ผืนผ้าแพรวา และ เงินตราในสยาม พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย

ผืนผ้าสะท้อนลวดลายและสีสันของภูมิปัญญาของแต่ละชุมชน และเงินตราการแลกเปลี่ยนซื้อขายมาที่ครั้งอดีตในแต่ละยุคสมัย ที่ได้เก็บรวบรวมไว้นำจัดแสดงไว้ภายใต้อาคาร “พิพิธภัณฑ์ ผ้าและเงินตรา” ธนาคารแห่งประเทศไทย

image

ริมถนนสายโชตตนาตึกขนาดใหญ่รูปทรงโมเดิร์นร่วมสมัยสีน้ำตาลอ่อนฝนเทา เป็นที่ตั้งของ “ธนาคารแห่งประเทศไทย” เป็นองค์กรหนึ่งที่ให้การสนับสนุน การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม โดยได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยที่สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ และสำนักงานภาคเหนือ สำหรับพิพิธภัณฑ์สำนักงานภาคเหนือนั้น ธนาคารจัดให้เป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ความรู้ด้านเงินตราและผ้าไทยแก่บุคคลทั่วไป เพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่าแห่งมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จมาทรงเปิดพิพิธภัณฑ์เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2543 ห้องพิพิธภัณฑ์จัดแสดงภายในอาคารอเนกประสงค์ชั้นล่าง ซึ่งให้เนื้อที่ทั้งชั้นเป็นห้องจัดแสดงเงินตราสมัยโบราณ และเงินตราล้านนา และแบ่งเนื้อที่อีกส่วนหนึ่งในบริเวณเดียวกันจัดแสดงผ้าล้านนา

image
หัวข้อที่จัดแสดงภายในอาคารจัดแสดงถึง 15 ส่วน ในการแลกเปลี่ยนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ คนเรามีการแลกเปลี่ยนผลิตผลระหว่างกัน เช่น การนำขวานหินไปแลกข้าวหรือเนื้อสัตว์ ต่อมาจึงมีการใช้สิ่งมีค่าเป็นที่ต้องการทั้งสองฝ่ายเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน ได้แก่ เปลือกหอย เมล็ดพืช ปศุสัตว์ ลูกปัด ขวานทองแดง หัวธนู เครื่องมือการเกษตร เป็นต้น และในที่สุดได้นำโลหะทองแดง โลหะเงิน โลหะทอง ซึ่งหายาก มีความคงทน ตัดแบ่งได้ง่ายมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เมื่อมีการรวมดินแดนต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นประเทศในสมัยโบราณ ผู้มีอำนาจในการปกครองได้ใช้ตราเครื่องหมายของตนประทับลงบนเม็ดเงินที่ใช้ชำระหนี้ โลหะเงินประทับตราจึงเกิดเป็น เงินตราขึ้น ได้จัดแสดงสิ่งของที่ใช้แลกเปลี่ยนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย เงินตรายุคแรกของโลก เงินตราในสุวรรณภูมิ เงินตราในอาณาจักรล้านนา และ เงินตราร่วมสมัย เครื่องชั่ง เครื่องเงิน ให้แผนผัง แผนที่บอกตำแหน่งเงินสุวรรณภูมิ และภาพประกอบอื่นๆ

image

ในการอนุรักษ์และสืบสานผ้าไท สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นผู้ริเริ่มเครื่องแต่งกายประจำชาติไทย ส่งเสริมการทอผ้าไหม โดยจัดตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในปี 2519 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นอาชีพเสริมของราษฎร และดำรงรักษาศิลปะหัตถกรรมไทย ให้เป็นที่นิยมของคนทั่วไป การฟื้นฟูวัฒนธรรมการแต่งกายสตรีไทย มีผลสืบเนื่องมาถึงงานช่างฝีมือและหัตถกรรมครัวเรือน ที่ทรงมีแนวพระราชดำริให้มีการส่งเสริม และเชื่อมโยงไปถึงการฟื้นฟูวิธีการทอผ้า ที่เป็นเอกลักษณ์ของเฉพาะถิ่น ได้แก่ผ้าจก ที่ทรงส่งเสริมทั้งที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ผ้าแพรวาของกลุ่มชนภูไท จังหวัดกาฬสินธุ์ ผ้ายกของจังหวัดเชียงใหม่ ฯลฯ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ที่ช่วยให้มีการทอผ้าพื้นเมืองจากท้องถิ่นต่างๆ ของประเทศมีจำนวนเพิ่มขึ้น ได้จัดแสดงผ้าเก่าโบราณจำนวนทั้งหมดประมาณ 100 กว่าผืน จัดแสดงแบ่งตามกลุ่ม ไล่เรียงจากลุ่มแม่น้ำตะวันตกไปตะวันออก โดยมีผ้ากลุ่ม ลุ่มน้ำแม่แจ่ม เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ กลุ่มน้ำปาด-ฟากผ้า กลุ่มน่าน กลุ่มอุตรดิตถ์-สุโขทัย ส่วนต่อไปจัดแสดงผ้าอื่น ๆ อาทิ ผ้าจากเขมร ลาวครั่ง พม่า จีน อินเดีย การจัดผ้าเป็นกลุ่มนี้เพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของลวดลาย เทคนิคต่างๆ อย่างน่าสนใจ

เปิดให้ชมฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆครับ หากมีเวลาว่างไปร่วมชื่นชมประวัติศาสตร์ที่ภาคภูมิใจของไทยเรากันนะครับ

การเข้าชม พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ เปิด 2 ช่วง เวลา 9.00 – 12.00น. และ 13.00 – 16.00 น. ตั้งแต่วันจันทร์ ถึง ศุกร์ เว้นวันหยุดธนาคาร ติดต่อขอเข้าชมได้ที่ โทร : 053 931182-3 โทรสาร : 053 224168 อีเมล์ : [email protected]

ร่วมแสดงความคิดเห็น