แผ่นดินไหวใกล้ภาคเหนือเชียงใหม่คุมเข้มอาคารรับมือ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 01.53 น.วันที่ 17 พฤษภาคม 2559 ตามเวลาประเทศไทย สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรม อุตุนิยมวิทยา รายงานว่า ได้เกิดแผ่นดินไหว ขนาด 2.4 แมกนิจูต ความลึกประมาณ 2 กม. พิกัดที่ละติจูต 16.97 และลองติจูด 98.24 ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.แม่สอด จ.ตาก ประมาณ 45 กม.ที่่ประเทศพม่า ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย

ทั้งนี้เมื่อวานนี้ ในช่วงเวลา ประมาณ 20.00 น. ซึ่งในไทยบริเวณภาคเหนือตอนบนส่วนใหญ่จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ได้เกิดแผ่นดินไหว ขนาด 3.9 แมกนิจูด ความลึกประมาณ 10 กม. พิดที่ละติจูด 19.21 องศา และลองติจูด 94.72 องศา ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ .เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 341 กม. ที่ประเทศพม่า และในช่วงเดียวกันเวลาประมาณ 20.03 น.เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.3 แมกนิจูด ความ ลึกประมาณ 19กม พิกัด ละติจูด 22.34 องศาลองติจูด 102.74 องศาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ ต.ริมโขง อ.เชียงของ จ.เชียงราย ที่มณฑล ยูนนาน ประเทศจีนด้วย ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย

อย่างไรก็ตามจากการสอบถาม ส่วนควบคุมอาคารและผังเมือง สำนักการช่าง เทศบาลนครเชียงใหม่ เกี่ยวกับการมาตรการรองรับเหตุแผ่นดินไหว ได้รับคำชี้แจงว่า ปกติอาคารที่สร้างหลังปี 2550 จะมีการออกแบบรองรับในเรื่องแรงสั่นไหว ของอาคาร ในระดับมาตรฐาน วิศวกรรมโครงสร้างอาคารอยู่แล้ว  ส่วนอาคารหลังปี 2550 ส่วนใหญ่ก็จะติดตามตรวจสอบ การป้องกันเหตุฉุกเฉิน การมีบันไดหนีไฟ การอพยพ เคลื่อนย้ายผู้คนหนีภัย

1.jpg
กรณีอาคารได้รับผลกระทบจากแรงสั่นไหวของแผ่นดินไหว ซึ่งเหตุรุนแรงเช่นที่เคยเกิดขึ้นเมื่อช่วง 5-6 พฤษภาคม ปี 57 ที่แผ่นดินไหวที่ อ. แม่ลาว  จ.เชียงราย เกิดขึ้นเมื่อเวลา 18.08.43 น. ตามเวลาท้องถิ่นของประเทศไทย (UTC+7) ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2557  นั้น สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา ยืนยันว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ใน ต.ทรายขาว อ.พาน จ.เชียงราย เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้วงการก่อสร้างอาคาร สิ่งปลูกสร้างในภาคเหนือ ปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการก่อสร้างอย่างมาก

ผู้สื่อข่าวได้สอบถามถึงการควบคุมอาคาร สิ่งปลูกสร้าง มีการกำหนดรับแรงแผ่นดินไหวในเขตพื้นที่เสี่ยง เช่นนครเชียงใหม่ หรือไม่นั้น ได้รับคำชี้แจงว่า จริงๆแล้ว เขตนครเชียงใหม่ คงไม่ถึงขั้นใช้คำว่า เป็นพื้นที่เสี่ยง แต่จะเป็นพื้นที่ซึ่งมีการก่อสร้างอาคารสูงเป็นจำนวน มาก ดังนั้นการควบคุม อาคาร สิ่งปลูกสร้าง ของเทศบาลฯ จะมีเทศบัญญัติควบคุมฯ กำหนดพื้นที่ก่อสร้าง ในส่วนโครงสร้างจะเป็นเรื่องของแบบแปลน รายละเอียด ที่ส่วนงานฯจะตรวจสอบใกล้ชิดอยู่แล้ว ก็ไม่ถึงขั้นกำหนดว่าต้องต้านแผ่นดินไหว รับแรงสั่นไหวขนาดเท่าไหร่ แต่วงการก่อ สร้างรู้ดีว่าควรจะกำหนดสเปค วัสดุ เพื่อความมั่นคง แข็งแรงอย่างไรมากกว่า

3.jpg
“ส่วนควบคุมอาคารและผังเมือง สำนักการช่าง เทศบาลนครเชียงใหม่”ระบุว่า อาคารที่ขออนุญาติส่วนใหญ่จะเป็นอาคารขนาดไม่ เกิน 8 ชั้น และความสูงไม่เกิน 23 เมตร และเนื้อที่ใช้งานไม่เกิน 4,000 ตารางเมตร โดยหลักการพิจารณาใบอนุญาตนั้น มีการใช้ระเบียบข้อบังคับตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารและการก่อสร้าง ของกระทรวงมหาดไทย ไม่ใช่เทศบัญญัติที่เป็นข้อบังคับของท้องถิ่น ถ้าอาคารสิ่งปลูกสร้างเกิน 23 เมตร ต้องทำ EIA รายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับอนุญาต ลงทุนขนาดนั้นก็คงต้องป้องกัน รับมือทุกสถานการณ์ ไม่ใช่แค่ไฟไหม้ ลมพายุ หรือแผ่นดินไหว

2.jpg
โครงการอาคารก่อสร้างขนาดใหญ่ๆในพื้นที่เชียงใหม่ มีมาตรฐานรองรับแรงสั่นไหว ผลกระทบจากแผ่นดินไหว ในขณะที่อาคารสร้างหลังปี 2550 ต้องกวดขัน ตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง

…………………
เทศบัญญัติเทศบาลบาลฯควบคุมอาคาร…..เทศบัญญัติเทศบาลนครเชียงใหม่ ควบคุมการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ในเขตอนุรักษ์

ร่วมแสดงความคิดเห็น