รองเลขาธิการฯ สั่งลุยออกใบอนุญาตเกษตรกร

S__31907855

รองเลขาธิการฯ สั่งลุยออกใบอนุญาตผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าเกษตร ตามมาตรฐานบังคับโรงรมซัลเฟอร์ฯ ภาคเหนือ – ภาคตะวันออกรับรองล็อตแรกแล้วกว่า 200 ราย พ.ค. นี้ เริ่มเดินเครื่องระบบ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการโรงรมและผู้ส่งออกในพื้นที่ตลอดทั้งสัปดาห์

S__31907854

นายอานัติ วิเศษรจนา รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า มกอช. ได้ดำเนินการออกใบอนุญาตให้กับผู้ผลิต ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรมาตรฐานบังคับว่าด้วยหลักปฏิบัติสำหรับกระบวนการรมผลไม้สดด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2559 นี้ โดยล็อตแรก ได้มอบใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบการโรงรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สำหรับลำไยและลิ้นจี่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ตาก และกำแพงเพชร จำนวน 90 ราย และผู้ประกอบการโรงรมในพื้นที่ภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี จำนวน 29 ราย ขณะเดียวกันยังได้ขึ้นทะเบียนและมอบใบอนุญาตให้กับผู้ส่งออกสินค้าลำไยและลิ้นจี่ตามมาตรฐานบังคับดังกล่าว จำนวน 90 ราย จำนวนรวมทั้งสิ้น 209 ราย ใบอนุญาตมาตรฐานบังคับนี้มีอายุ 3 ปี ซึ่งตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม2559 เป็นต้นไป ผู้ส่งออก และผู้ประกอบการโรงรมทุกแห่งต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในมาตรฐานบังคับดังกล่าวอย่างเคร่งครัด ก่อนที่จะส่งออกลำไยและลิ้นจี่สดทุกครั้ง ผู้ส่งออกจะต้องแจ้งการส่งออกโดยยื่นแบบฟอร์มพร้อมเอกสารหลักฐานได้ที่ มกอช. หรือด่านตรวจสินค้าเกษตร และสามารถยื่นผ่านช่องทางออนไลน์ก็ได้ คือ http://tas.acfs.go.th และในวันที่ 25-29 เมษายน 2559 มกอช. ได้จัดหน่วยบริการเคบื่อนที่ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจันทบุรี เพื่อมอบใบอนุญาต ตลอดจนให้คำปรึกษาในการปฏิบัติตามมาตรฐานบังคับ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการโรงรมและผู้ส่งออกในพื้นที่ตลอดทั้งสัปดาห์

S__31907856
รองเลขาธิการ มกอช. กล่าวอีกว่า โรงรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ไม่มีใบอนุญาตจะไม่สามารถประกอบธุรกิจและส่งออกลำไยและลิ้นจี่ได้ อย่างไรก็ตาม มกอช. จะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามตรวจสอบผู้ประกอบการโรงรมรวมถึงผู้ส่งออก สินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับอย่างต่อเนื่อง หากตรวจสอบพบว่า มีรายใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข และการปฏิบัติไม่เป็นตาม พรบ. มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เบื้องต้นจะจอจ้งเตือนให้ผู้ประกอบการเร่งปรับปรุงแก้ไขโดยเร็ว ถ้ายังเพิกเฉยและไม่ปฏิบัติตาม นอกจากจะไม่อนุญาตให้ส่งออกได้แล้ว มกอช. อาจสั่งพักหรือเพิกถอนใบอนุญาต ต้องใช้มาตรการทางกฎหมายตามขั้นตอนต่อไป
ภายหลังมาตรฐานบังคับดังกล่าว มีผลบังคับใช้ ค่ดส่า ผู้ประกอบการจะสามารถรมลำไยและลิ้นจี่สดด้วยซัลเฟอร์ไซด์ได้อย่างถูกวิธี ทำให้ลำไยและลิ้นจี่ส่งออกที่ป้อนเข้าสู่ตลาดมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันยังช่วยลดการแจ้งเตือนปัญหาตรวจพบสารตกค้างเกินมาตรฐานที่กำหนดจากประเทศเข้าปลายทาง ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับประเทศคู่ค้ามากขึ้น และเป็นกลไกช่วยเสริมศักยภาพการแข่งขันและผลักดันการส่งออกสินค้าลำไยและลิ้นจี่ของไทยไปต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต

ร่วมแสดงความคิดเห็น