สองชนเผ่าบนดอยอินทนนท์ รวมพลังทำพิธีสาปแช่งคนเผาป่า

สองชนเผ่าบนดอยอินทนนท์ รวมพลังทำพิธีสาปแช่งคนเผาป่า พร้อมบนเจ้าป่าเจ้าเขาหากไร้ไฟป่าถึงกลางปี เตรียมล้มหมูตัวที่อ้วนที่สุดในหมู่บ้าน เป็นเครื่องสังเวย
290359สาปแช่งคนเผาป่า.mp4_20160329_093450.855 290359สาปแช่งคนเผาป่า.mp4_20160329_093502.802
ที่หน่วยจัดการต้นน้ำแม่กลาง ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ตัวแทนชุมชนชาวปกาเกอะญอและชาวม้งจาก 18 หย่อมบ้านในตำบลบ้านหลวงซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์กว่า 200 คน ได้ร่วมกันประกอบพิธีรวมพลังมวลชนป้องกันไฟป่าและหมอกควันอินทนนท์ ประจำปี 2559 โดยนำเอาความเชื่อทางศาสนาของคนทั้งสองเผา ที่เชื่อกันว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยปกป้องรักษาป่า มาประกอบพิธีสาปแช่งให้ผู้ที่ลักลอบเผาป่าเกิดความเกรงกลัว พร้อมกับยังเป็นการสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไปพร้อม ๆ กัน
290359สาปแช่งคนเผาป่า.mp4_20160329_093602.985
สำหรับพิธีสาปแช่งผู้ที่ลักลอบเผาทำลายป่าของชาวไทยภูเขาเผ่าม้งและปกาเกอะญอเกิดขึ้นจากปัญหาไฟป่าที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้งเป็นประจำ โดยเฉพาะในปี 2541 ที่เกิดไฟป่ารุนแรงจนทำให้ดอยอินทนนท์ต้องสูญเสียผืนป่าไปถึง 8,752 ไร่ ตามมาด้วยวิกฤตขาดแคลนน้ำที่ขยายตัวไปถึงพื้นราบของอำเภอจอมทอง ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชุมชนพ้นราบกับชาวไทยภูเขาบนพื้นที่ต้นน้ำที่ไม่เข้าใจกันถึงสาเหตุของการเกิดไฟป่าในครั้งนั้น
ปัญหาที่เกิดขึ้น หน่วยจัดการต้นน้ำแม่กลางจึงร่วมกับชุมชนในพื้นที่จัดตั้งองค์กรเครือข่ายลุ่มน้ำแม่กลางตอนบน เพื่อเป็นองค์กรกลางร่วมกันระหว่างภาครัฐและชุมชนในการปกป้องดูแลป่า พร้อมกับสร้างจิตสำนักรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับคนในพื้นที่ โดยมีการจัดพิธีสาปแช่งผู้ที่เผาและทำลายป่าเป็นครั้งแรกในปี 2542 และจัดกิจกรรมนี้เป็นประจำทุกปีจนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 18 โดยนอกจากทำพิธีสาปแช่งตามความเชื่อ ปีนี้ชาวม้งยังบนไว้ด้วยว่า หากไม่เกิดไฟไหม้ป่าโดยฝีมือมนุษย์หลังจากทำพิธีไปจนถึงเดือนมิถุนายน จะแก้บนด้วยหมูที่อ้วนสมบูรณ์ที่สุดของหมู่บ้าน 1 ตัว
290359สาปแช่งคนเผาป่า.mp4_20160329_093515.221
ปัจจุบันเครือข่ายลุ่มน้ำแม่กลางตอนบน มีสมาชิกทั้งหมด 6 หมู่บ้าน 18 หย่อมบ้าน มีสมาชิก 4,387 คน ที่ผ่านมาได้ จัดตั้งศูนย์สนับสนุนการดับไฟป่าเพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่ ขณะที่แต่ละหมู่บ้านยังร่วมทำแนวกันไฟพร้อมจัดชุดลาดตระเวนในพื้นที่ของตัวเองเพื่อป้องกันไฟป่า การดำเนินการที่ผ่านมาทำให้ปัจจุบันลดการเกิดไฟป่าได้มากว่าร้อยละ 70

ร่วมแสดงความคิดเห็น