บทความพิเศษ…การบริหารจัดการขยะมูลฝอย

B-10.jpg
การบริหารจัดการขยะมูลฝอย ถือได้ว่าเป็นปัญหาระดับชาติ ซึ่งไม่เพียงต้องทำการบริหารจัดการแบบบูรณาการจากทั้งภาครัฐและเอกชน แต่ยังต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชน

การคัดแยกขยะจากต้นทางตั้งแต่ครัวเรือน เป็นสิ่งสำคัญที่จะสามารถบริหารจัดการขยะที่มีจำนวน มหาศาลได้อย่างง่าย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยแนวทางการในการบริการจัดการขยะนั้น จะเริ่มจากกระบวนการคัดแยกขยะ ให้เป็น 3 ประเภท คือ ขยะรีไซเคิล ที่จะนำไปเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่ เพื่อนำไปใช้อีกครั้ง ส่วนขยะที่เป็นของเสียอันตราย ควรถูกส่งไปเข้ากระบวนการ การกำจัดอย่างถูกวิธี เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อชุมชน
และสำหรับขยะมูลฝอย สามารถนำไปผลิตเป็นพลังงานต่อไปได้ อาทิ การนำขยะอินทรีย์ เช่น เศษผักและผลไม้ ไปผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ ซึ่งนอกจากจะได้พลังงานทดแทนที่ผลิตจากขยะอินทรีย์แล้ว เศษตะกอนที่ผ่านกระบวนผลิตพลังงานทดแทนยังสามารถนำไปใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดินเพื่อการเกษตรได้อีกด้วย ที่สำคัญขยะมูลฝอยสามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel: RDF) ในรูปแบบการอัดแข็ง ซึ่งมีคุณสมบัติให้ค่าความร้อนสูง เหมาะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม

จะเห็นได้ว่า ปริมาณขยะจำนวนมหาศาลนั้น หากได้รับการบริหารจัดการที่ดีจากความร่วมมือของทุกฝ่าย นอกจากจะช่วยให้สังคมน่าอยู่แล้ว ยังสามารถแปลงของเสียที่ไร้ประโยชน์ให้กลับมาเป็นพลังงานทดแทนของชุมชนได้อีกด้วย
สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ERDI – CMU) มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านพลังงาน ที่มีความพร้อมในการเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง เพื่อการบริหารจัดการขยะชุมชน และการแปลงของเสียเพื่อเป็นพลังงานทดแทน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-5394-2007

ร่วมแสดงความคิดเห็น