สืบสานประเพณี ปอยส่างลองคึกคัก

7 จังหวัดแม่ฮ่องสอนจัดเทศกาลปอยส่างลอง อย่างเป็นทางการเป็นวันแรก เพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงาม ที่สืบทอดกันมากว่า 100 ปี โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดนำเหล่าหัวหน้าส่วนราชการผูกข้อมือส่างลองและให้โอวาทให้เป็นคนดีของสังคมช่วยต้านทุจริตรีดไถ พร้อมกับนำส่างลองขี่คอโชว์

เมื่อวันที่ผ่านมา นายพิพัฒน์ เอกภาพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ร่วมผูกข้อมือ แก่ส่างลองหรือผู้ที่จะบรรพชาสามเณร จำนวน 53 องค์ และจางลองหรือผู้ที่อุปสมบท พระสงฆ์ 2องค์ ในงานประเพณีปอยส่างลอง ประจำปี 2559 ที่หน้าศาลาประชาคมจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อความเป็นสิริมงคล และร่วมประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ และปฏิบัติต่อกันมาช้านานของจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนกล่าวให้พรแก่ส่างลองและจางลองว่า ขอให้ตั้งใจเรียนพระธรรม คำสั่งสอนพระพุทธศาสนา ประพฤติปฏิบัติศีล 10 ข้อ อย่างเคร่งครัด และเมื่อโตขึ้นขอให้เป็นคนดีของสังคม อย่าไปกระทำทุจริตรีดไถประพฤติมิชอบใดใด

8
โดยวันที่ 2 เมษายน 2559 ส่างลองและจางลอง กั่นตอหรือขอขมาตามประเพณีไทใหญ่ และวันที่ 3 เมษายน 2559 เป็นวันแห่ครัวหลู่ หรือแห่เครื่องไทยธรรม วันที่ 4 เมษายน วันข่ามส่าง หรือวันหลู่ หรือวันบรรพชาและอุปสมบท ประเพณีปอยส่างลอง หรือ งานบวชลูกแก้ว เป็นประเพณีบรรพชาสามเณร ภาคฤดูร้อน ตามธรรมเนียมของชาวไทใหญ่ เพื่อให้บุตรหลานได้มีโอกาสศึกษาพระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยจะจัดในช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อน

ประเพณีปอยส่างลอง หรือ งานบวชลูกแก้ว เพื่อทำการบรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา เป็นประเพณีของชาวไทยใหญ่ในแม่ฮ่องสอน ซึ่งก็ได้ร่วมกันสืบทอดงานประเพณีนี้มาเป็นเวลาช้านาน ดังปรากฏว่าหลักฐานว่าประเพณีนี้มีมาตั้งแต่มีการสร้างแปงเมืองแม่ฮ่องสอน ซึ่งได้มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ทุกๆปี เนื่องจากเป็นประเพณีที่สำคัญทางศาสนา และเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด

9

งานประเพณีดังกล่าวได้สืบทอดกันมา จนกระทั่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดความขัดแย้งในวงกว้าง ครอบคลุมทุกทวีปและประเทศส่วนใหญ่ในโลกรวมทั้งในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) จนกระทั่งสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ในระหว่างนั้นประเทศไทยได้ประสบปัญหาทางด้านต่างๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ทำให้ประเพณีปอยส่างลองถูกงดและเลิกไป จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2525 อันเป็นปีฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี ก็ได้มีการฟื้นฟูและจัดงานประเพณีปอยส่างลองขึ้นทุกๆปีจนถึงปัจจุบัน และประเพณีนี้ก็ได้ขยายไปยังจังหวัดใกล้เคียง คือ จังหวัดเชียงราย และจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย

สำหรับชาวไทยใหญ่แล้ว การบวชลูกแก้วถือว่าได้บุญกุศลสูงสุด เปรียบเสมือนพระพุทธเจ้าคราวออกบวช จึงนิยมนำบุตรหลาน ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 6 ขวบขึ้นไป ทำการบวชส่างลอง สำหรับในประเทศไทย ประเพณีดังกล่าว เป็นต้นแบบครั้งแรกที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ก่อนที่จะมีการแพร่หลายไปยังจังหวัดอื่น ๆ ในภาคเหนือ เนื่องจากเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว แต่ในส่วนของชาวไทยใหญ่นั้น การบวชลูกแก้ว ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าเนื่องจากจะได้ทำให้บุตรหลานซึ่งยังเด็กและสมองพร้อมรับสิ่งดีดี ได้มีโอกาสได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยเมื่อเติบโตมาแล้วยังคงมีความคิดอ่านที่ดีดีต่อศาสนาและปฏิบัติตนในพระธรรมคำสอนตลอดไป

10

ด้วยความศรัทธาอันแรงกล้าในพระพุทธศาสนาของชุนท้องถิ่นไทยใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตลอดจนการสืบทอดประเพณีจากรุ่นสู่รุ่น เพื่อสืบสานและอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามให้สืบไปชั่วลูกชั่วหลานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น โดยเฉพาะขบวนแห่ส่างลอง (แห่ครัวหลู่) นับได้ว่ามีความสวยงามตามแบบประเพณีโบราณของชาวไตอย่างแท้จริง รวมถึงพิธีกรรมทางพุทธศาสนา ทำให้ประเพณีปอยส่างลอง ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวยังจังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมกับการร่วมทำบุญสืบสานงานประเพณีดังกล่าวอย่างคับคั่ง

ร่วมแสดงความคิดเห็น