ชี้ศักยภาพค้าชายแดนไทย-พม่า ดันกิ่วผาวอกขึ้นด่านการค้าถาวร

b5 w=12h=7
ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่เผย โอกาสทางการค้าชายแดนศักยภาพใน 3 ด่าน เชียงใหม่-รัฐฉานพม่า ชี้จุดผ่อนปรนกิ่วผาวอก อ.เชียงดาว เหมาะสำหรับการผลักดันให้เป็นด่านการค้าถาวรมากที่สุด รองลงมากคือจุดผ่อนปรนหลักแต่ง อำเภอเวียงแหง ซึ่งจะเป็นการสร้างอาชีพสร้างรายได้ ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ รวมถึงจะส่งเสริมการท่องเที่ยวชายแดน ที่สำคัญคือกระตุ้นเศรษฐกิจ และเปิดช่องทางการค้าระหว่างประเทศกับประเทศพม่า และกลุ่มเอเซียใต้ในอนาคตต่อไป
นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวในการประชุมระหว่างประเทศและศึกษาดูงาน โครงการเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-พม่า เพื่อส่งเสริมการค้าชายแดน ในหัวข้อ “โอกาสทางการค้าชายแดนศักยภาพใน 3 ด่าน เชียงใหม่-รัฐฉานพม่า”
โดยมี นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดการประชุม ณ โรงแรมริมดอยรีสอร์ท อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
โดย นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า จังหวัดเชียงใหม่ มีด่านการค้าชายแดนที่จะต้องมีการผลักดันให้มีการเปิดจุดผ่อนปรน เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุนในพื้นที่ชายแดน 3 จุด คือจุดผ่อนปรนหลักแต่ง อำเภอเวียงแหง จุดผ่อนปรนช่องทางกิ่วผาวอก ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว และด่านสันต้นดู่ อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งทั้ง 3 ด่าน ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะเปิดเป็นด่านถาวรกับประเทศเมียนมา จะเป็นการสร้างอาชีพสร้างรายได้ ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ รวมถึงจะส่งเสริมการท่องเที่ยวชายแดนในอนาคต
นางวิภาวัลย์ กล่าวต่อว่า สำหรับด่านที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์การค้าชายแดน ช่องทางการค้าชายแดนหนึ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญและได้ประสานกับทางเมียนมาในการเปิดด่านในอนาคต คือช่องทางกิ่วผาวอก ซึ่งปัจจุบันเป็นจุดผ่อนปรนกิ่วผาวอก ซึ่งด่านนี้เคยเป็นจุดผ่อนปรนที่สำคัญของการค้าชายแดน เมื่อปี 2540 เป็นต้นมา มีมูลค่าการค้าระหว่างกันหลายร้อยล้านบาทต่อปี จนถึงปี พ.ศ. 2547 จุดผ่อนปรนด่านกิ่วผาวอก ต้องปิดลง เพราะปัญหาชนกลุ่มน้อย ซึ่งที่ผ่านมาก็เป็นเพียงการเปิดจุดผ่อนปรนแค่เพียงฝ่ายไทยเพียงฝ่ายเดียว โดยทางเมียนมาร์ยังคงไม่ยอมเปิดจุดผ่านแดนเพื่อทำการอนุญาตให้มีการ เข้า-ออก และการค้าขายระหว่างกันแต่อย่างใด ทั้งนี้เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2559 ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมเพื่อส่งเสริมการค้าชายแดนและแก้ไขอุปสรรคการเปิดทำการค้าและชายแดน ที่ห้องประชุมโรงแรมเชียงดาวกู้ดวิว โดยมีผู้อำนวยการสำนักการค้าและการลงทุนกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ สภาความมั่นคงแห่งชาติ กองกำลังผาเมือง นายอำเภอเชียงดาว ส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่น ภาคเอกชนโดยหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ประกอบการในพื้นที่ และผู้เกี่ยวข้องหารือในประเด็นปัญหาอุปสรรคการเปิดด่านการค้าชายแดนหลักแต่ง และกิ่วผาวอก สามารถสรุปได้ดังนี้ 1.ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการทดลองเปิดการค้าขายในระดับพื้นที่โดยใช้ช่องทางเลี่ยงทั้ง 2 ด่านโดยทางพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่จะจัดกิจกรรมตลาดนัดชุมชนภายในเดือนมีนาคม 2559 2.กระทรวงพาณิชย์จะนำผลสรุปประเด็นปัญหาต่าง ๆ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการการค้าชายแดนที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ได้กำหนดนโยบายด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจด้านหนึ่งไว้คือการพัฒนาด่านการค้าชายแดนระหว่างจังหวัดเชียงใหม่กับพม่า เนื่องจากจังหวัดเชียงใหม่ มีด่านการค้าชายแดนที่จะต้องมีการผลักดันให้มีการเปิดจุดผ่อนปรน เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุนในพื้นที่ชายแดน คือจุดผ่อนปรนหลักแต่ง อำเภอเวียงแหง และ จุดผ่อนปรนช่องทางกิ่วผาวอก ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จะเป็นการสร้างอาชีพสร้างรายได้ ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ รวมถึงจะส่งเสริมการท่องเที่ยวชายแดนด้วย ทั้งนี้หอการค้าฯ จะได้ผลักดันการพัฒนาการค้าชายแดนของจังหวัดอย่างต่อเนื่องภายใต้กลไกของจังหวัด กลุ่มจังหวัด หอการค้าไทย ที่จะนำเสนอต่อรัฐบาลต่อไป รวมถึงเวทีต่าง ๆ ที่จะได้นำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาด่านการค้าชายแดนของจังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นการเปิดช่องทางการค้าระหว่างประเทศกับประเทศพม่า และกลุ่มเอเซียใต้ในอนาคตต่อไป
ซึ่งหากสามารถเปิดด่านการค้าชายแดนได้ จะช่วยให้จังหวัดเชียงใหม่และประเทศไทยมีโอกาสเติบโตขึ้นในหลายๆด้าน คือ ด้านธุรกิจ/ตลาดการค้าระหว่างไทยและพม่า 1.สามารถส่ง/ระบาย สินค้าที่ผลิตเกินความต้องการในประเทศไปจัดจาหน่าย 2.สามารถนำเข้าแหล่งวัตถุดิบเพื่อแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่ม และ 3.การแสวงหาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อการลงทุนหรือร่วมลงทุน ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม 1.เศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านมีแนวโน้มเติบโตในระยะยาว (AEC) ก่อให้เกิดกำลังซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2.การค้าขายระหว่างกันทำให้ประชาชนทั้งสองประเทศตามแนวชายแดน มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองให้มีอาชีพที่เลี้ยงตนเองและครอบครัว 3.ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวจากคนที่อยู่ในอำเภอ จังหวัด จากส่วนกลาง หรือจากต่างประเทศ 4.ส่งเสริมความเข้าใจในวัฒนธรรมระหว่างคนแต่ละท้องถิ่น เพราะมีการไปมาหาสู่กัน มีการสื่อสาร แลกเปลี่ยนวิถีชีวิตผ่านสินค้า บริการ ทาให้เกิดการเรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีระหว่างกัน และ 5.เกิดความรักถิ่นที่อยู่และอาจมีการย้ายถิ่นจากกลุ่มอื่นมาอยู่บริเวณชายแดน เป็นต้น นางวิภาวัลย์ กล่าวส่งท้าย

ร่วมแสดงความคิดเห็น