กรมปศุสัตว์ จัดอบรมสัตวแพทย์ฟาร์มผึ้ง

B-3.jpg B-4.jpgสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ จัดโครงการอบรมหลักสูตร “สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มเลี้ยงสัตว์” ประเภทผึ้ง รุ่นที่ 6 ประจำปี 2559 ให้กับสัตวแพทย์ผู้ประสงค์จะเป็นสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มผึ้ง ที่ได้รับปริญญาบัตรสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง สัตวแพทย์หญิงธนิดา หรินทรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานการปศุสัตว์ระหว่างประเทศ กรมปศุสัตว์ เป็นประธานเปิดการอบรม เมื่อวันที่ผ่านมา ณ ห้องปารีส โรงแรมเมอร์เคียว เชียงใหม่

ตามที่กรมปศุสัตว์ได้จัดให้มีการฝึกอบรมหลักสูตร สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ประเภทผึ้ง เพื่อเป็นการเตรียมบุคลากรทางด้านสัตวแพทย์ให้มีความรู้ ความสามารถในการทำหน้าที่ดูแลด้านสุขภาพผึ้ง การควบคุมโรคและ การควบคุมการใช้ยา สัตว์ภายในฟาร์ม เพื่อให้ได้ผลผลิตน้ำผึ้งที่มีคุณภาพปราศจากสารตกค้างและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ท่านจึงเปรียบเสมือนตัวแทนของกรมปศุสัตว์ในการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการฟาร์มผึ้ง ควบคุมคุณภาพผลผลิต และการผลักดันให้ฟาร์มผึ้งเข้าสู่การรับรอง GAP หรือมาตรฐานฟาร์มซึ่งกรมปศุสัตว์เริ่มให้การรับรองมาตรฐานฟาร์มผึ้งมาตั้งแต่ปี 2546

โดยในปัจจุบันมีฟาร์มผึ้งที่ได้การรับรอง GAP จากกรมปศุสัตว์จำนวนทั้งสิ้น 252 ฟาร์ม และมีแนวโน้มจะเพิ่มจำนวนขึ้นทุกปีซึ่งในการอบรมครั้งนี้ท่านจะได้ทราบถึงระเบียบ กฎเกณฑ์ อำนาจและความรับผิดชอบของสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มผึ้งและด้วยปริมาณสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟามผึ้งที่มีอยู่อย่างจำกัด เป็นสาขาที่ขาดแครนในการควบคุมฟาร์มของเกษตรกร ดิฉันจึงขอให้ทุกท่านให้ความสนใจ และตั้งใจในการฝึกอบรมครั้งนี้ เพื่อที่จะได้เพิ่มจำนวนสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มผึ้งให้แก่เกษตรกร เพื่อให้การทำฟาร์มผึ้งมีประสิทธิภาพ สอดคล้องตามหลักเกณฑ์มาตรฐานฟาร์มและเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน

สัตวแพทย์หญิงอัญญารัตน์ ราชประโคน หัวหน้าฝ่ายรับรองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ กล่าวว่าโครงการฝึกอบรมหลักสูตรสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มเลี้ยงสัตว์ประเภทผึ้งรุ่นที่ 6 ประจำปี 2559 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นสัตวแพทย์ ผู้ประสงค์จะเป็นสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มผึ้งซึ่งได้รับปริญญาบัตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิตและใบ อนุญาตประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง รวมทั้งสิ้น 40 คนโดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชนมหาวิทยาลัย และจากกรมปศุสัตว์เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ในภาคการบรรยายและการศึกษาดูงานณ.ฟาร์มผึ้งในจังหวัดเชียงใหม่

ทั้งนี้ เพื่อให้สัตวแพทย์ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบในฐานะสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มผึ้งเพิ่มพูนความรู้เรื่องโรค และการจัดการสุขภาพผึ้ง การควบคุมการใช้ยาในฟาร์มผึ้งตลอดจนสามารถนำความรู้ไปใช้ ในการควบคุมฟาร์มผึ้ง ได้อย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องตามหลักเกณฑ์มาตรฐานฟาร์มผึ้ง และเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน

ร่วมแสดงความคิดเห็น