ข่วงวัด ข่วงผญ๋า ที่วัดหัวฝาย ถ่ายทอดภูมิปัญญาจากคนรุ่นหลัง สู่เด็กและคนรุ่นปัจจุบัน

IMG_3009
นายสัมฤทธิ์ สวามิภักดิ์ นายอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เป็นประธานในการเปิดกิจกรรมโครงการ ข่วงวัด ข่วงผญ๋า ประจำปี 2559 ที่วัดหัวฝาย ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โดย นายศรีวรรณ วงศ์จินา กำนันตำบลสันกลาง กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้ โดยมีชาวบ้านจากพื้นที่ตำบลสันกลาง อำเภอพาน และนักเรียนผู้สูงอายุตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และนักเรียนในพื้นที่ตำบลสันกลางกว่า 400คน เข้าร่วมกิจกรรม
โดย พระครูปิยวรรณพิพัฒน์ เจ้าอาวาสวัดหัวฝาย ในฐานะผู้อำนวกยโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย ได้นำนักเรียนผู้สูงอายุ จัดการถ่ายทอดภูมิปัญญาของคนในอดีตให้กับทุกคนที่เข้ามาหาความรู้ของกิจกรรม ซึ่งมีทั้งหมด 28ซุ้ม ซึ่งมีทั้งเรื่อง การปั่นฝ้าย การทำตุงล้านนา การจักสาน การทำอาหารพื้นเมือง การทำขนมล้านนา การทำไม้กวาดดอกหญ้า การฟ้อนลำ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาของผู้สูงได้มีวิชาที่ต้องการถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังนอกเหนือจากนี้ยังมีกิจกรรมเสริม คือ ธนาคารความดี ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
โดยการจัดกิจกรรมดังกล่าวสร้างความสนใจให้กับทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างมาก โดยเฉพาะนักเรียนที่เข้ามาศึกษาหาความรู้จากผู้สูงอายุที่ได้ถ่ายทอดออกมา เพราะบางคนนั้นไม่ทราบว่า สิ่งของใช้อยู่ ทั้งไม้กวาด ใบเตยหอมพับเป็นดอก การปั่นฝ้าย นั้นทำอย่างไร ซึ่งก็จะได้เห็นในกิจกรรมนี้ทั้งหมด
นายศรีวรรณ วงศ์จินา กำนันตำบลสันกลาง กล่าวว่า ในการจัดกิจกรรมนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง ชาวบ้านกับทางวัดหัวฝาย เพราะหลังจากที่ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ก็ได้ดำเนินการจัดการรวบรวมสิ่งที่เป็นภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ และนำเข้ามารวบรวมไว้ที่วัด ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน จากนั้นได้มีการต่อยอดจนเป็นที่มาของ โรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย และขยายการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จนสามารถที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ของผู้สูงอายุให้กับคนรุ่นหลังได้ และยังทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขากขึ้น เพราะได้มีการถ่ายทอดสิ่งดีนั้นให้กับคนรุ่นหลังได้รู้ตามไปด้วย และหากิจกรรมให้ผู้สูงอายุได้ทำร่วมกัน จนทำให้ผู้สูงอายุคิดว่าไม่ถูกทอดทิ้งจากคนรุ่นใหม่
นอกเหนือจากนี้ในหมู่บ้านหัวฝาย ยังมีฐานการเรียนรู้ ให้กับทุกคนอีกด้วย ทั้งเรื่องสมุนไพร การทำอาหารพื้นเมือง เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถยืนยันได้ว่า ในพื้นที่ บ้านหัวฝาย ตำบลสันกลาง อำเภอพาน มีความสุขจากการดำเนินการแบบแผนที่วางเอาไว้ นั้นคือสร้างภูมิปัญญาจากคนรุ่นหลังสู่คนรุ่นใหม่.

ร่วมแสดงความคิดเห็น