ภาคเกษตร-อุตฯแย่ ปัจจัยฉุดเศรษฐกิจ ภาคเหนือทรงตัว!!

b.3
นายสิงห์ชัย บุณยโยธิน ผู้อานวยการอาวุโส สำนักงานภาคเหนือ ธนาคารแห่งประเทศไทย

เศรษฐกิจการเงินภาคเหนือไตรมาส 2 ของปี 59 ยังทรงตัว แต่ยังได้แรงหนุนจากภาครัฐ การส่งออกไปชายแดนโดยเฉพาะ

เมียนมายอดขายเพิ่มขึ้น ในขณะที่กำลังซื้อผู้บริโภคยังไม่กระเตื้อง ขณะที่ปัจจัยฉุดรั้งเศรษฐกิจยังมาจากภาคการผลิตทั้งภาคเกษตรที่ได้รับผลกระทบมากจากภัยแล้ง และภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออกซึ่งหดตัวเพิ่มขึ้น ชี้เศรษฐกิจในไตรมาสถัดไป มาจากปัจจัยขับเคลื่อนจากการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายภาครัฐยังมีแรงส่งดี แต่ก็ยังมีปัจจัยเฝ้าติดตามเรื่องการบริโภคภาคครัวเรือนและการส่งออกที่ยังมีความเสี่ยง

นายสิงห์ชัย บุณยโยธิน ผู้อานวยการอาวุโส สำนักงานภาคเหนือ ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึง ภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคเหนือในไตรมาสที่ 2 ปี 2559 ว่า ทรงตัวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน โดยแรงขับเคลื่อนสาคัญยังมาจากการใช้จ่ายภาครัฐ การส่งออกชายแดนไปเมียนมาและภาคการท่องเที่ยวที่ยังขยายตัวดี สำหรับรายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคเหนือมีดังนี้ บทบาทของภาครัฐในการสนับสนุนเศรษฐกิจยังมีต่อเนื่อง สะท้อนจากการใช้จ่ายของภาครัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 จากการเร่งเบิกจ่ายโครงการลงทุนตามแผนงานในงบประมาณปกติจากการก่อสร้างและซ่อมแซมถนนของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท การพัฒนาแหล่งน้าเพื่อการเกษตรของกรมชลประทาน การก่อสร้างอาคารของสถาบันการศึกษาและโรงพยาบาล รวมถึงเงินอุดหนุนให้กับท้องถิ่นเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีเม็ดเงินจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้าน ซึ่งคาดว่าจะกระจายสู่ระบบเศรษฐกิจในระยะต่อไป

ภาคการท่องเที่ยว โดยรวมยังขยายตัวดี ส่วนสาคัญมาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะชาวจีนที่ยังนิยมเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดสาคัญในภาคเหนือตอนบน แม้อัตราขยายตัวจะชะลอลงบ้างจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด และความกังวลด้านปัญหาหมอกควันในช่วงต้นไตรมาส 2 นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวไทยยังเดินทางเข้าร่วมกิจกรรมและประชุมสัมมนาของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่อเนื่อง สะท้อนจากทุกเครื่องชี้สาคัญเพิ่มขึ้น ได้แก่ จานวนเที่ยวบินตรง จานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและผู้โดยสารผ่านด่านท่าอากาศยานภาคเหนือ ปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคาร อัตราเข้าพักของโรงแรมและราคาห้องพักเฉลี่ย

ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 โดยการใช้จ่ายสินค้าหมวดยานยนต์กลับมาเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายและการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ รวมทั้ง สภาพอากาศร้อนจัดและราคาน้ามันที่ยังอยู่ในระดับต่าส่งผลให้การใช้จ่ายในหมวดน้ามันเชื้อเพลิงและไฟฟ้าเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจาวันปรับลดลงต่อเนื่อง จากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับลดลงและกาลังซื้อของครัวเรือนทั้งภาคการผลิตและภาคเกษตรยังอ่อนแอ แม้แนวโน้มของราคาสินค้าเกษตรเริ่มมีทิศทางปรับดีขึ้น ภายหลังภาวะแห้งแล้งเริ่มคลี่คลายลง

อย่างไรก็ตาม การส่งออก ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.6 ส่วนสาคัญมาจากการส่งออกประเภทชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไปจีนและฮ่องกงหดตัว จากภาวะการแข่งขันและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสาคัญที่ชะลอตัว อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคไปเมียนมาขยายตัวดีต่อเนื่อง ด้านมูลค่าการนาเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 จากการนาเข้ากระแสไฟฟ้าจาก สปป.ลาว เป็นสาคัญ ขณะที่การนาเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางเพื่อผลิตสินค้าอุตสาหกรรมสาหรับส่งออกยังหดตัว

สำหรับภาคเศรษฐกิจที่ฉุดรั้งเศรษฐกิจภาคเหนือ ได้แก่ รายได้เกษตรกร หดตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.6 จากผลผลิตสินค้าเกษตร ที่หดตัวร้อยละ 21.2 จากผลของภาวะแล้งที่ผ่านมา ส่งผลให้พืชสาคัญทั้งข้าว ลิ้นจี่และมันสาปะหลัง ลดลงมาก อย่างไรก็ดี ผลผลิตปศุสัตว์ทั้งสุกร ไก่เนื้อและไข่ไก่เพิ่มขึ้น ตามความต้องการบริโภคของตลาดภายในประเทศและการส่งออก ด้านราคาสินค้าเกษตร ปรับดีขึ้นต่อเนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดลดลง โดยลดลงเหลือร้อยละ 1.9 โดยเฉพาะราคาพืชสาคัญ คือ ข้าวและลิ้นจี่ สาหรับราคาปศุสัตว์ เช่น สุกรและไข่ไก่ ปรับเพิ่มขึ้น ยกเว้นราคาไก่เนื้อยังคงหดตัว

ผลผลิตอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 15.5 จากการแข่งขันด้านราคาและเสียส่วนแบ่งตลาดให้คู่แข่งขัน ส่งผลให้การผลิตเพื่อการส่งออกในกลุ่มส่วนประกอบฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ลดลงเกือบทุกประเภทสินค้าโดยเฉพาะแผงวงจรรวม อีกทั้งการผลิตสิ่งทอและสินค้าเกษตรแปรรูปทั้งการสีข้าว การแปรรูปผักและผลไม้ยังลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบภาวะแห้งแล้ง อย่างไรก็ดี การผลิตเครื่องดื่มและเซรามิกเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การผลิตหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวโดยปรับสายการผลิตให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีและความต้องการผลิตภัณฑ์มือถือและอุปกรณ์รถยนต์ที่ทันสมัยขึ้น

การลงทุนภาคเอกชน ทรงตัวอยู่ในระดับต่าต่อเนื่อง โดยลดลงร้อยละ 8.8 จากภาวะซบเซาในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และภาคการก่อสร้าง ส่วนการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิตโดยรวมยังไม่ชัดเจน สะท้อนจากเครื่องชี้การลงทุนสาคัญยังปรับลดลงทั้งพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล ยอดขายวัสดุก่อสร้าง และยอดการนาเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ ขณะที่ปริมาณจดทะเบียนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ปรับลดลงจากไตรมาสก่อน

เสถียรภาพเศรษฐกิจภาคเหนือ โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อทั่วไป กลับมาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากราคาอาหารสดที่ปรับเพิ่มขึ้น ส่วนราคาน้ามันขายปลีกในประเทศยังหดตัว ด้านอัตราการว่างงาน อยู่ในระดับต่าและปรับลดลงจากไตรมาสก่อนเหลือร้อยละ 0.9 โดยมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นในภาคบริการและการก่อสร้าง ขณะที่การใช้มาตรา 75 ในภาคการผลิตผ่อนคลายลง อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการบางส่วนเริ่มนาเครื่องจักรมาใช้และได้ทยอยปรับลดแรงงาน ซึ่งคาดว่าไม่ส่งผลกระทบต่อการเลิกจ้างอย่างมีนัยสาคัญ

ภาคการเงิน ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2559 สาขาธนาคารพาณิชย์ มียอดคงค้างเงินฝาก 636,549 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากเงินฝากออมทรัพย์ของส่วนราชการเป็นสาคัญ ด้านเงินให้สินเชื่อ มียอดคงค้าง 581,120 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ชะลอลงจากไตรมาสก่อน จากการชาระหนี้คืนบางส่วนของภาคธุรกิจ ส่วนหนึ่งเป็นการบริหารวงเงินสินเชื่อให้สอดคล้องกับปริมาณธุรกรรม ส่งผลให้สินเชื่อขยายตัวในอัตราชะลอลงทั้งภาคค้าปลีกค้าส่ง อุตสาหกรรมการผลิต ก่อสร้าง โรงแรม ภาคเกษตรและสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ขณะที่สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ยังหดตัว ทั้งนี้ สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 91.3 ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน

ทั้งนี้ เศรษฐกิจภาคเหนือในไตรมาสถัดไป มาจากปัจจัยขับเคลื่อนคือ การท่องเที่ยวและการใช้จ่ายภาครัฐยังมีแรงส่งดี ส่วนภาคเกษตรมีแนวโน้มปรับดีขึ้นจากราคาสินค้าเกษตร แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีปัจจัยเฝ้าติดตาม อาทิเช่น การบริโภคครัวเรือนน่าจะค่อยปรับดีขึ้น ภาคการส่งออกมีความเสี่ยงจากผลกระทบ brexit ในระยะปานกลาง ขณะที่ธุรกิจบางประเภทได้ปรับตัวโดยมีแผนลงทุนเครื่องจักรเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนแรงงานบ้างแล้ว แต่ภาพรวมการจ้างงานยังดีอยู่

ร่วมแสดงความคิดเห็น