตรวจดูหนอนบริเวณช่อดอก เมื่อพบให้จับทำลายตัวหนอน ถ้าระบาดมากควรใช้สารเคมี โมโนโครโตรฟอส ในอัตรา 15 – 20 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในระยะที่ดอกยังไม่บาน

ร่วมแสดงความคิดเห็น