เปิดกาดวัฒนธรรมฯ โชว์เสน่ห์ล้านนา

b6 w=9h=7คณะเกษตรศาสตร์ มช. จัดกิจกรรม”กาดวัฒนธรรมเกษตรปี๋ใหม่เมือง” หนุนส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเกษตรและกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ผู้จำหน่ายสินค้าเกษตรและหัตถกรรมและอาหารพื้นเมือง สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันในราคายุติธรรม ตลอดจนบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรเนื่องจากราคาผลผลิตตกต่ำ
รองศาสตราจารย์ธีระ วิสิทธิ์พานิช คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงานกาดวัฒนธรรมปี๋ใหม่เมือง โดยมีอาจารย์ ดร.ชูชาติ สันธทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร เป็นผู้กล่าวรายงาน ณ ลานจอดรถภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โดย รองศาสตราจารย์ธีระ วิสิทธิ์พานิช คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า เชียงใหม่ในอดีต เป็นดินแดนที่สวยงามและมีความเลื่องชื่อลือนามทั้งในด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น ถือเป็นมนต์เสน่ห์แห่งล้านนาที่ได้สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มาเยือนตลอดมา แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ว่าในปัจจุบันกระแสหลั่งไหลของวัฒนธรรมอื่นได้ส่งผลให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของ “คนเมือง” มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งกลิ่นอายของวัฒนธรรมล้านนาก็เริ่มปรับเปลี่ยนไป อย่างไรก็ตามเป็นที่หน้ายินดีว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับจังหวัด อำเภอ ชุมชน องค์กรอิสระ และสถาบันการศึกษา ต่างให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ไว้ซึ่งจารีตประเพณีที่งดงามของชาวเชียงใหม่ไว้มิให้เสื่อมถอยไปตามการเวลา
ประเพณีปี๋ใหม่เมืองถือเป็นประเพณีที่สำคัญของชาวล้านนา จึงได้สนับสนุนให้คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษาด้านเกษตรที่มีพันธกิจหลักคือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และการ อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมได้มีส่วนร่วมในการสืบทอดประเพณีปี๋ใหม่เมืองภายใต้ โครงการกาดวัฒนธรรมเกษตรปี๋ใหม่เมือง ซึ่งเป็นโครงการบริการวิชาการสู่ชุมชนที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเกษตรและกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ผู้จำหน่ายสินค้าเกษตรและหัตถกรรมและอาหารพื้นเมืองสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันในราคายุติธรรม ตลอดจนบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรเนื่องจากราคาผลผลิตตกต่ำ คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ กล่าว

ด้านอาจารย์ ดร.ชูชาติ สันธทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร กล่าวว่า โครงการ “กาดวัฒนธรรมเกษตรปี๋ใหม่เมือง” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม และ 1 เมษายน 2559 โดยมีวัตุถุประสงค์ คือ 1. เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรอย่างปลอดภัยสู่ผู้บริโภค 2.เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคและเกษตร/กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ผู้จำหน่ายสินค้าเกษตรกรและหัตถกรรมและอาหารพื้นเมือง สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันในราคายุติธรรม ตลอดจนบรรเทาความเดือนร้อนของเกษตรกรเนื่องจากราคาผลผลิตตกต่ำ 3.เพื่อร่วมอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีล้านนาในอดีต 4.เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของศูนย์บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร 5.เพื่อสร้างเครือข่ายผู้ผลิตและผู้บริโภค ด้านการผลิตพืชผักปลอดภัย อาหารพื้นบ้านและสินค้าพื้นเมือง
อาจารย์ ดร.ชูชาติ กล่าวในตอนท้ายว่า ซึ่งรูปแบบกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การจำหน่ายสินค้าเกษตรและสินค้าพื้นเมือง ของเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตร รวมทั้งจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของภาควิชาหน่วยงาน ศูนย์ สถานีวิจัยของคณะเกษตรศาสตร์ นอกจากนี้ ภายในงานยังได้จำลองรูปแบบประเพณีปี๋ใหม่เมือง อาทิ การทำเครื่องดำหัวปี๋ใหม่เมือง, หนอดผางประทีป และงานใบตอง โดยกลุ่มอุ้ยสอนหลาน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ การจัดนิทรรศการนวดแผนไทย จาก เทศบาลตำบลสันป่าตอง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ การทอตุง,การตอกลายกระดาษและการทำโคมไฟ โดยคุณ พลเทพ บุญฆมื่น การบรรเลงดนตรีและการแสดงศิลปวัฒนธรรมล้านนา เป็นต้น

เชียงใหม่ในอดีต เป็นดินแดนที่สวยงามและมีความเลื่องชื่อลือนามทั้งในด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น ถือเป็นมนต์เสน่ห์แห่งล้านนาที่ได้สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มาเยือนตลอดมา แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ว่าในปัจจุบันกระแสหลั่งไหลของวัฒนธรรมอื่นได้ส่งผลให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของ “คนเมือง” มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งกลิ่นอายของวัฒนธรรมล้านนาก็เริ่มปรับเปลี่ยนไป อย่างไรก็ตามเป็นที่หน้ายินดีว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับจังหวัด อำเอ ชุมชน องค์กรอิสระ และสถาบันการศึกษาต่างให้ความสำคัญกับการอนรักษ์ไว้ซึ่งจารีตประเพณีที่งดงามของชาวเชียงใหม่ไว้มิให้เสื่อมถอยไปตามการเวลา
ประเพณีปี๋ใหม่เมืองถือเป็นประเพณีที่สำคัญของชาวล้านนา จึงได้สนับสนุนให้คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษาด้านเกษตรที่มีพันธกิจหลักคือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และการ อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมได้มีส่วนร่วมในการสืบทอดประเพณีปี๋ใหม่เมืองภายใต้ โครงการกาดวัฒนธรรมเกษตรปี๋ใหม่เมือง ซึ่งเป็นโครงการบริการวิชาการสู่ชุมชนที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเกษตรและกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ผู้จำหน่ายสินค้าเกษตรและหัตถกรรมและอาหารพื้นเมืองสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันในราคายุติธรรม ตลอดจนบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรเนื่องจากราคาผลผลิ

ร่วมแสดงความคิดเห็น